คนเราต้องการจะบอกเล่าอะไรสักอย่างออกมาเป็นสัญลักษณ์มานานแล้ว นอกจากสีหน้า ภาษากาย ภาพเขียนตามผนังถ้ำที่ปรากฏเป็นหลักฐานทางโบราณคดีจัดเป็นรูปแบบหนึ่งในระบบสัญลักษณ์ก่อนจะวิวัฒน์ไปสู่สิ่งที่ใช้งานได้อย่าลงตัวนั่นคือ ‘ตัวอักษร’ ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานรูปแบบของตัวอักษรก็มีชีวิตเป็นของตัวเอง มีสไตล์และศิลปะในการออกแบบอย่างหลากหลาย เพื่อให้ตรงกับรสนิยมของผู้จะนำไปใช้งาน แต่กระนั้นเองการออกแบบตัวอักษรก็อาจเป็นเพียงแสดงข้อมูลที่ไร้ค่าหากถูกนำไปใช้ในส่งผ่านข้อความที่ไม่เกิดประโยชน์ นี่อาจเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราเห็นว่าทุกอักษรล้วนมีความหมาย และไม่ใช่มีอยู่เพียงเพื่อสื่อสารเรื่องราวไร้สาระกับสไตล์การออกแบบของ Niteesh Yadav
Niteesh Yadav นักออกแบบตัวอักษรและกราฟิกดีไซน์ชาวอินเดียอาศัยอยู่ที่เมืองนิวเดลี กำลังผสมผสานรูปลักษณ์ของแบบตัวอักษรใหม่เข้ากับปัญหาสังคมที่แวดล้อมเราอยู่ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ Adobe’s Project 1324 ที่เชิญชวนให้เหล่าศิลปินนักออกแบบสร้างงานส่งเสริมพลังเชิงบวกให้กับสังคม ตัวอักษรของเขาตั้งแต่ A-Z ของเขาล้วนเป็นภาษาภาพและสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงปัญหาสังคมหลากหลายในชีวิตที่เราพบเห็นกันในทุกวัน ตั้งแต่โรคเอดส์, สงคราม, ความยากจน ฯลฯ และเปิดให้คนโหลดไปใช้ฟรีเพื่อกระจายสัญลักษณ์เหล่านั้นไปในวงกว้าง
แบบตัวอักษรเหล่านี้เป็นเหมือนการตอกย้ำพฤติกรรมของคนบนโลกที่กำลังสร้างปัญหาและก็รอการเยียวยาไปในเวลาเดียวกัน และในขณะที่เราใช้มันเพื่อสื่อความหมายก็จะรู้สึกว่าเราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นลดลงด้วย นี่เหมือนการย้อนลอยอดีตแห่งอารยะธรรมของการสื่อสาร หรือบางทีอาจเป็นการบอกถึงจุดหมายของการมีชีวิตของคนในสังคม…แทนที่จะสร้างปัญหาหันกลับมาร่วมมือกันสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นจะดีกว่า
อ้างอิง : ufunk.net, niteeshyadav.com, designtaxi.com