สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนในแอฟริกา เพิ่มประโยชน์ใช้สอยสูงสุดให้ชุมชนแบบเนียนๆ

สถาปัตยกรรมที่ดีไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง ใช้วัสดุหรูล้ำเลิศ แต่สามารถตอบโจทย์ที่สถาปัตยกรรมนั้นแทรกเข้าไปอยู่ร่วมกับชุมชนจนเกิดความเป็นเนื้อเดียวกัน แต่การตอบโจทย์นั้นมีหลายวิธีเช่นกันกับหนึ่งในโครงการนี้ ทีมสถาปนิก Indalo และ Collectif Saga ได้รับโจทย์สร้างสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน ในย่านชานเมืองพอร์ทอลิซาเบธ ประเทศแอฟริกาใต้โครงการมีที่มาเริ่มจากโปรแกรมฟื้นฟูและพัฒนาโดยรัฐบาลแอฟริกาใต้ที่ดำเนินงานมากว่า 20 ปี เพื่อพัฒนาชีวิตของผู้คนในชุมชนที่ขาดแคลนต่างๆ กิจกรรมที่เกิดขึ้นคาดหวังจะให้เป็นโครงการที่สร้างส่วนเติมเต็มให้กับชุมชนนี้ ที่ตั้งโครงการนั้นทางเข้าเป็นถนนดิน ไม่ได้ลาดยาง น้ำท่วมง่ายแม้ฝนตกเพียงนิดหน่อย ส่งผลยากต่อการก่อสร้างมาก ตัวโครงการนี้เป็นการจัดเรียงการใช้สอยแบบเรียบง่าย เผื่อการปรับเปลี่ยนในอนาคต ตัวอาคารมีพื้นที่อเนกประสงค์ ห้องน้ำ ครัว ห้องเก็บของ สามารถรองรับเด็กในชุมชนก่อนเข้าเรียน หรือสามารถปรับการใช้สอยภายในให้ร้องรับกิจกรรมงานฝีมือต่างๆ หรือช่วยให้สถานประกอบการขนาดเล็กเริ่มธุรกิจได้  สถาปนิกจึงออกแบบพื้นที่ภายในปรับปรุงด้วยการเลื่อนผนังเพื่อการแบ่งชั้นเรียนต่างๆ…

Continue Readingสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนในแอฟริกา เพิ่มประโยชน์ใช้สอยสูงสุดให้ชุมชนแบบเนียนๆ

SHED Project บ้านขนาดเล็ก อยู่สบาย ราคาถูก สร้างง่าย ถอดประกอบเร็วภายใน 1 วัน

ปัญหาพื้นที่ตึกร้างทั้งที่ยังไม่ได้เข้าไปใช้งานเพราะพิษเศรษฐกิจหรืออาคารร้างจากสาเหตุต่างๆ ในสหราชอาณาจักร ก่อเกิดโครงการแก้ปัญหาพื้นที่ร้างจากการพัฒนาที่ดินเหล่านี้ด้วย บริษัทอสังหาริมทรัพย์ Lowe Guardians แทรกพื้นที่อยู่อาศัยชั่วคราวอย่างง่ายเข้าไปยังอาคารที่ถูกทิ้งร้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการอยู่อาศัย โปรแกรมที่ว่าคือ การสร้างบ้านขนาดเล็กซ้อนเข้าไปในสเปซร้างใหญ่เหล่านี้ เพื่อช่วยป้องกันผู้บุกรุกโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการทำลายทรัพย์สิน สถาปนิกจาก Studio Bark คือผู้รับโจทย์นี้มาสร้างสรรค์เป็นงานสถาปัตยกรรมขนาดเล็กให้ร่วมแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ บ้านนี้คือโครงการ SHED โดยการตอบโจทย์มี 2 ประเด็นคือ หนึ่ง - ออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัด เพียงพอสำหรับการอยู่อาศัยที่สะดวกสบายในระดับหนึ่ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับโจทย์และราคาถูก วัสดุหลักอย่างกำแพงทำจากไม้อัด OSB กรุฉนวนภายใน เพื่อป้องกันเสียงเล็ดลอดจากภายในและภายนอก และช่วยเรื่องรักษาความอบอุ่นภายใน การดึงแสงเข้ามายังในบ้านก็เช่นกัน สถาปนิกเลือกใช้แผ่นใสจากโพลีคาร์บอเนตใช้แล้วเข้ามาทำเป็นลูกฟักประตู…

Continue ReadingSHED Project บ้านขนาดเล็ก อยู่สบาย ราคาถูก สร้างง่าย ถอดประกอบเร็วภายใน 1 วัน

BuzziJungle พื้นที่สร้างสรรค์สร้างปฎิสัมพันธ์ด้วยการปีน นั่ง นอน พูดคุยในหลากอิริยาบท

การแก้ปัญหาพื้นที่การประชุมแบบเดิมๆ กำลังถูกท้าทายและสะท้อนออกมาเป็นอีกวิธีการแก้ไขเชิงทดลอง โดยนักออกแบบชาวเบลเยียม Jonas Van Put กับงาน BuzziJungle ที่หวังสร้างความสัมพันธ์ของผู้คนในเมืองให้ดีขึ้น BuzziJungle คือโครงสร้างที่ถูกออกแบบให้รองรับการปฏิสัมพันธ์ที่คล้ายกับป่าขนาดย่อม มันคือการเปรียบเทียบกับ BuzziJungle เข้ากับป่าของการพบปะสังสรรค์ในโครงสีเหลืองแทนกิ่งก้านต้นไม้ พื้นที่ทุกส่วนคือการออกแบบที่รองรับกิจกรรมหลากหลาย ผู้เข้าใช้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กันด้วยการป่ายปีน นั่ง นอน พูดคุยกันในหลากอิริยาบถ การแก้ปัญหานี้สามารถช่วยจัดการพื้นที่จำกัดแบบในเมืองได้ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ในแนวดิ่งของพื้นที่ต่าง ๆ โครงที่ออกแบบดูคล้ายว่าเป็นกิ่งก้านต้นไม้ป่ามาจากระยะของสัดส่วนมนุษย์ ทำให้สามารถใช้งานสะดวกทั้งนอน นั่ง ทุกกิจกรรมถูกรองรับบนแผ่นเหล็กเคลือบแลกเกอร์ มันถูกออกแบบให้รองรับพื้นที่มากสุดในขนาดกว้าง 3.23 ยาว 5.63 สูง…

Continue ReadingBuzziJungle พื้นที่สร้างสรรค์สร้างปฎิสัมพันธ์ด้วยการปีน นั่ง นอน พูดคุยในหลากอิริยาบท

ปลูกเรือนคล้อยตามดิน ปลูกถิ่นคล้อยตามสายน้ำ..ในเวียดนามใต้

บ้านเรือนคือสิ่งสะท้อนวัฒนธรรมของแต่ละถิ่น ถิ่นไหนมีวัสดุแบบใด สิ่งแวดล้อมแบบใด ก็ออกแบบให้ปรับตัวไปตามถิ่นที่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดภูมิปัญญาในการปลูกเรือนจนเป็นเอกลักษณ์ ทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนมากกว่าการลอกเลียนรูปแบบจากภายนอก โครงการบ้านหลังขนาดย่อมในเมืองเจิวด๊ก (Chau Doc) ทางภาคใต้ของประเทศเวียดนาม ละแวกสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ไม่ไกลจากชายแดนกัมพูชา  สถาปนิก NISHIZAWA ARCHITECTS ได้รับโจทย์ออกแบบในพื้นที่ชนบทที่ราบรอบด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ปรับตัวตามถิ่นที่ บ้านเรือนพื้นถิ่นรายรอบเป็นการปรับตัวเข้ากับเมืองน้ำ บ้านเรือนฝั่งติดน้ำจะตั้งอยู่บนเสาลอยเพื่อป้องกันน้ำท่วมบ้าน แต่เมื่อข้ามจากบ้านริมน้ำที่กั้นด้วยถนน จะเป็นเรือนแถวที่มีลักษณะแคบยาวก่อนจะออกไปยังทุ่งนาด้านหลังหมู่บ้าน เรือนพื้นถิ่นในละแวกนี้จึงเป็นการปรับตัวให้ก้ำกึ่งระหว่างบกและน้ำ โจทย์ที่ส่งผลต่อการเลือกวัสดุ เทคนิคการก่อสร้าง คืองบประมาณที่จำกัดตามมาตรฐานท้องถิ่น ทำให้สถาปนิกเลือกใช้ผนังสังกะสีเข้ามากรุตัวบ้าน รวมถึงใช้เป็นวัสดุปิดผิวภายนอกของประตูหน้าต่างด้วยเช่นกัน แนวคิดบ้านนี้เป็นการรับของเดิมมาในเรื่องวัสดุท้องถิ่น เทคนิคงานไม้ของช่าง การแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมจึงสร้างแนวคิด  3…

Continue Readingปลูกเรือนคล้อยตามดิน ปลูกถิ่นคล้อยตามสายน้ำ..ในเวียดนามใต้

โรงเรียนของหนูๆ สร้างจากต้นไม้ที่โดนสึนามิ ชุบชีวิตชุมชนให้กลับมาอีกครั้ง

เมื่อปี ค.ศ.2011 ประเทศญี่ปุ่นต้องประสบกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ นั่นคือ สึนามิ ที่ได้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินมากมาย และหลังจากผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายนั้นไปแล้ว โครงการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยก็มีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อชุบชีวิตของเมืองที่เคยโดนทำลายลงไปให้ฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง ในครั้งนั้น Tezuka Architects บริษัทสถาปนิกสัญชาติญี่ปุ่นได้เข้ามาออกแบบโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งในเมืองอะซะฮิ (Asahi) เมืองทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น โรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับออกแบบและก่อสร้างโดยองค์การยูนิเซฟ ในปี 2012 ซึ่งจุดเด่นของโรงเรียนแห่งนี้คือ สถาปนิกได้เลือกที่จะนำไม้จากต้นสนซึ่งได้รับความเสียหายจากสึนามิมาเป็นวัสดุในการก่อสร้างอาคารเรียน เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในพื้นที่ในขณะนั้น ท่ามกลางภาวะที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างมาก โรงเรียนเฟสแรกจึงสร้างขึ้นโดยใช้ไม้สนจากสึนามิเป็นวัสดุหลัก หลังจากโครงการแรกประมาณ 4 ปี Tezuka Architects ได้กลับมายังพื้นที่นี้อีกครั้ง…

Continue Readingโรงเรียนของหนูๆ สร้างจากต้นไม้ที่โดนสึนามิ ชุบชีวิตชุมชนให้กลับมาอีกครั้ง

Silindokuhle โรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ผลผลิตจากชุมชน

เดิมทีย่าน Joe Slovo West ในแถบนอกเมืองพอร์ต อลิซาเบต ประเทศแอฟริกาใต้ เป็นเสมือนพื้นที่ที่ถูกลืม ไม่ได้รับการเหลียวแลมาช้านาน ผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนี้ล้วนเต็มไปด้วยความทุกข์ยาก จนกระทั่งในปี 2014 Collectif saga ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการออกแบบเพื่อสังคม ได้เข้ามาทำงานร่วมกับคนในท้องถิ่น จนเกิดเป็นอาคารศูนย์กลางชุมชนขึ้น เวลาผ่านไปประมาณ 3 ปี Collectif saga ได้กลับมายังย่านนี้อีกครั้ง พร้อมทั้งโครงการเฟส 2 นั่นคือ Silindokuhle Preschool โรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน กระบวนการที่ทำให้เกิดโรงเรียนแห่งนี้ยังคงเป็นกระบวนการเดิมกับที่ใช้สร้างอาคารศูนย์กลางชุมชน…

Continue ReadingSilindokuhle โรงเรียนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ผลผลิตจากชุมชน

สนามกีฬาในร่มจากไผ่ โรงเรียนปัญญาเด่น จ.เชียงใหม่ ผสานผู้คน สถาปัตยกรรม และธรรมชาติเข้าด้วยกัน

โรงเรียนในรูปแบบที่เราคุ้นเคยกำลังถูกท้าทายจากการออกแบบที่ตีความพื้นที่การเรียนรู้ใหม่เสมอ ในศตรวรรษนี้มีโรงเรียนทางเลือกที่เสนอถึงการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่ผสานตัวมันเองเข้ากับธรรมชาติมากขึ้น เช่นโรงเรียนปัญญาเด่น จ.เชียงใหม่ สถาปนิก Chiangmai Life Construction ได้นำเสนอวิธีการผสานเข้ากับธรรมชาติกับอาคารเรียนที่ใช้ดิน ไผ่ ก่อนหน้าไปแล้ว คราวนี้จะขอเสนออีกความโดดเด่นของไผ่ในอีกมิติ เรื่องของไผ่คราวนี้คือการสร้างสนามกีฬาในร่มจากไผ่ โรงเรียนปัญญาเด่น อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เพื่อรองรับรองรับนักเรียน 300 คน ตามแนวทางของโรงเรียนที่ต้องการผสานผู้คน สถาปัตยกรรม เข้ากับธรรมชาติ พื้นที่นี้รองรับประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลายทั้งกีฬาในร่มเช่นบาสเกตบอล ฟุตซอล และปรับมาเป็นโถงเอนกประสงค์เมื่อต้องการ รองรับเวทีแบบปรับได้ มีระเบียงเป็นที่นั่งชมยาวขนานไปกับตัวอาคารเพื่อการรับชมเหตุการณ์ต่างๆ พื้นที่ภายในออกแบบเป็นโถงสูง ไม่มีผนังกั้น ช่วยเชื่อมโยงธรรมชาติภายนอกเข้ากับภายในได้ดี…

Continue Readingสนามกีฬาในร่มจากไผ่ โรงเรียนปัญญาเด่น จ.เชียงใหม่ ผสานผู้คน สถาปัตยกรรม และธรรมชาติเข้าด้วยกัน

ศูนย์วัฒนธรรมชุมชนในเซเนกัล ดีไซน์สวยแปลกตา..แฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

โดยปรกติแล้ว ถ้าไม่นับทีมฟุตบอลและการแข่งขันรถปารีส-ดักการ์แล้ว ประเทศเซเนกัล ดินแดนแถบแอฟริกาตะวันตกอาจไม่มีเรื่องราวให้กล่าวถึงมากนัก แต่สำหรับในวงการออกแบบแล้ว เมื่อไม่นานมานี้ ประเทศแห่งนี้ได้ถูกจับตาเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยการเกิดขึ้นของศูนย์วัฒนธรรมแห่งใหม่ที่ไม่เพียงแต่มีรูปทรงอันดึงดูดใจ แต่ยังแฝงไว้ด้วยเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะท้อนผ่านทางตัวอาคาร ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้มีชื่อว่า THREAD ตั้งอยู่ที่หมู่บ้าน Sinthian หมู่บ้านเล็กๆ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก Toshiko Mori ที่ทำงานร่วมกับองค์กรไม่แสวงผลกำไรอย่าง Josef and Anni Albers Foundation โดยมีเป้าหมายทมี่จะให้ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นศูนย์วัฒนธรรมสำหรับชุมชน ที่ซึ่งทั้งศิลปินแขนงต่างๆ จากทั่วโลกและชาวชุมชนท้องถิ่นจะได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ภายในโครงการมีทั้งส่วนที่แสดงงานศิลปะและพื้นที่พบปะกัน นอกจากนี้ยังมีที่พักสำหรับศิลปินที่ต้องการจะมาพัก นอกจากรูปทรงของตัวอาคารที่พริ้วไหวคล้ายสถาปัตยกรรมสมัยใหม่แล้ว…

Continue Readingศูนย์วัฒนธรรมชุมชนในเซเนกัล ดีไซน์สวยแปลกตา..แฝงไว้ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น

การเคหะฯ เม็กซิโกสร้างบ้านต้นแบบด้วยแนวคิดพึ่งพาตนเองจากวัสดุและแรงงานท้องถิ่น

หลายประเทศในโลกที่อยู่ในเขตร้อน มีวัสดุพื้นเมืองให้เลือกใช้ได้หลากหลาย เพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพให้เลือกสรรค์ในการสร้างที่อยู่อาศัยของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาโลกภายนอก ความน่าสนใจคือจะหยิบมาใช้อย่างไรได้บ้าง ในปี 2016 CONAVI หรือ การเคหะแห่งชาติประเทศเม็กซิโก เสนอทางเลือกพร้อมสนับสนุนให้ชาวเม็กซิกันนำวัสดุในท้องถิ่นเช่น ไผ่ ฟาง ปาล์ม ไม้ ให้มาเป็นบ้านสำหรับชุมชนที่ขาดแคลนสร้างบ้าน โจทย์นี้จึงทางการเคหะฯ ต้องการต้นแบบเพื่อเป็นการทดลองจูงใจให้เห็นถึงศักยภาพ สำนักงานสถาปนิก Comunal Taller de Arquitectura จึงได้รับเลือกให้ออกแบบบ้านต้นแบบ ณ เมือง Tepetzintan ที่เมืองนี้เหล่าชาวบ้านได้ทำบ้านตัวอย่างหลังแรกในแนวคิดให้พึ่งพาตัวเองได้จากวัสดุ แรงงานในท้องถิ่น ผ่านการฝึกจากโรงฝึก จนมาถึงการออกแบบและก่อสร้างบ้านต้นแบบหลังที่…

Continue Readingการเคหะฯ เม็กซิโกสร้างบ้านต้นแบบด้วยแนวคิดพึ่งพาตนเองจากวัสดุและแรงงานท้องถิ่น

International Bamboo Architecture Biennale สถาปัตยกรรมถาวรจากไผ่ในจีน ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นความพยายามที่จะเป็นผู้นำในโลกการสร้างสรรค์มากกว่าเป็นประเทศที่รับผลิตเพียงอย่างเดียวแบบยุคก่อนของจีน จึงได้พัฒนาหมู่บ้านเล็กให้มีเรื่องราวของสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในงาน International Bamboo Architecture Biennale ในหมู่บ้านย่านชานเมืองมีการรวมตัวกันของเหล่าสถาปนิกชื่อเสียงก้องโลกที่มาร่วมกันสร้างสถาปัตยกรรมให้เป็นนิทรรศการถาวรในหมู่บ้านเบ๋าสี ณ มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน การรวมงานสถาปัตยกรรมครั้งนี้เป็นการลองหาคำตอบให้กับการใช้วัสดุดั้งเดิมในเอเชีย ให้ปรับใช้กับบริบทปัจจุบันได้อย่างบ้านไผ่ Energy Efficient Bamboo House โดย Studio Cardenas และยังมีอีกหลายงานที่น่าสนใจอย่างสะพานรูปทรงสุดหวือหวาแต่ทว่าทำจากไม้โดยใช้เทคนิคการเรียงไม้ธรรมดาให้ลื่นไหลไปกับความเคลื่อนไหวของน้ำด้านล่าง โดย Ge Quantao จากจีน หรือการใช้ไม้ให้ดูเรียบหรูจากวัสดุที่เราชินตาจากธรรมชาติในงาน Bamboo Product Research and Design…

Continue ReadingInternational Bamboo Architecture Biennale สถาปัตยกรรมถาวรจากไผ่ในจีน ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม