Hogewey Dementia Village ชุมชนแสนอบอุ่นสำหรับผู้ป่วยความจำเสื่อมในเนเธอร์แลนด์

มีคนเคยกล่าวไว้ว่า การ 'ลืมและจำ' เป็นสิ่งสำคัญในชีวิตมนุษย์ เพราะทั้งสองสิ่งต่างส่งผลต่อการเรียนรู้ การใช้ชีวิต และหล่อหลอมให้มนุษย์คนหนึ่งสมบูรณ์ เมื่อใดก็ตามที่ทั้งสองสิ่งถูกฉกชิงไป ไม่ว่าจะเพราะความไม่ใส่ใจ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโรคความจำเสื่อม ผลที่ตามมาไม่เพียงแต่จะทำร้ายผู้ที่ถูกลืมเท่านั้น แน่นอนว่ามันส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวผู้ป่วยในระดับที่ลึกและรุนแรงกว่าหลายเท่านัก ในฟากหนึ่ง เราเห็นการตั้งคำถามจากคนภายนอกว่า ‘แล้วพวกเขาจะอยู่กันอย่างไร? หรืออาจมองผู้ป่วยเหล่านี้ด้วยความสงสารและเห็นใจ แต่ Yvonne van Amerongen กลับเลือกทำในสิ่งที่ต่างออกไปด้วยคำถามธรรมดาสามัญที่ว่า "แล้วทำไมเราถึงไม่ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ใช้ชีวิตได้แบบปกติล่ะ" คำตอบของเธอก็คือการก่อตั้งศูนย์พักฟื้นผู้ป่วยสูงวัย Hogewey Dementia Village บนพื้นที่ 4 เอเคอร์ ในเมือง…

Continue ReadingHogewey Dementia Village ชุมชนแสนอบอุ่นสำหรับผู้ป่วยความจำเสื่อมในเนเธอร์แลนด์

โรงเรียนอเนกประสงค์สีสวยกลางหุบเขาของชาวม้งในเวียดนามเหนือ

สถาปัตยกรรมพื้นฐานที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์ คือ สถาปัตยกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โรงเรียนก็จัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมขั้นพื้นฐานเหล่านี้ เพราะเมื่อคนเราได้รับการศึกษาจะสามารถมีปัญญาเป็นอาวุธใช้รับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นของโลกเราได้ ปัญญาอาวุธยังสามารถพามนุษย์สู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่ในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะยิ่งในเขตพื้นที่อาศัยของชนกลุ่มน้อย หลายพื้นที่กลับถูกละเลยเรื่องโรงเรียนที่ให้การศึกษา เช่นกันกับทางตอนเหนือของเวียดนามในจังหวัดท้ายเงวียน ณ หมู่บ้าน Lung Luong ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวม้ง โรงเรียนในหมู่บ้านมีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเรียนเอาเสียเลย ทั้งอยู่ในหุบเขาที่ห่างไกลจากเมืองมาก ทางเข้าหมู่บ้านแคบเพียง 2 เมตร อีกทั้งตัวโรงเรียนเก่ามีพื้นห้องที่เป็นดิน ผนังไม้เก่าจนเป็นรูเมื่อเวลาหน้าหนาวลมพัดมาจนไม่สามารถเรียนได้ตามปรกติ ปัญหาเรื่องความชื้นในฤดูฝน เสียงดัง และยังมีปัญหาการระบายอากาศด้วยเช่นกัน ปัญหานี้ถูกเสนอการแก้ไขจากกองทุน Poor Students Fund และมีสำนักงานสถาปนิก…

Continue Readingโรงเรียนอเนกประสงค์สีสวยกลางหุบเขาของชาวม้งในเวียดนามเหนือ

Hakusui Nursery School: โรงเรียนอนุบาลเอียงๆ ในพื้นที่เชิงเขาประเทศญี่ปุ่น

พื้นที่การเรียนรู้ได้ปรับเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ ภาพของห้องเรียนตั้งแต่ยุค 100 ปีที่แล้วยังสามารถมีให้เห็นอยู่ คือ ห้องเรียนที่เน้นการเรียนทางเดียว บังคับให้นักเรียนจ้องมาที่กระดานเพื่อฟังครูสอน แต่ถ้าวันหนึ่งเราต้องการจะสร้างพื้นที่ห้องเรียนแบบใหม่เพื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้กับเด็กบ้าง รูปร่างหน้าตาจะมีทางเลือกแบบไหนได้บ้าง อีกคำตอบที่น่าสนใจอาจจะให้ลองดูกันที่โรงเรียนเนิร์สเซอรีฮะคุซุย จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อสถาปนิก Yamazaki Kentaro Design Workshop ได้นำเสนอโรงเรียนที่ปล่อยให้เด็กเข้าไปเล่นกับสถาปัตยกรรมอย่างเต็มที่ เนื่องด้วยโรงเรียนตั้งอยู่ในที่ลาดเอียงเล็กน้อยสไตล์แผ่นดินเชิงเขาทั่วไปในญี่ปุ่น ภายในโรงเรียนจึงออกแบบให้ล้อกับสภาพภูมิประเทศด้วยการออกแบบเป็นบันไดขนาดใหญ่ พร้อมกับแทรกทั้งพื้นที่เล่น พื้นที่เรียนเข้าไปยังภายในโรงเรียน บันไดนี้มีลักษณะโล่งโปร่งเพื่อให้กิจกรรมไหลต่อเนื่องกันมากที่สุด จนสามารถเปิดปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนในโรงเรียนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนวัย 3 ขวบก็สามารถวิ่งเล่นสวนกันกับเด็ก 5 ขวบได้…

Continue ReadingHakusui Nursery School: โรงเรียนอนุบาลเอียงๆ ในพื้นที่เชิงเขาประเทศญี่ปุ่น

Nishinoyama House บ้านเล็กสิบหลังในพื้นที่สุดจำกัดของญี่ปุ่น

ที่พักอาศัยได้ปรับเปลี่ยนตัวมันไปตามโจทย์แต่ละยุคสมัยตลอดมา แต่ละช่วงเวลามีโจทย์ที่เกิดจากสภาวะของสังคมแต่ละยุคไม่เหมือนกัน สิ่งเหล่านั้นผลักดันให้ที่พักอาศัยมีรูปร่างหน้าตาสะท้อนไปกับยุคสมัย สิ่งแวดล้อม สังคมในช่วงนั้น ณ ย่านชานเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเคียวโตะ ญี่ปุ่น ประเทศที่ได้ขึ้นชื่อพัฒนาการที่อยู่สมัยใหม่อาศัยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมีรูปแบบเฉพาะขึ้นมา หลายชิ้นงานมีที่มาจากการแก้ปัญหาตามโจทย์ของบ้านแต่ละหลังได้อย่างน่าสนใจ เช่นกับงานบ้านนิชิโนะยะมะ เป็นที่อยู่แบบบ้านจัดสรรร่วมสมัยที่ท้าทายกรอบเดิมที่เราคุ้นชินกับหมู่บ้าน เนื่องจากในที่ดินขนาดย่อมต้องบรรจุบ้านจำนวน 10 หลังที่มีความต้องการต่างกัน และยังสอดที่จอดรถไว้ชั้นล่างอีกด้วย การแก้ปัญหาเริ่มจากที่สถาปนิกคะซุโยะ เซะจิมะ แห่ง Kazuyo Sejima & Associates ได้ทำการสอดแทรกทางเดินเป็นตรอกขนาดเล็กให้บ้านหลายหน่วยเชื่อมต่อกันได้แบบตรอกขนาดเล็กที่แทรกไปในเมืองโบราณในเคียวโตะเพราะมีการซอยที่ดินเป็นระบบตารางตามลำดับชั้นในสังคม ทำให้บ้านขนาดเล็กของหลายชนชั้นมีตรอกเล็กน้อยเชื่อมหากัน แต่บ้านโบราณใช้สวนในบ้านแต่ละหลังในการแก้ปัญหาที่แคบด้วยเทคนิคการยืมวิวสวนของบ้านข้างเคียงเข้ามายังภายในบ้าน ในงานบ้านนิชิโนะยะมะเช่นกัน สวนเล็กสวนน้อยถูกแทรกในยังบ้านต่างๆ…

Continue ReadingNishinoyama House บ้านเล็กสิบหลังในพื้นที่สุดจำกัดของญี่ปุ่น

DIY กังหันจากกะละมังพลาสติก สร้างพลังงานลมไว้ใช้ในชุมชนที่เวียดนาม

พลังงานไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เราใช้ไฟฟ้าทั้งความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน แต่การเข้าถึงพลังงานไฟฟ้าไม่สามารถไปถึงกับทุกชุมชนได้ (more…)

Continue ReadingDIY กังหันจากกะละมังพลาสติก สร้างพลังงานลมไว้ใช้ในชุมชนที่เวียดนาม

‘Growroom’ สถาปัตยกรรมต้นแบบ สำหรับปลูกอาหารเลี้ยงคนเมือง

ด้วยความที่ในปัจจุบันนั้น ทรัพยากรธรรมชาติได้ร่อยหรอลงทุกขณะ และปัญหาหนึ่งที่จะตามมาในอนาคตอันใกล้คือการขาดแคลนทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากรด้านอาหาร เนื่องจากสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนการขยายตัวขึ้นของพื้นที่เมืองที่ทำให้พื้นที่เพาะปลูกลดลง หากไม่รับเตรียมการรับมือไว้ วิกฤติการณ์ด้านอาหารจะกลายเป็นวิกฤติใหญ่ที่ผู้คนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะต้องพบเจอ เพื่อรับมือกับวิกฤติการขาดแคลนทรัพยากรอาหารที่อาจเกิดขึ้นได้ในไม่ช้า Space10 แกลลอรี่เล็กๆ ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้ร่วมมือกับสองสถาปนิก Mads-ulrik Husum และ Sine Lindholm ช่วยกันพัฒนาแนวคิดการปลูกพืชผักในเมืองให้เป็นจริงขึ้นมา ผ่านสิ่งก่อสร้างที่พวกเขาร่วมกันสร้างขึ้น ซึ่งสถาปัตยกรรมชิ้นต้นแบบนี้มีชื่อว่า 'Growroom' โดยตั้งอยู่ภายในเทศกาลศิลปะ Chart Art Fair ณ กรุงโคเปนเฮเกน…

Continue Reading‘Growroom’ สถาปัตยกรรมต้นแบบ สำหรับปลูกอาหารเลี้ยงคนเมือง

‘หลังคาทรงชาม’ นวัตกรรมหลังคาช่วยเก็บน้ำสำหรับบ้านในทะเลทราย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความขาดแคลนนั้นนำมาซึ่งปัญหา แต่ในอีกทางหนึ่งความขาดแคลนก็กระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาอันนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์เช่นกัน หลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากความขาดแคลน คือ หลังคาทรงชาม (Bowl-shaped Roof) นวัตกรรมหลังคารูปแบบใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อผู้ที่อยู่อาศัยในทะเลทราย ออกแบบโดย BMDesign Studios บริษัทออกแบบสัญชาติอิหร่าน ด้วยความที่ในพื้นที่ในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนแห้ง ที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าหนึ่งในสามของปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั่วโลก ในขณะที่มีอัตราการระเหยของน้ำสูงเป็นสามเท่าของค่าเฉลี่ยอัตราการระเหยของน้ำทั่วโลก ผู้ออกแบบจึงมีความต้องการให้หลังคาลักษณะนี้สามารถเก็บน้ำฝนให้มากที่สุดและเร็วที่สุดก่อนที่มันจะระเหยไป โดยน้ำฝนจะไหลเข้ามาภายในปากของหลังคาทรงชามนี้ ก่อนที่จะไหลรวมเป็นจุดเดียวไปสู่ถังเก็บน้ำที่มีการเตรียมไว้ โดยหลังคาทรงชามนี้จะตั้งซ้อนอยู่บนหลังคาอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นหลังคาสองชั้นจะช่วยให้การป้องกันความร้อนจากแดดเข้าสู่ภายในอาคารสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในขั้นต้นแบบและยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งในการสร้างให้เกิดขึ้นจริง โดยในระหว่างนี้ผู้ออกแบบได้ทดลองออกแบบสถาปัตยกรรมต้นแบบที่มีการนำเทคโนโลยีชนิดนี้ไปใช้ โดยเป็นโรงเรียนซึ่งประกอบด้วยห้องต่างๆ มาวางเรียงกันล้อมคอร์ทยาร์ด 2 คอร์ท ภายในประกอบด้วยหลังคาทรงชามทั้งหมด 12…

Continue Reading‘หลังคาทรงชาม’ นวัตกรรมหลังคาช่วยเก็บน้ำสำหรับบ้านในทะเลทราย

Platanenkubus : อาคารต้นไม้มีชีวิต ปลูกได้ โตได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

แม้จะมีความพยายามในการสร้างสรรค์วัสดุก่อสร้างที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า วัสดุที่สร้างขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจะทำมาจากอะไรก็ตาม ต้องมีการผ่านกระบวนการสังเคราะห์หรือแปรรูป ซึ่งต้องใช้พลังงานและทำให้เกิดของเสียกลับสู่ธรรมชาติ สิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นจากวัสดุเหล่านี้จึงมีส่วนในการทำลายธรรมชาติไม่มากก็น้อย คงจะดีไม่น้อยหากมนุษย์สามารถสร้างสิ่งก่อสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรง สร้างขึ้นจากวัสดุธรรมชาติและไม่ปล่อยของเสียกลับสู่ธรรมชาติเลย Ferdinand Ludwig และ Daniel Schönle สองสถาปนิกชาวเยอรมัน ก็มีความคิดเช่นเดียวกันนี้ เขาทั้งสองจึงร่วมกันพัฒนาวัสดุก่อสร้างชนิดใหม่ โดยเป็นการสร้างอาคารขึ้นมาจากต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ อาคารที่ทั้งสองร่วมกันสร้างขึ้นนี้มีชื่อว่า Platanenkubus ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานแสดงพืชสวนประจำภูมิภาค ในเมืองนาโกลด์ (Nagold) เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี อาคาร Platanenkubus นั้น สร้างขึ้นจากต้นเพลน (Plane Tree -…

Continue ReadingPlatanenkubus : อาคารต้นไม้มีชีวิต ปลูกได้ โตได้ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

อยากปลูกผักในเมืองไม่ใช่เรื่องยาก ดูบ้านในเวียดนามหลังนี้เป็นตัวอย่าง

จากความนิยมในการปลูกผักเพื่อใช้บริโภคเองในเมือง มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ บวกกับความต้องการที่จะให้คนเมืองได้สัมผัสกับความเป็นธรรมชาติมากขึ้น ทั้งสองปัจจัย (more…)

Continue Readingอยากปลูกผักในเมืองไม่ใช่เรื่องยาก ดูบ้านในเวียดนามหลังนี้เป็นตัวอย่าง

‘ลานกีฬาพัฒน์ 2’ จากพื้นที่รกร้างสู่พื้นที่ใช้สอยของคนในชุมชน

พื้นที่รกร้างในบ้านเราที่เกิดจากการพัฒนาเมือง ก่อเกิดซอกมุมอับให้กับเมืองในหลายจุด กลายเป็นแหล่งเสื่อมโทรมขาดการพัฒนา มีหลายโครงการที่เข้าไปแก้ปัญหาเรื่องนี้เช่น (more…)

Continue Reading‘ลานกีฬาพัฒน์ 2’ จากพื้นที่รกร้างสู่พื้นที่ใช้สอยของคนในชุมชน