BASE Office ตึกเก่าเล่าใหม่ในโตเกียวอายุเกือบ 60 ปีกับการใช้พื้นที่ร่วมกันของ 2 สำนักงาน

อีกวิธีในการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนคือการเลือกปรับปรุงอาคารเก่าให้มีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการใส่กิจกรรมใหม่ให้สัมพันธ์กับบริบทปัจจุบัน มันสามารถลดการใช้อิฐ หิน ปูนซีเมนต์ ช่วยชะลอให้เราทำลายโลกใบนี้น้อยลงด้วยกระบวนการ reuse โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น การพัฒนาด้วยการสร้างตึกมากมายจากยุคที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างมากในยุค 1960-1980 ทำให้การสร้างสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ขึ้นมาใหม่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก การทำความเข้าใจเรื่องปรับปรุงอาคารเก่า หรือ renovation จึงเป็นแนวทางที่ควรเลือกไว้พิจารณา ในละแวกอาซากุสะบาชิ ย่านไทโตะ กรุงโตเกียว เป็นย่านที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของการทำเครื่องหนังและวัสดุตกแต่ง แต่ในปัจจุบันได้เปลียนแปลงการใช้ที่ดินไปแล้ว จึงมีตึกที่ต้องเปลี่ยนการใช้งาน เช่นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กที่สร้างมาตั้งแต่ปี 1964 หลังนี้ ซึ่งกำลังจะถูกเปลี่ยนจากสำนักงานเก่าเป็นสำนักงานสถาปนิก 2 แห่ง จุดเริ่มต้นคือการสร้างโปรแกรมให้เป็นการแชร์กันของ 2 สำนักงาน…

Continue ReadingBASE Office ตึกเก่าเล่าใหม่ในโตเกียวอายุเกือบ 60 ปีกับการใช้พื้นที่ร่วมกันของ 2 สำนักงาน

KAIT Plaza อาคารเอนกประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาในญี่ปุ่นที่เน้นการใช้เวลาในอาคารมากกว่าการใช้พื้นที่

มหาวิทยาลัยคือพื้นที่การเรียนรู้ที่สำคัญของมนุษย์ หลายที่ได้บ่มเพาะคนให้เป็นนักคิด นักสร้าง คนสำคัญของโลก แม้ว่าปัจจุบันมหาวิทยาลัยจะถูกท้าทายจากยุคสมัยถึงความจำเป็นต่อการเรียนในระบบมากขึ้นเรื่อยๆ แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่ดีที่มหาวิทยาลัยได้ท้าทายตัวเองถึงการปรับตัวครั้งสำคัญในศตวรรษที่ 21 ในบทบาทของสถาปัตยกรรมการศึกษาเองก็ล้วนต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัยเช่นกัน ไม่สามารถเป็นแค่สิ่งปลูกสร้างที่ไม่สามารถรองรับนักศึกษาได้อีกต่อไป Kanagawa Institute of Technology หรือ KAIT สถาบันอุดมศึกษาด้านเทคโนโลยีในญี่ปุ่นที่เมืองคะนะงะวะ ได้เกิดไอเดียที่จะสร้างอาคารเอนกประสงค์ให้นักศึกษาและบุคลากรในสถาบันได้ใช้ทำกิจกรรม รวมทั้งเฉลิมฉลองในวาระที่ครบรอบ 50 ปีในปี 2013 แต่หลังจากเปิดโอกาสให้สถาปนิกผู้ที่กำลังมีชื่อเสียงอย่าง จุนยะ อิชิงะมิ แห่ง JUNYA ISHIGAMI + ASSOCIATES ได้ออกแบบอาคารเวิร์คชอปไปก่อนหน้านี้…

Continue ReadingKAIT Plaza อาคารเอนกประสงค์ของสถาบันอุดมศึกษาในญี่ปุ่นที่เน้นการใช้เวลาในอาคารมากกว่าการใช้พื้นที่
Read more about the article Anandaloy ศูนย์กิจกรรมและทอผ้าสำหรับสตรีและคนพิการ สถาปัตยกรรมภูมิปัญญา-วัสดุ-แรงงานท้องถิ่นในบังคลาเทศ
Anandaloy: Centre for PwD + tailoring workshop_Studio Anna Heringer___©_KURT HOERBST 2020

Anandaloy ศูนย์กิจกรรมและทอผ้าสำหรับสตรีและคนพิการ สถาปัตยกรรมภูมิปัญญา-วัสดุ-แรงงานท้องถิ่นในบังคลาเทศ

ในขณะที่ทุกมุมโลกกำลังหมุนไปด้วยความเร็ว และเร็วขึ้นทุกที ทุกอย่างแข่งขันด้วยความเร็ว โดยมีเทคโนโลยีที่ช่วยส่งเสริมความเร็วนี้ แน่นอนที่ทุกความเร็วมีราคาที่ต้องจ่ายเสมอ แต่ในขณะที่หลายมุมโลกซึ่งความเร็วไม่ได้เป็นที่ต้องการมากเท่าการมีชีวิตที่ดีขึ้นในวันนี้ คำถามที่มีอยู่ในใจต่อมาคือ ในฐานะผู้สังเกตความเป็นไปของโลกสถาปัตยกรรมมาตลอดหลายปี สถาปนิกมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับหลายมุมโลกที่ดูจะถูกลืมได้อย่างไร สำหรับคำตอบนี้ เชื่อได้ว่าต้องมีชื่อของสถาปนิกสาวเยอรมัน Anna Heringer อยู่ด้วยอย่างแน่นอน Heringer เป็นที่รู้จักกับการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ใช้ภูมิปัญญา วัสดุท้องถิ่น ในการออกแบบโรงเรียนเมติ จนวันนี้เธอได้ก่อตั้งสตูดิโอที่รองรับการออกแบบแนวทางนี้ในชื่อ Studio Anna Heringer และมีผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมในบังคลาเทศอีกชิ้นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คืออาคารอนันดาลอย ตั้งอยู่เขตดินาจปูร์ เมืองรูดราปูร์ อยู่ทางเหนือของประเทศบังคลาเทศ 'อนันดาลอย' เป็นภาษาเบงกาลี แปลได้ว่าสถานที่แห่งความสุขล้ำ…

Continue ReadingAnandaloy ศูนย์กิจกรรมและทอผ้าสำหรับสตรีและคนพิการ สถาปัตยกรรมภูมิปัญญา-วัสดุ-แรงงานท้องถิ่นในบังคลาเทศ

Mountain House in Mist ห้องสมุดกลางหุบเขาในจีน สถาปัตยกรรมใหม่ที่แทรกตัวอยู่ในวิถีเก่า

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เกิดจากฝีมือการออกแบบโดยสถาปนิกที่ได้เรียนในโรงเรียนสถาปัตยกรรม หรือผ่านการฝึกฝนในระบบตามมาตรฐานการศึกษา แต่มันเกิดจากฝีมือชาวบ้านที่ทำตามไปตามพลวัตรของถิ่นที่ ตามปากท้องของพื้นถิ่นนั้น ๆ ในทรรศนะของศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือ สถาปัตยกรรมที่มีธรรมชาติของการดำรงชีวิตในแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการตีความเรื่องราวของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยจากใจความของอดีตกาล จึงต้องตีความในมิติต่าง ๆ ทั้งทางด้านการวัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐานของแต่ละชุมชนก่อนสกัดนำมาใช้ในงานออกแบบ ในพื้นที่อันทรงพลังของหุบเขาในเทศมณฑลหวู่อี่  เมืองจินหัว จังหวัดเจ้อเจียง ประเทศจีน ได้มีสถาปัตยกรรมขนาดเล็กแทรกอยู่ท่ามกลางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเดิมในหมู่บ้าน หากมองผ่าน ๆ จะเป็นเรือนยกใต้ถุนสูงแบบที่พบได้ในเรือนชาวไตทางจีนตอนใต้ แต่พอมองในรายละเอียด มันมีเรื่องราวมากกว่านั้น มันคือห้องสมุดชุมชนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างพื้นที่มีความสงบ เพื่อดึงดูดผู้คนเข้ามาจึงดึงดูดให้คนหนุ่มสาวและเด็ก ๆ กลับไปที่หมู่บ้านในภูเขามากขึ้น จากความต้องการนี้ Shulin…

Continue ReadingMountain House in Mist ห้องสมุดกลางหุบเขาในจีน สถาปัตยกรรมใหม่ที่แทรกตัวอยู่ในวิถีเก่า

Microlibrary Warak Kayu ห้องสมุดขนาดเล็กต้นทุนต่ำในเมืองเซอมารัง อินโดนีเซีย

ในภูมิภาคแถบเส้นศูนย์สูตร ซึ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ส่งผลให้สภาพอากาศเป็นลักษณะร้อนชื้น แดดจัด ฝนตกชุก สถาปัตยกรรมในแถบนี้จึงมีการปรับตัวให้รับมือได้กับความร้อนจากแสงแดด พร้อมกับฝนที่ตกจำนวนมาก ยิ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรเท่าไร ยิ่งฝนตกหนัก จนมีคำกล่าวที่ว่า ‘ฝนแปดแดดสี่’ กันเลยทีเดียว แม้รูปลักษณ์สถาปัตยกรรมจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามาผสมจนกลมกลืน แต่ความผสมผสานเหล่านี้คือสเน่ห์เฉพาะตัว ดังเช่นการผสมกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีที่มาจากตะวันตกมาพลอดรักกับพื้นถิ่นอุษาคเนย์จึงเกิดสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า ‘tropical modern architecture’ การแปลความของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในแบบนี้ พบได้หลากรูปแบบตามวัสดุ ช่างฝีมือของแต่ละท้องถิ่น อย่างที่เกาะชวา เมืองเซอมารัง ประเทศอินโดนีเซีย กำเนิดโครงการ Microlibrary Warak Kayu ห้องสมุดขนาดเล็กในชุมชน เป็นโครงการห้องสมุดชุมชนลำดับที่…

Continue ReadingMicrolibrary Warak Kayu ห้องสมุดขนาดเล็กต้นทุนต่ำในเมืองเซอมารัง อินโดนีเซีย

Sangini House ในอินเดียผสานองค์ประกอบจากอดีตผ่านการดัดแปลงและออกแบบสู่ลมหายใจร่วมสมัย

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเอเชียได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตกที่มีภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ในกำเนิดของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เกิดจากผลพวงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้บ้านเรือนในเอเชียเปลี่ยนรูปแบบไปตามตะวันตก จากที่เคยเปิดรับแสงอาทิตย์ได้น้อยตามระบบโครงสร้างแบบดั้งเดิมที่เป็นผนังรับน้ำหนัก จึงหันมาเปิดรับแสงอาทิตย์มากขึ้นจากการนำกระจกมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม ทำให้สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเอเชียเปิดรับแสงอาทิตย์เข้ามาเต็มที่จนสูญเสียความสลัวแบบดั้งเดิม ทั้งที่หลายส่วนการใช้สอยไม่ได้ต้องการแสงมาก เพราะพื้นที่หลายส่วนของเอเชียมีแสงอาทิตย์ที่จัดจ้าเกินความต้องการ สถาปัตยกรรมจึงออกแบบให้มีแสงที่พอต่อการใช้สอยและปริมาณของแสงอาทิตย์ ปัญหานี้ยังรวมไปถึงอินเดียด้วยเช่นกัน มีอีกวิธีแก้ปัญหานี้จาก รัฐคุชราต อินเดีย โดยสถาปนิกจาก Urbanscape Architects และ Utopia Designs นำเสนอเรื่องราวจากสถาปัตยกรรมประเพณีอินเดียมาต่อยอดในการออกแบบอาคารสำนักงาน 8 ชั้น ของกลุ่มบริษัท Sangini ที่ตั้งอยู่ในเมืองสุหรัด ในย่านที่กำลังจะมีการเจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ การออกแบบให้เป็นอาคารสูงจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยในการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้สอย ลักษณะการใช้สอยโดยรวมเป็นสำนักงานที่เต็มไปด้วยพื้นที่ทำงาน ห้องประชุม พื้นที่ส่วนที่ต้องการแสงธรรมชาติเข้ามาได้ออกแบบให้เป็นผนังกระจกเพื่อรับแสงมาใช้ภายในเต็มที่…

Continue ReadingSangini House ในอินเดียผสานองค์ประกอบจากอดีตผ่านการดัดแปลงและออกแบบสู่ลมหายใจร่วมสมัย

#architecturefromhome สร้างนักออกแบบตัวน้อยได้ที่บ้าน ด้วยกิจกรรมแสนสนุกจากบริษัทสถาปนิกระดับโลก

ในแวดวงสถาปัตยกรรม ชื่อของ Foster + Partners เป็นที่ยอมรับในฐานะบริษัทออกแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลก ภายใต้การนำของท่านลอร์ด Norman Foster สถาปนิกชาวอังกฤษในตำนาน ผู้สร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมอันน่าทึ่งมากมายหลายแห่งทั่วโลก โดยมีจุดเด่นที่การบูรณาการความทันสมัยไฮเทค รูปลักษณ์แปลกใหม่ เข้ากับความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม และบริบทรอบด้านอย่างลงตัว ความใส่ใจรอบด้านของทีม Foster + Partners ไม่ได้หยุดอยู่แค่งานอาคารสถานที่เท่านั้น ล่าสุดได้ผุดโปรเจ็กต์พิเศษที่ชื่อว่า #architecturefromhome ซึ่งเป็นชุดกิจกรรมสนุกๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นบรรดาเด็กตัวน้อยที่ต้องอยู่บ้านเพราะมาตรการล็อคดาวน์จากการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่นั่นเอง ชุดกิจกรรม #architecturefromhome คือการเรียนรู้ผ่านการเล่นที่เหมาะเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว โดยเราจะต้องดาวน์โหลดชุดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ธีมสถาปัตยกรรม เช่น…

Continue Reading#architecturefromhome สร้างนักออกแบบตัวน้อยได้ที่บ้าน ด้วยกิจกรรมแสนสนุกจากบริษัทสถาปนิกระดับโลก

Roof Square พื้นที่สันทนาการใต้ทางด่วน สถาปัตยกรรมคำตอบใหม่ช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ชุมชน

เป็นธรรมดาของการพัฒนาเมืองใหญ่ที่ต้องสร้างสาธารณูปโภคให้ชาวเมืองได้รับความสะดวกสบายจากการเดินทาง หลายเมืองใหญ่ในโลกนิยมใช้รถไฟในการเดินทาง พื้นที่บางส่วนที่รถไฟวิ่งเข้ามาในตัวเมืองเดิมที่ไม่ได้ออกแบบพื้นที่รางเตรียมไว้ ถ้าไม่เป็นรถไฟใต้ดิน ก็จะกลายเป็นทางรถไฟลอยฟ้าแบบ BTS ที่ชาวกรุงเทพมหานครใช้ ผลจากการสร้างทางรถไฟลอยฟ้าทำให้เกิดพื้นที่เหลือของเมืองบริเวณข้างใต้ หลายแห่งกลายเป็นที่ทรุดโทรม จนเป็นปัญหาด้านทัศนียภาพกับเมือง คำถามคือมีทางแก้อย่างไรได้บ้าง? พื้นที่เหลือเหล่านี้ มีอีกคำตอบจากกรุงโซล เกาหลีใต้ กับโครงการนำร่องชื่อ Roof Square ที่นำเสนอการสร้างพื้นที่สาธารณะจากสเปซเหลือของเมืองให้มีชีวิตชีวาอีกครั้งด้วยการออกแบบ เนื่องจากการสร้างทางรถไฟจะทำให้พื้นที่ด้านล่างขาดการเชื่อมโยงกัน พื้นที่ชุมชนที่เคยเป็นเนื้อเดียวกันก็ถูกแบ่งออกจากกัน การเชื่อมโยงชุมชนทั้ง 2 ฝั่งได้ถูกเสนอทางแก้ปัญหาจากสถาปนิก HG-Architecture ด้วยการพัฒนาสะพานลอยอิมุนให้เป็นตัวเชื่อมผู้คนในชุมชนด้วยกิจกรรมที่เติมลงไปใหม่ เมื่อมองเข้าไปยังกระบวนการ มันคือการมองว่าปัญหาการขาดความเชื่อมต่อของชุมชนเดิมจากการพัฒนาเมือง วิธีแก้คือเพิ่มความเชื่อมต่อด้วยสถาปัตยกรรม กระบวนการคือการออกแบบสถาปัตยกรรมที่รองรับกิจกรรมใหม่ให้แก้ปัญหาได้ มันคือการออกแบบสะพานลอยที่ทำหน้าที่หลากหลายในพื้นที่…

Continue ReadingRoof Square พื้นที่สันทนาการใต้ทางด่วน สถาปัตยกรรมคำตอบใหม่ช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ชุมชน

Mi-chan’s Sweets Factory ร้านเบเกอรี่ขนาดจิ๋วของ ด.ญ. มิอิจัง เติมเต็มความสุขผ่านขนมอบรสมือตัวน้อย

ความฝันของคนเราต่อสถาปัตยกรรมแบบทั่วไป อาจจะเป็นการฝันว่ามีบ้านที่ตัวเองชอบสักหลัง การเติมเต็มความฝันของผู้คนด้วยสิ่งก่อสร้างด้วยการรับใช้สังคม ยกระดับคุณภาพชีวิต มันช่วยบ่งบอกว่าสถาปัตยกรรมทำอะไรให้กับสังคมได้บ้าง แต่ถ้าไม่ใช่บ้าน สถาปัตยกรรมแบบไหนกันที่จะเป็นตัวอย่างการเติมเต็มให้กับความหมายในการใช้ชีวิตของครอบครัวหนึ่ง คำถามนี้มีคำตอบจากสำนักงานสถาปนิก Alts Design Office ด้วยร้านみいちゃん-มิอิจัง (จัง คือคำลงท้ายไว้เรียกเด็กหญิง) สถาปัตยกรรมขนาดเล็กที่เกิดจากความรักของพ่อแม่ต่อลูกสาวคนหนึ่งในจังหวัดจังหวัดนะงะโนะ ประเทศญี่ปุ่น มิอิจังคือชื่อเจ้าของร้านขนมขนาดเล็กบนที่ดินข้างบ้านขนาด 16.5 ตารางเมตร (ราว 4x4 เมตรเท่านั้นเอง) เรื่องราวของร้านมิอิจังเริ่มต้นจากที่ครอบครัวหนึ่งได้พบว่าลูกสาววัย 13 ขวบมีพรสวรรค์ในการทำขนมอบต่างๆ จากการที่เธอเริ่มฝึกฝนการทำขนมมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ แม้ว่าลูกสาวจะมีอาการป่วยด้วยความบกพร่องทางสมอง จึงเกิดโปรแกรม…

Continue ReadingMi-chan’s Sweets Factory ร้านเบเกอรี่ขนาดจิ๋วของ ด.ญ. มิอิจัง เติมเต็มความสุขผ่านขนมอบรสมือตัวน้อย

Haru-No-Ogawa Community Park Toilet เปลี่ยนวัสดุ เปลี่ยนการรับรู้ เปลี่ยนเมืองด้วยดีไซน์

คุณภาพของสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้นกับขนาดแต่เพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถวัดได้จากรายละเอียด ความใส่ใจในการออกแบบด้วยเช่นกัน สถาปัตยกรรมที่ดีนั้นสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้คนในสังคมได้ แม้แต่สถาปัตยกรรมขนาดเล็กที่จำเป็นและมักถูกมองข้ามอย่างห้องน้ำสาธารณะ ในญี่ปุ่น เราสามารถหาห้องน้ำได้ง่ายดายกว่าถังขยะ ห้องน้ำสาธารณะจะได้รับความใส่ใจในการออกแบบและการดูแลรักษามาก ถ้าใครมาญี่ปุ่นแล้วจะประทับใจกับห้องน้ำในญี่ปุ่นได้ง่ายดาย ห้องน้ำสาธารณะหลายแห่งได้ถูกออกแบบให้แตกต่างกันไปตามสภาพถิ่นที่ มีหลากหลายรูปแบบ น่าใช้งาน อันเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงวินัยและความใส่ใจต่อสมบัติสาธารณะของคนญี่ปุ่นนั้นเอง จากห้องน้ำที่มีความใส่ใจในการออกแบบอย่างดี ในกรุงโตเกียวได้มีโครงการ Tokyo Toilet ที่ดำเนินการโดยมูลนิธินิปปง อันเป็นองค์กรณ์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร มูลนิธินิปปงได้ขอความช่วยเหลือด้านการออกแบบจากนักออกแบบทั่วโลก มาร่วมกันออกแบบห้องน้ำสาธารณะในโครงการนี้ทั้ง 17 แห่ง ในย่านใจกลางเมืองของชิบูย่า เหล่านักออกแบบที่เชิญมาก็มีชื่อเสียงลำดับต้นๆ ของโลกอย่างเช่น Toyo Ito, Tadao Ando,…

Continue ReadingHaru-No-Ogawa Community Park Toilet เปลี่ยนวัสดุ เปลี่ยนการรับรู้ เปลี่ยนเมืองด้วยดีไซน์