La Comuna บ้านแบบ 2 in 1 ผสานที่อยู่อาศัยเข้ากับพื้นที่การลดและรีไซเคิลขยะของชุมชน

การสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ โดยส่วนใหญ่คือการทำลายทรัพยากรที่มีจำกัดในโลกเพื่อสร้างมันขึ้นมา แนวทางที่น่าสนใจสำหรับการลดการใช้วัสดุก่อสร้างสามารถทำได้ทั้งการออกแบบให้ประหยัด หรือการเลือกใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่สำหรับการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ในแต่ละชุมชนก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญในภาวะปัจจุบันของโลกเรา ด้วยเราจะพบได้จากสื่อต่างๆ ถึงขยะที่กำลังจะล้นโลกของเราในเวลาอีกไม่นาน โครงการเพื่อชุมชนในเมืองฮัวกิลา ประเทศเอกวาดอร์ ซึ่งเป็นเมืองชายแดนระหว่างเปรูและเอกวาดอร์ ได้เกิดโครงการนำร่องที่ผสานที่อยู่อาศัยเข้ากับพื้นที่สร้างการลดขยะจากชุมชน ด้วยฝีมือร่วมกันออกแบบของ 2 สำนักงานสถาปนิกเอกวาดอร์ ชื่อโครงการคือ ‘La Comuna’ แปลว่า ชุมชน กิจกรรมในงานนี้รองรับสำหรับกิจกรรมการรีไซเคิล งานช่างผสานกันกับที่อยู่อาศัย ให้สามารถเกื้อกูลกันได้ทั้งเจ้าของบ้านและกิจกรรมรองรับการลดขยะในชุมชน พื้นที่ใช้สอยโครงการแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ด้วยหน่วยที่มีพื้นที่แต่ละช่วงเสาขนาด 3x4 เมตร จำนวน 3…

Continue ReadingLa Comuna บ้านแบบ 2 in 1 ผสานที่อยู่อาศัยเข้ากับพื้นที่การลดและรีไซเคิลขยะของชุมชน

NOON จากบ้านเก่าในเม็กซิโกสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้อย่างอิสระหลังเลิกเรียน

การพัฒนาของสมองสำหรับวัยเด็กนั้นสำคัญต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอย่างมาก พื้นที่สำหรับเด็กจึงควรเป็นพื้นที่เปิดให้เล่น ให้มีจิตนาการที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ให้เป็นผู้ใหญ่ที่เป็นกำลังในการพัฒนาของโลกต่อไปในวันหน้า แต่พื้นที่เหล่านี้ในประเทศที่ไม่ร่ำรวยนัก ยิ่งหากเป็นโครงการภายใต้งบประมาณที่จำกัด จะมีสภาพที่ไม่น่าใช้งานเอาเสียเลย แต่ถ้าให้ความสำคัญกับการออกแบบที่แก้ปัญหาให้เรื่องของงบประมาณ มาพบกับความคุ้มค่า ความเป็นไปได้ที่จะได้งานดีก็มีโอกาสมากขึ้นแน่นอน NOON คือโครงการที่เป็นพื้นที่เรียนรู้หลังโรงเรียนเลิก ให้เหล่าเด็กสามารถมาทำกิจกรรมต่างๆ หลังเลิกเรียนอย่างเป็นอิสระ คล้ายว่าเป็นสนามเด็กเล่นที่ถูกออกแบบให้รองรับกิจกรรมสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก โดยโครงการมีปัญหาเรื่องงบประมาณที่จำกัด ตัวงานแต่เดิมเป็นบ้านเก่าที่เป็นโจทย์ให้สถาปนิกเข้ามาแก้ แม้ว่าจะฟังดูยาก แต่สำหรับสถาปนิกจากเม็กซิโก TACO taller de arquitectura contextual ได้ทำการออกแบบปรับปรุงเป็นพื้นที่สำหรับเด็กเล่นจากบ้านเก่าในประเทศเม็กซิโกให้เป็นงานที่น่าสนใจได้ สถาปนิกออกแบบด้วยข้อจำกัด เปลี่ยนพื้นที่ภายในบ้านรองรับกิจกรรมใหม่ ที่มีทั้งสำนักงาน ห้องให้คำปรึกษา ห้องทำงาน ตัวโครงสร้างบ้านเดิมได้ถูกเก็บไว้…

Continue ReadingNOON จากบ้านเก่าในเม็กซิโกสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้อย่างอิสระหลังเลิกเรียน

อาคารอเนกประสงค์ในเอกวาดอร์ ชั้นบนเป็นโรงอาหาร ชั้นล่างเป็นพื้นที่สันทนาการ

สำหรับการใช้งานของสถาปัตยกรรมชั่วคราว เมื่อกำเนิดขึ้นแล้ว หน้าที่ของมันคือรับใช้จุดประสงค์อย่างหนึ่งในเวลาสั้น จากนั้นมันก็ต้องถูกรื้อถอนไป แบบที่เราจะได้พบกับสถาปัตยกรรมประเภทศาลาแสดงงาน ซึ่งเมื่อจบงานนิทรรศการนั้นแล้ว ก็จะถูกรื้อทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย แต่ถ้าเราเพิ่มแนวคิดที่จะหาทางให้เศษวัสดุเหล่านี้มันกลับมาเป็นสถาปัตยกรรมอีกครั้ง การออกแบบมันจะช่วยให้เป็นไปแบบไหนได้บ้าง คำตอบของคำถาม ต้องพามาที่ย่านชานเมืองของประเทศเอกวาดอร์ เมื่อสถาปนิกเจ้าถิ่นของประเทศเอกวาดอร์ Al Borde + Taller General เสนอให้สร้างสถาปัตยกรรมขนาดเล็กเพื่อรองรับกิจกรรมของเหล่าเด็กในชุมชนด้วยวัสดุที่รื้อจากศาลาแสดงงาน โครงการนี้เริ่มต้นที่ทางชุมชน Guadurnal  แห่งนี้ประสบภัยแผ่นดินไหวในวันที่ 16 เมษายน 2016 ทำให้ขาดส่วนอำนวยความสะดวกพื้นฐานไป ในขั้นตอนการออกแบบสถาปนิกได้ลงพื้นที่เพื่อทำการประชุมเชิงปฏิบัติการกับชาวชุมชน เพื่อหาคำตอบของแนวทางการสร้างงานนี้ โดยเป็นโรงอาหารอเนกประสงค์สำหรับเด็ก ผู้คนในชุมชน กิจกรรมในงานนี้แบ่งเป็น…

Continue Readingอาคารอเนกประสงค์ในเอกวาดอร์ ชั้นบนเป็นโรงอาหาร ชั้นล่างเป็นพื้นที่สันทนาการ
Read more about the article บ้านประหยัดพลังงานขนาดเล็กสำหรับ 4 คน ครบทั้งที่นอน ห้องน้ำ ห้องครัว ที่ทานอาหาร
Ecological LIving Module at the United Nations, Architect: Gray Organschi Architects, Location: New York NY

บ้านประหยัดพลังงานขนาดเล็กสำหรับ 4 คน ครบทั้งที่นอน ห้องน้ำ ห้องครัว ที่ทานอาหาร

ปัญหาที่อยู่อาศัยในศตวรรษที่ 21 มีความซับซ้อนตามบริบทที่นอกจากจะเป็นความซับซ้อนของคนแล้ว สิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญคือการที่ทรัพยากรอันมีจำกัดบนโลกไม่ได้มีเท่าเดิม ทางแก้อีกทางคือการพิจารณาการนำวัสดุที่กลายเป็นของเหลือใช้ หรือใช้แล้วให้นำกลับมาใช้ พร้อมกับการคิดให้รอบคอบถึงการสร้างสิ่งใหม่ โดยรบกวนโลกให้น้อยที่สุด อย่างในงานประชุม United Nations High-Level Political Forum on Sustainable Development ที่จัดไปเมื่อสิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ได้มีการเสนอบ้านขนาดเล็กที่เป็นต้นแบบสำหรับการอยู่อาศัยที่ยั่งยืน ตั้งแสดงที่ UN Plaza ในเมืองแมนฮัตตัน โดยฝีมือของทีมจาก Yale Center for Ecosystems…

Continue Readingบ้านประหยัดพลังงานขนาดเล็กสำหรับ 4 คน ครบทั้งที่นอน ห้องน้ำ ห้องครัว ที่ทานอาหาร

Crest Apartments อพาร์ทเม้นท์สำหรับคนไร้บ้าน สร้างชุมชนน่าอยู่แบบครบวงจร

ปัญหาสังคมมีหลายมิติ มันซับซ้อนตามบริบทของแต่ละสังคม บางปัญหาสถาปัตยกรรมเข้าไปช่วยได้น้อย บางปัญหาปลายทางแก้ปัญหาคือการใช้สถาปัตยกรรมเข้ามาบำบัดเยียวยาให้กับสังคมได้เช่นกัน เช่นกรณีปัญหาเรื่องคนไร้บ้านในสังคม มีการแก้ปัญหาในหลายวิธี ทั้งการสร้างความเป็นมิตร ให้ปัจจัยสี่สำหรับพื้นฐานการดำรงชีวิต แต่ส่วนหนึ่งของปัจจัยสี่ที่ลงทุนเข้าไปแก้ไขประเด็นนี้ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ได้คือ บ้านของคนไร้บ้าน Crest Apartments คือที่พักอาศัยของคนไร้บ้านและทหารผ่านศึกผู้ไร้บ้าน มันเป็นความพยายามที่จะให้คนไร้บ้านลดพฤติกรรมการเร่ร่อนจรจัดมาคุ้นเคยกับการอยู่เป็นชุมชน โดยเปลี่ยนที่ว่างตรงชานเมืองย่านแวนนายส์ ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ให้รองรับกิจกรรมสำหรับชาวไร้บ้านเหล่านี้ โดยได้สำนักงานสถาปนิกในลอสแอนเจลิส Michael Maltzan Architecture มาแก้ปัญหาด้วยการออกแบบและด้วยการสร้างพื้นที่ใช้สอยภายในที่ประกอบด้วยสำนักงาน ครัวรวม ซักล้าง ห้องพักผ่อน สวนชุมชน เพื่อรองรับกิจกรรมความเป็นชุมชนในโครงการ กลวิธีที่สถาปนิกเสนอในการออกแบบคือ การเปิดจากพื้นที่ภายในสู่ภายนอก…

Continue ReadingCrest Apartments อพาร์ทเม้นท์สำหรับคนไร้บ้าน สร้างชุมชนน่าอยู่แบบครบวงจร

สำนักงานเขตคะมิเกียวในเกียวโต อ่อนน้อมถ่อมตนต่อทุกคน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อาคารราชการที่ทำหน้าที่รับใช้ประชาชนในบ้านเราส่วนมาก ที่เรามีประสบการณ์เข้าไปใช้เป็นประจำไม่ว่าจะที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต ศาลากลางจังหวัด เรามักจะพบได้กับภาพลักษณ์ที่ดูจริงจัง แฝงไว้ซึ่งอำนาจผ่านสถาปัตยกรรม ถึงกับมีเรื่องเล่าในอดีตว่าคุณตาคุณยายที่ไปอาคารราชการเหล่านั้น ถึงกับถอดรองเท้าก่อนเข้าไปติดต่อธุระกันเลยทีเดียว เพราะนี้คือสิ่งที่อาคารราชการออกแบบด้วยการขาดแนวคิดแสดงความเป็นมิตรกับประชาชน หากลองเปิดใจให้กว้าง การออกแบบอาคารราชการไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเดิมๆ แต่สามารถออกแบบผ่านแนวคิดใหม่ให้สื่อสารกับประชาชนได้ ...ว่าแล้วก็ชวนมาลองดูกรณีศึกษาจากอาคารสำนักงานเขตคะมิเกียว เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น อาคารนี้ถูกออกแบบเพื่อให้รองรับกิจกรรมหลักด้านทะเบียนของทางเขต และงานประกันสุขภาพของประชาชนในเขตด้วย สถาปนิกที่ออกแบบคือ Tohato Architects & Engineers สถาปนิกมีแนวคิด 4 ประการคือ อ่อนน้อมถ่อมตนต่อทุกคน เป็นมิตรกับโลก นำรูปแบบชายคาที่เกิดเงาแบบสถาปัตยกรรมเกียวโต และการใช้ไม้ในท้องถิ่น หลัก…

Continue Readingสำนักงานเขตคะมิเกียวในเกียวโต อ่อนน้อมถ่อมตนต่อทุกคน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Sumida Hokusai Museum เปลี่ยนผู้คนและชุมชนให้เป็นมิตรกันง่ายขึ้น

สถาปัตยกรรมที่ดี ไม่ควรที่จะทำตัวเองเป็นดั่งอนุสาวรีย์ของสถาปนิก แต่ควรทำหน้าที่เชื่อมมันกับสภาพแวดล้อมโดยรอบให้พัฒนาคุณภาพของผู้คนในที่ตั้งได้ เพราะสถาปัตยกรรมไม่ได้เกิดมาอย่างโดดเดี่ยว แต่สิ่งรอบตัวนั้นผลักดันให้เกิดขึ้น การเกื้อกูลกันและกันจึงเป็นประเด็นที่ไม่ควรละเลยในการออกแบบ ณ กรุงโตเกียว ย่านสุมิดะ ตรงแยกในชุมชนติดทางรถไฟ มีอาคารผิวกรุอลูมิเนียมตั้งอยู่หลังสวนสาธารณะ นั้นคือ Sumida Hokusai Museum เป็นพิพิธภัณฑ์ที่บันทึกเรื่องราวของ คะทสึชิคะ โฮะคุไซ ศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้เลื่องชื่อของญี่ปุ่น โฮะคุไซนั้นเกิดและใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในย่านนี้เมื่อราว 200 ปีก่อน จึงเป็นที่มาของพิพิธภัณฑ์นี้ ซึ่งผลงานที่เลื่องลือดังไปทั่วโลกที่เราจะคุ้นก็เช่นภาพ The Great Wave off Kanagawa ผลงานของเขาในปี…

Continue ReadingSumida Hokusai Museum เปลี่ยนผู้คนและชุมชนให้เป็นมิตรกันง่ายขึ้น

Plaza KIT คงคุณค่าอาคารเก่าเชื่อมโยงชีวิตใหม่ให้ผู้คนและอาคารในเมืองเกียวโต

สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกหนีเงื่อนไขด้านเวลาได้ มันสามารถรับใช้สังคมในช่วงเวลาที่ถูกออกแบบตามเงื่อนไขของเวลานั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป จากประโยชน์ใช้สอยเดิมก็ต้องถึงเวลาที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัย หากมองว่าสถาปัตยกรรมคือสังขาร สังขารนั้นล้วนปรุงแต่งไปตามกาลเวลา การปรุงสถาปัตยกรรมเก่าให้เข้ากับการใช้สอยใหม่นั้นคือการผ่าตัดชนิดหนึ่ง หรือที่เรามักจะเจอคำว่า renovation นั้นเอง การปรุงนี้มีข้อคิดสำคัญคือการลงทุนสร้างอาคารใหม่นั้นใช้งบประมาณสูงกว่าปรับปรุง ตัวอาคารมีความแข็งแรงพอที่จะรองรับการใช้สอยใหม่ การปรับปรุงนี้จะได้พื้นที่ใช้สอยใหม่ที่ราคาไม่สูง ลดการทำลายทรัพยากร แต่เป็นการจัดสรรสิ่งเก่าให้มีความเหมาะสมตามทรัพยากร อย่างเช่นงาน Plaza KIT ที่ตั้งอยู่หน้า Kyoto Institute of Technology หรือ KIT ในเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ออกแบบโดย Akira KAKUDA…

Continue ReadingPlaza KIT คงคุณค่าอาคารเก่าเชื่อมโยงชีวิตใหม่ให้ผู้คนและอาคารในเมืองเกียวโต

ร.ร. พอดี พอดี บ้านหนองบัว รองรับแผ่นดินไหว สร้างง่าย ราคาถูก ด้วยวัสดุท้องถิ่น

สถาปัตยกรรมเป็นส่วนสำคัญให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย มีความมั่นคงทางจิตใจ แต่เมื่อสถาปัตยกรรมไม่มั่นคง ตัวมันเองก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของการกำเนิดมันได้ อย่างกรณีที่เกิดภัยพิบัติ เช่นแผ่นดินไหว สถาปัตยกรรมได้พังทลายลง ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปรกติได้ แต่ถ้าหากเรามีสถาปัตยกรรมที่เตรียมพร้อมรองรับภัยพิบัติ สามารถทำในรูปแบบไหนได้บ้าง ‘โรงเรียน พอดี พอดี บ้านหนองบัว’ เป็น 1 ใน 9 โครงการที่ตอบสนองการแก้ปัญหาจากแผ่นดินไหวที่ จ.เชียงรายเมื่อปี 2557 โดยทาง D4D หรือ Design for Disasters เป็นกลุ่มที่เข้าไปทำการช่วยเหลือ พร้อมกับการเชิญทีมสถาปนิกให้ความช่วยเหลือทางการออกแบบสถาปัตยกรรม พร้อมกับความช่วยเหลือจากสมาคมสถาปนิกสยาม…

Continue Readingร.ร. พอดี พอดี บ้านหนองบัว รองรับแผ่นดินไหว สร้างง่าย ราคาถูก ด้วยวัสดุท้องถิ่น

ROHM Theatre Kyoto ชุบชีวิตอาคารเก่า เติมพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้เมืองและคนในชุมชน

วัฒนธรรมการใช้พื้นที่สาธารณะของประเทศที่เจริญแล้วจะเน้นให้เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากร การออกแบบพื้นที่โล่งของเมืองจึงควรมีสัดส่วนที่เหมาะสม ถ้าใช้เกณฑ์มาตรฐานสากลคือ 15 ตารางเมตรต่อคน หากพื้นที่สาธารณะของเมืองได้รับการออกแบบให้ดี มีตำแหน่งและขนาดที่เหมาะสม สามารถช่วยให้เมืองมีชีวิตชีวาขึ้นมา พร้อมกับประชากรมีคุณภาพชีวิตไปพัฒนาประเทศได้ อย่างเมืองเคียวโตะซึงเป็นเมืองที่เป็นที่รวมของศิลปวัฒนธรรม บรรยากาศของเมืองมีการอนุรักษ์เป็นอย่างดี แต่ก็มีส่วนที่เป็นของใหม่ด้วย การออกแบบสถาปัตยกรรมในเมืองเคียวโตะจึงเป็นการประณีประนอมระหว่างความเก่าและใหม่ไปพร้อมกัน นอกจากอาคารเก่าแบบประเพณีแล้วนั้น เคียวโตะยังมีงานจากยุคสมัยใหม่ที่มีคุณค่าด้านประวัติศาสตร์หลายชิ้นเช่นกัน อย่างเช่นอาคารเคียวโตไคคัง ออกแบบโดยสถาปนิกระดับตำนานของญี่ปุ่น คุนิโอะ มะเอะคะวะ แต่เดิมเป็นสถานที่จัดแสดงคอนเสิร์ต เปิดใช้งานมาตั้งแต่ยุค 1960 และปิดปรับปรุงไปเมื่อปี 2012 เคียวโตไคคังเป็นอาคารคอนกรีตเปลือยที่สำคัญของยุคสมัยใหม่ เสี่ยงต่อการถูกทุบทิ้งเพื่อพัฒนา ทางกรรมการจึงได้พิจารณาถึงคุณค่าของอาคารจากยุคสมัยใหม่นี้ ให้ถูกชุบชีวิตขึ้นมาด้วยการเติมพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยได้สถาปนิก Kohyama…

Continue ReadingROHM Theatre Kyoto ชุบชีวิตอาคารเก่า เติมพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้เมืองและคนในชุมชน