สะพานไม้ไผ่ในจีนสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมงานฝีมือสร้างอาชีพให้ชุมชน

ไผ่เป็นวัสดุที่สามารถรับแรงได้ดี ยืดหยุ่นสูง หากทำการบำรุงรักษาให้ดี สามารถมีอายุการใช้งานได้หลายปีทีเดียว จัดว่าคุ้มสำหรับวัสดุก่อสร้างโตเร็วเมื่อต้องใช้ไม้ยืนต้น ดังที่เราจะเห็นการใช้ไผ่ในงานศิลปะแขนงต่างๆ ของจีน ทั้งข้าวของเครื่องใช้จนถึงสถาปัตยกรรม

เช่นเดียวกับที่สะพานข้ามทะเลสาปไท่หู มณฑลเจียงซู ที่มีความยาวราว 100 เมตร  สะพานนี้มีโครงสร้างคอนกรีตเดิมเป็นฐานและพื้น แต่ยังขาดส่วนเติมเต็มที่ได้สำนักงานสถาปนิกจีน Mimesis Architecture Studio เข้ามาเพิ่มมูลค่าด้วยเรื่องราวของไผ่จากอดีต สถาปนิกออกแบบราวสะพานด้วยแนวคิดที่ต้องการสื่อถึงงานฝีมือไผ่ ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อเมืองติงซูที่สะพานนี้ตั้งอยู่ ไผ่จำนวนมากถูกออกแบบให้เป็นลายสานแบบลวดลายจีน สานไขว้ไปมาและบิดตัวไปมาตามแนวคิดที่สื่อถึง ภูเขา สายน้ำ หมอก ภูมิประเทศที่สวยงามของแผ่นดินจีน ไผ่ที่นำมาใช้ได้ทำการรักษาเนื้อไผ่ด้วยการเผาแบบรมควันด้วยขี้เลื่อยไม้เพื่อกำจัดแป้งในไผ่ ทำให้เพิ่มอายุการใช้งาน การออกแบบให้ไผ่สานออกเป็นช่องช่วยให้ถอดประกอบสำหรับการบำรุงรักษาได้ง่าย ไผ่ถูกประยุกต์ใช้เป็นแบบหล่อราวสะพานด้วย ก่อเกิดร่องรอยบนผิวคอนกรีตที่เสริมเสน่ห์กับงานอีกทางstreaming Sleepless 2017

นอกจากนี้การเลือกใช้ไผ่มาประกอบในสะพาน ยังสามารถกระตุ้นในเกิดรายได้ในท้องถิ่นจากการจ้างงาน และแสดงออกถึงฝีมือของเหล่าช่างติงซู แม้สะพานจะยาวไม่เกิน 100 เมตร แต่มันสามารถเป็นจุดเริ่มต้นของความยาวนานให้กับไผ่อีกครั้ง

อ้างอิง: arch.seu.edu.cninhabitatdesignboom, dezeen

Tags

Tags: ,

สาโรช พระวงค์

สถาปนิกผู้ริเป็นนักเขียน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนใจในสถาปัตยกรรมที่สร้างคุณภาพที่ชีวิตที่ดีขึ้น เลยมาเขียนเล่าให้ผู้อ่านเป็นเนืองๆ

See all articles