‘ให้เด็กเล่นอย่างฉลาด ชาติเจริญ’ ศูนย์ดูแลเด็กในญี่ปุ่นกับพื้นที่ให้เล่นอย่างอิสระ

ในวัยเด็กเป็นช่วงที่สมองมีพัฒนการต่อการเรียนรู้ อันเป็นฐานไปสู่การเป็นวัยรุ่นที่ดี การเล่นซนสำหรับเด็กไม่ใช่เรื่องที่ต้องไปปิดกั้น แต่เป็นเรื่องที่ควรส่งเสริมให้เด็กได้เล่นอย่างเต็มที่ เพราะการเล่นอย่างอย่างสร้างสรรค์จะพาให้เด็กเป็นคนที่มีประสาทสัมผัสต่อสิ่งรอบข้างอย่างดี

การออกแบบพื้นที่การเล่นจึงสำคัญ ณ ฮะรุมะ ย่านชานเมืองโตเกียว ญี่ปุ่น เป็นย่านอุตสาหกรรมเครื่องครัวเก่า มีศูนย์ดูแลเด็กที่ออกแบบด้วยแนวคิดกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กแหวกแนวตั้งอยู่ โดยสำนักงานออกแบบ FUKUSHIKEN, HIBINOSEKKEI และ Youji no Shiro รอให้เด็กเข้าไปทำความรู้จักกับพื้นที่เล่นนี้

สถาปนิกเลือกที่จะทำการบอกเล่าเรื่องราวไปพร้อมกับการเล่น เนื่องจากของย่านฮะรุมะโดยรอบเป็นย่านอุตสาหกรรมเก่าที่ดำเนินกิจการโรงหล่อเครื่องครัว การสร้างเรื่องราวจึงเติมเข้าไปในพื้นที่ภายในอย่างแนบเนียน พื้นที่ใช้สอยแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นแรกมีการสร้างเตาไฟ หลุมทราย อันมีที่มาจากไฟ และหลุมทรายที่แทนทรายเป็นลูกบอลหลากสี  2 ส่วนเป็นวิธีการหล่อเครื่องครัวอย่างกระทะ หม้อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่มาของย่าน พร้อมกับให้เด็กสามารถเล่นไปกับมันได้ พื้นที่ส่วนนี้จะเชื่อมต่อกับโถงอเนกประสงค์ที่เป็นพื้นที่ดูและเด็ก ถัดจากจากส่วนนี้ไปเป็นบันไดขึ้นไปยังชั้นที่ 2 ที่มีกิจกรรมหลักคือการเล่นของเด็ก  ทั้งผนังที่ออกแบบปีนได้ด้วยปุ่มสำหรับมือจับ ชั้นวางที่กลายบันไดปีนป่าย ออกแบบคานเจาะรูแขวนไว้กลางห้อง ให้แขวนชิงช้าในเวลาที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ของโถงนี้

หากลองไล่ดูแต่ละกิจกรรม มันถูกออกแบบเพื่อความสมดุลของผัสสะเด็กในหลายด้านของการรับรู้ ไม่ว่าจะเป็น ทางการสัมผัส การรู้รส การได้ยิน การได้กลิ่น การรับรู้ทางตา

ทุกอย่างถูกกระตุ้นผ่านการออกแบบสถาปัตยกรรม ทำให้สถาปัตยกรรมเล่นได้ เมื่อนั้นสถาปัตยกรรมได้กลายจากพื้นที่เปล่าสู่สถานที่ของเด็กในที่สุด

 

อ้างอิง: e-ensha.comwww.dezeen.com

สาโรช พระวงค์

สถาปนิกผู้ริเป็นนักเขียน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนใจในสถาปัตยกรรมที่สร้างคุณภาพที่ชีวิตที่ดีขึ้น เลยมาเขียนเล่าให้ผู้อ่านเป็นเนืองๆ

See all articles