นศ.อเมริกันแปลงผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นวัสดุก่อสร้างราคาถูก

ในเขตเมืองร้อนชื้นเป็นภูมิประเทศที่มีทั้งแสงแดด ทั้งฝน มากมายพอให้ผลิตทรัพยากรเกษตรกรรม ทั้งเป็นอาหารและของใช้ต่างๆ เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นของโลก ผลผลิตเหลือใช้ทางการเกษตรในประเทศเหล่านี้เหลือเป็นจำนวนมาก ส่วนมากถูกแปรรูปเป็นปุ๋ยหรือไม่ก็เป็นเชื้อเพลิง คำถามต่อมานอกจากถูกกำจัดไปแบบนั้นแล้ว สามารถมีทางเลือกอื่นในการสร้างมูลค่าผลผลิตเหลือใช้เหล่านี้อย่างไรบ้าง

อีกคำตอบมันคือการแปรรูปไปสู่วัสดุก่อสร้างราคาถูก จากการวิจัยของนักศึกษาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยวิศวกรรม Riverside’s Bourns มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ ทีมวิจัยได้ทำการทดลองตั้งแต่ปี 2014 ในการสร้างแผ่นวัสดุจากแกลบ วัสดุเหลือจากการสีข้าวซึ่งมีมากในอุษาคเนย์ โดยปรกติแกลบเหลือใช้จะถูกนำไปเป็นปุ๋ย เชื้อเพลิง ซึ่งไม่ได้สร้างมูลค่ามากนัก การทดลองหาวิธีที่จะอัดมันเป็นแผ่นให้สามารถทั้งการให้แผ่นวัสดุนี้ไม่เป็นที่ต้องการของปลวก ทนต่อความชื้น เพื่อใช้เป็นฝาผนังบ้านสำหรับบ้านราคาถูกในประเทศฟิลิปปินส์ แทนแผ่นไม้อัดซึ่งแต่เดิมผลิตจากเศษไม้ ไผ่ ไม้มะพร้าว

แผ่นต้นแบบที่ทำการทดลองมีขนาด 4 ฟุต x 8 ฟุต หรือ 122×244 เซนติเมตร ตามมาตรฐานวัสดุแผ่นในท้องตลาด ด้วยราคา 7 ดอลลาร์ (ราว 240 บาท) ถ้าสามารถผลิตในระบบอุตสาหกรรมจะถูกลงกว่านี้ เหมาะกับเป้าหมายที่เป็นบ้านราคาถูกแน่นอน

อ้างอิง: inhabitat, newatlas

Tags

Tags: , ,

สาโรช พระวงค์

สถาปนิกผู้ริเป็นนักเขียน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนใจในสถาปัตยกรรมที่สร้างคุณภาพที่ชีวิตที่ดีขึ้น เลยมาเขียนเล่าให้ผู้อ่านเป็นเนืองๆ

See all articles