Ricult : เมื่อ Tech Startup จะแก้ปัญหาการเงินของเกษตรกรไทย

เรารู้กันดีว่าคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร แต่น้อยคนจะรู้และเข้าใจปัญหาที่แท้จริงของเกษตรกรว่าเพราะอะไรเกษตรกรไทยถึงไม่รวย และประสบปัญหาหนี้สินมากที่สุดอาชีพหนึ่ง

ปัญหาสำคัญเกิดจากการขาดเงินทุนที่ต้องใช้ซื้อเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย อุปกรณ์ เพราะไม่มีสินเชื่อในการกู้ยืมจากสถาบันทางการเงิน  ทำให้ลูกหลานเกษตรกรอย่าง อุกฤษ อุณหเลขกะ ซึ่งมีความรู้ด้านธุรกิจ ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)  Ricult  ในรูปแบบ  Tech Startup ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญอีก 2 ด้าน คือ

1) Machine Learning หรือ การให้โปรแกรมอิเล็กทรอนิกส์ทำความเข้าใจกับข้อมูลต่างๆ และสร้างวิธีการตอบสนองต่อข้อมูลนั้นขึ้นมาเอง

2) Predictive Analytics หรือการวิเคราะห์เพื่อทำนายผลจากการศึกษาข้อมูลในประเด็นต่างๆ

Ricult เป็นแอพพลิเคชั่นที่สร้างดัชนีชี้วัด (Credit Scoring) ใน 2 ประเด็นคือ เกษตรกรมีความตั้งใจที่จะชำระเงินคืนจากการกู้ยืมหรือไม่ และเกษตรกรมีความสามารถที่จะชำระเงินคืนหรือไม่ โดยการนำข้อมูลจากภาพพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรจากดาวเทียมย้อนหลัง 5  ปีมาวิเคราะห์เพื่อทำนายผลผลิตและคาดการณ์รายได้ให้กับเกษตรกรรายนั้น เพื่อใช้ประกอบการขอกู้ยืมเงินลงทุนจากสถาบันการเงิน

ผลการวิเคราะห์นอกจากช่วยพิจารณารายได้ในอนาคต ยังสามารถใช้วิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ เช่น วิเคราะห์แร่ธาตุและสารอาหารในดิน การคาดการณ์สภาพอากาศเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและประสิทธิภาพในการเพราะปลูกได้อีกด้วย

Ricult ถูกนำไปทดลองใช้กับเกษตรกรในประเทศปากีสถาน โดยทำให้เกษตรกรได้รับสินเชื่อไปแล้วกว่า 170 ราย ซึ่งมีมูลค่าถึง 1 แสนดอลล่าสหรัฐ ซึ่งปัจจุบัน Ricult กำลังศึกษาและพัฒนาการใช้งานให้เหมาะกับเกษตรกรไทย

อ้างอิง: Ricult, Techsauce

บันทึก

บันทึก

Bhanond Kumsubha

ภานนท์ เคยฝันอยากทำงานภาคสังคมแต่ถูกคนรอบตัวตั้งคำถามว่า "แล้วจะมีอะไรกิน" เลยเลือกมาสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย เพราะคิดว่าเป็นจุดลงตัวระหว่าง "การมีกิน" กับ "การได้แบ่งปันกับคนอื่น" วันหนึ่งเมื่อแนวคิด "กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ที่ตอบโจทย์ของ "การมีกิน" กับ "การแก้ปัญหาสังคม" เริ่มเป็นรูปร่าง จึงอยากมีส่วนช่วยผลักดันให้คนที่มีฝันเหมือนๆ กัน ได้ทำฝันให้เป็นจริง

See all articles