The Youth Activity Center แปลงโรงงานเก่าเป็นศูนย์กิจกรรมเยาวชนกลางปักกิ่ง

การพัฒนาของเมืองใหญ่มีสิ่งที่ได้มาคือความเจริญ ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่ต้องแลกคือวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เปลี่ยนไป และในความเป็นจริงคือ...ต้องทำใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงให้ได้ แม้ว่าจะเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม แต่คำถามที่สำคัญกว่าคือเราจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราปล่อยให้มันเป็นไปตามยถากรรม หรือหาวิธีให้มันกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ดังเช่นชานเมืองเป่ยจวง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่สวยงาม มีภูเขาล้อมรอบ แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมทำให้เกิดโรงงานร้างจำนวนมากในเมืองนี้ ดังเช่นโครงการปรับปรุงโรงงานเก่าแห่งนี้ จากพื้นที่โครงการเดิมเป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร มันได้ถูกปรับเปลี่ยนให้มีความร่วมสมัย Rede Architects และ Moguang Studio คือสำนักงานสถาปนิกที่รับโจทย์ให้ออกแบบปรับปรุงโรงงานเก่าที่ร้างไปแล้วให้กลับมามีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งด้วยการเป็นศูนย์เยาวชน กิจกรรมใหม่ที่เสริมเข้ามามีทั้งร้านอาหาร ห้องเรียน ห้องประชุม และบ้านพักของผู้มาใช้โครงการ ตัวอาคารเป็นแบบโรงงานอุตสาหกรรมที่พบได้ชินตา มีลักษณะเป็นกล่องเรียบง่ายทึบตัน…

Continue ReadingThe Youth Activity Center แปลงโรงงานเก่าเป็นศูนย์กิจกรรมเยาวชนกลางปักกิ่ง

Mountain House in Mist ห้องสมุดกลางหุบเขาในจีน สถาปัตยกรรมใหม่ที่แทรกตัวอยู่ในวิถีเก่า

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เกิดจากฝีมือการออกแบบโดยสถาปนิกที่ได้เรียนในโรงเรียนสถาปัตยกรรม หรือผ่านการฝึกฝนในระบบตามมาตรฐานการศึกษา แต่มันเกิดจากฝีมือชาวบ้านที่ทำตามไปตามพลวัตรของถิ่นที่ ตามปากท้องของพื้นถิ่นนั้น ๆ ในทรรศนะของศาสตราจารย์เกียรติคุณอรศิริ ปาณินท์ สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือ สถาปัตยกรรมที่มีธรรมชาติของการดำรงชีวิตในแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการตีความเรื่องราวของสถาปัตยกรรมร่วมสมัยจากใจความของอดีตกาล จึงต้องตีความในมิติต่าง ๆ ทั้งทางด้านการวัฒนธรรม การตั้งถิ่นฐานของแต่ละชุมชนก่อนสกัดนำมาใช้ในงานออกแบบ ในพื้นที่อันทรงพลังของหุบเขาในเทศมณฑลหวู่อี่  เมืองจินหัว จังหวัดเจ้อเจียง ประเทศจีน ได้มีสถาปัตยกรรมขนาดเล็กแทรกอยู่ท่ามกลางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเดิมในหมู่บ้าน หากมองผ่าน ๆ จะเป็นเรือนยกใต้ถุนสูงแบบที่พบได้ในเรือนชาวไตทางจีนตอนใต้ แต่พอมองในรายละเอียด มันมีเรื่องราวมากกว่านั้น มันคือห้องสมุดชุมชนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างพื้นที่มีความสงบ เพื่อดึงดูดผู้คนเข้ามาจึงดึงดูดให้คนหนุ่มสาวและเด็ก ๆ กลับไปที่หมู่บ้านในภูเขามากขึ้น จากความต้องการนี้ Shulin…

Continue ReadingMountain House in Mist ห้องสมุดกลางหุบเขาในจีน สถาปัตยกรรมใหม่ที่แทรกตัวอยู่ในวิถีเก่า
Read more about the article Ruralation Library ศัลยกรรมบ้านดินเก่าให้มีวิญญาณใหม่เป็นห้องสมุดในหมู่บ้านไต๋เจียซาน ประเทศจีน
桐庐莪山畲族先锋云夕图书馆

Ruralation Library ศัลยกรรมบ้านดินเก่าให้มีวิญญาณใหม่เป็นห้องสมุดในหมู่บ้านไต๋เจียซาน ประเทศจีน

สถาปัตยกรรมต่างมีเวลาของมันเอง เมื่อถูกสร้างในช่วงเวลาหนึ่งก็เหมาะกับการใช้งานในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อกาลเวลาทำงานผ่านไป สถาปัตยกรรมนั้นก็อาจไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาใหม่ และทำให้เป็นสาเหตุที่สถาปัตยกรรมต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวมันเอง ไม่ต่างอะไรกับการผ่าตัดหรือศัลยกรรมให้ตัวมันเองมีสังขารที่เหมาะกับยุคสมัยได้ ในพื้นที่ชนบทของประเทศจีน เมืองถงลู่ มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ฉี ในหมู่บ้านโบราณเรียงรายไปด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เรียกว่าบ้านดิน บ้านดินเหล่านี้ก่อสร้างด้วยเทคนิคก่อสร้างแบบอิฐดินดิบ หรือที่เรียกว่า Adobe เป็นวัฒนธรรมการก่อสร้างร่วมกันที่เราพบได้ทั่วไปในจีน เนื่องจากบ้านดินเหล่านี้มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี หลายหลังไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยในปัจจุบันแล้ว การตามหาการใช้สอยใหม่ก็เปรียบได้กับการหาวิญญาณใหม่ให้ร่างเดิมที่เคยหมดลมหายใจไปแล้ว คำถามคือวิญญาณแบบไหนที่เหมาะกับบ้านดินอายุเป็นศตวรรษเหล่านี้ อีกหนึ่งคำตอบปรากฏในหมู่บ้านไต๋เจียซาน เมืองอี้ซาน ได้ทำการเข้าไปศัลยกรรมบ้านดินเก่าให้มีวิญญาณใหม่เป็นห้องสมุด จากบ้านดิน 2 หลังที่อยู่ใกล้กัน ถูกปรับเปลี่ยนการใช้สอยจากพื้นที่ที่เคยใช้พักอาศัยให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ รองรับการใช้สอยใหม่ ทั้งส่วนอ่านหนังสือ ห้องประชุมในชุมชน คาเฟ่…

Continue ReadingRuralation Library ศัลยกรรมบ้านดินเก่าให้มีวิญญาณใหม่เป็นห้องสมุดในหมู่บ้านไต๋เจียซาน ประเทศจีน

โรงเรียนอนุบาลเจียงซู เป่ยชา พื้นที่แห่งจินตนาการและการเรียนรู้

ความเฉพาะเจาะจงของสถาปัตยกรรมสำหรับการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้มีความแตกต่างจากงานสำหรับผู้ใหญ่อย่างเห็นได้ชัดในประเด็นพื้นที่แห่งจินตนาการ สิ่งเหล่านี้สามารถพบได้จากสีสัน ขนาด สัดส่วน แต่การตีความพื้นที่สำหรับเด็กไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว มันสามารถออกแบบได้หลากหลายวิธี และที่สำคัญ คือการทำความเข้าใจประเด็นของเด็กในแต่ละวัฒนธรรมอีกเช่นกัน ณ หมู่บ้านเป่ยชา มณฑลเจียงซู ประเทศจีน ปรากฏเหล่าก้อนอาคารสีเทาขาวตั้งอยู่ในเขตชนบท บนพื้นที่ไร่นาของหมู่บ้าน แม้จะดูด้วยสายตาจากระยะไกลจะคล้ายกับเป็นหมู่บ้านขนาดย่อม แต่มันคือโรงเรียนสำหรับเด็ก คือโรงเรียนอนุบาลเจียงซู เป่ยชา ที่นี่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีรูปแบบคล้ายหมู่บ้านขนาดเล็กในระดับบ้านประจำตระกูลแบบวัฒนธรรมจีนที่นิยมปลูกให้บ้านแต่ละหลังล้อมกับคอร์ตกลาๆง สถาปนิกที่รับหน้าที่ออกแบบงานนี้คือ Crossboundaries พวกเขาเริ่มงานในปี 2015 ด้วยแนวคิดของการสร้างพื้นที่เรียนรู้รูปแบบใหม่ แต่อิงกับภาษาของพื้นถิ่นแบบจีนเข้าด้วยด้วยกัน การวางผังอาคารเป็นลักษณะการวางแบบเป็นกลุ่ม แบบบ้านล้อมลาน เมื่อเข้ามายังโรงเรียนนี้…

Continue Readingโรงเรียนอนุบาลเจียงซู เป่ยชา พื้นที่แห่งจินตนาการและการเรียนรู้

Fairyland ภัตตาคารเทพนิยายสำหรับครอบครัวแห่งแรกในต้าเหลียน ประเทศจีน

ในการออกแบบสถาปัตยกรรม การใช้สอยของเด็กและผู้ใหญ่จะแยกจากกันด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันจากวัย ยิ่งในวัยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงจุดที่หยุดเติบโต มีหลายสัดส่วนที่ต้องคำนึงถึงเสมอ เราจึงเห็นสถาปัตยกรรมในโลกของเด็กมีขนาดของห้อง เฟอร์นิเจอร์ที่มีสัดส่วนเฉพาะอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน ในครอบครัวที่มีเด็กนั้น ควรจะมีทางที่ใช้พื้นที่ร่วมกันได้ เพื่อสร้างสายใยความผูกพัน แต่ด้วยการออกแบบที่คิดหาวิธีสร้างกิจกรรมของเหล่าสมาชิกในครอบครัวได้หลอมรวมในพื้นที่เดียวกัน ณ เมืองต้าเหลียน ประเทศจีน สถาปนิกจากสำนักงาน Wutopia-lab ได้เสนอภัตตาคาร ที่มีพื้นที่รับประทานอาหารพร้อมสนามเด็กเล่นเพื่อสร้างความดึงดูดใจของครอบครัว โดยทางเจ้าของภัตตาคาร PACEE Education และ Fairyland ต้องการสร้างสถานที่ให้เด็กๆ เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ด้วยความบันเทิง ที่แห่งนี้จะเป็นภัตตาคารสำหรับครอบครัวแห่งแรกในจีนเลยทีเดียว สถาปนิกออกแบบให้ผู้เข้ามายังภัตตาคารโถงทางเข้าที่ออกแบบให้รู้สึกถึงความเป็นเทพนิยายด้วยโถงกลมที่มีแถบสีขาวแนวตั้งเพื่อแบ่งพื้นที่ภายนอกและในไปพร้อมกับเป็นจุดรับฝากรองเท้า ผ่านจากโถงนี้จะพบกับที่นั่งลูกค้า ทั้งแบบธรรมดาและห้อง VIP…

Continue ReadingFairyland ภัตตาคารเทพนิยายสำหรับครอบครัวแห่งแรกในต้าเหลียน ประเทศจีน
Read more about the article บ้านเอื้ออาทรในชนบทจีน ความลงตัวระหว่างโลกสถาปัตย์ งบประมาณรัฐ และหัวใจชุมชน
Processed with Snapseed.

บ้านเอื้ออาทรในชนบทจีน ความลงตัวระหว่างโลกสถาปัตย์ งบประมาณรัฐ และหัวใจชุมชน

ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพชีวิตของ ‘คนเมือง’ กับ ‘คนชนบท’ นับวันดูจะยิ่งลุกลามไปทั่วทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่กับประเทศผู้นำเศรษฐกิจอย่างแดนมังกร ที่ในหลายๆ หมู่บ้านตามซอกหลืบของชนบทนั้น ชาวบ้าน (ที่ตกขบวนความมั่งคั่ง) ต้องเผชิญกับวิกฤตด้านคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ลงทุกขณะ ปัญหาสังคมที่เรื้อรังมาเนิ่นนานนี้เป็นผลพวงมาจากการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินที่มุ่งเป้าไปเฉพาะตามเมืองใหญ่ ทำให้เกิดกระแสการอพยพของคนหนุ่มสาวในชนบทที่ละทิ้งบ้านเกิดไปเรื่อยๆ และไม่ได้มีเวลาเหลียวแหลที่จะกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง สตูดิโอออกแบบ Gad Line+ ในเมืองหางโจว เฝ้ามองสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นระหว่างเมืองกับชนบทมาตลอดหลายปี และเล็งเห็นว่าหากนักออกแบบเมืองไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อทุเลาปัญหาความไม่เท่าเทียมอันนี้ โครงสร้างสังคมในชนบทจีนคงจะถึงกาลพินาศ และส่งผลพวงความเดือดร้อนไปถึงระดับชาติเป็นแน่แท้ หลังจากทำการศึกษาวิจัยและลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านอยู่ร่วมปี สตูดิโอ Gad Line+ ได้เสนอแผนพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวคิดใหม่ให้กับเขตชนบทของเมืองหางโจว โดยมุ่งหวังจะยกระดับคุณภาพชีวิตของคนยากจนในระดับหมู่บ้านให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น เพราะทุกวันนี้สภาพบ้านเรือนและสุขลักษณะความเป็นอยู่ของชาวบ้านนั้นเข้าขั้นวิกฤตแล้ว โชคดีว่างานนี้พวกเขาได้รับงบประมาณสนับสนุนเต็มที่จากเทศบาลท้องถิ่น…

Continue Readingบ้านเอื้ออาทรในชนบทจีน ความลงตัวระหว่างโลกสถาปัตย์ งบประมาณรัฐ และหัวใจชุมชน

ต่อลมหายใจให้อดีต…เปลี่ยนอาคารเก่าเติมจิตวิญญาณใหม่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ

ปัญหาของการพัฒนาเมืองใหม่ทำให้บ้านเมืองเก่าที่ยังมีคุณค่าถูกทำลายไปอย่างง่ายดาย เพราะความไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการรักษาอัตลักษณ์จากอดีตให้มีลมหายใจในยุคปัจจุบันได้ ใจความสำคัญของการอนุรักษ์ไม่จำเป็นต้องเก็บแต่ความเก่าไว้ให้คร่ำครึเพียงอย่างเดียว แต่มันสามารถนำมาจับปรับปรุงให้เหมาะกับวิถีชีวิตใหม่ได้เช่นกัน อย่างการเติมวิญญาณใหม่ในร่างเก่าที่หมู่บ้านเจียงเฉิน ตำบลโกสุ้น  จังหวัดนานกิง ประเทศจีน โดยมีสำนักงาน Mix Architecture สถาปนิกจากนานกิงที่รับบทมาปรุงความเก่าให้กลมกล่อม โดยพวกเขาได้เข้าไปเปลี่ยนจากบ้านร้างในหมูบ้านเจียงเฉินให้เป็นพื้นที่สาธารณะในชุมชน ร่วมสร้างโปรแกรมใหม่บนพื้นที่เก่าที่ประกอบไปด้วย ห้องสมุด ห้องชา ห้องน้ำสาธารณะ บทสนทนาเก่าและใหม่ถูกเล่าผ่านการปะทะกันของการใช้สอยที่เชื่อมกับการใช้สอยใหม่ในบ้าน ความเก่าถูกขับออกมาให้ชัดเจนด้วยการนำวัสดุใหม่ให้บอกถึงกาลเวลาที่เกิดงานนี้ขึ้น มากกว่าจะใช้วิธีลอกเลียนทำเทียมของเดิม การออกแบบใหม่จึงลดข้อจำกัดของบ้านเก่าที่ขาดความเชื่อมโยงกับภายนอก เพราะเทคโนโลยีของยุคที่สร้างบ้านนี้ยังไม่สามารถทำได้ เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาช่วยจึงทำให้สถาปนิกตัดสินใจปรุงการใช้สอยจากบ้านส่วนตัวให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่น่าใช้งานมากขึ้น ด้วยเปลือกภายนอกที่ถูกเปลี่ยนไปเล็กน้อย ภายในห้องสมุด ส่วนทางเข้าเติมชั้นหนังสือภายในห้องสมุดที่เป็นห่อสเปซตรงกลาง เจาะช่องแสงด้านบน ดึงแสงธรรมชาติลงมาเพื่อเพิ่มชีวิตชีวาด้วยแสงธรรมชาติภายนอก ลดความกระด้างของบรรยากาศ พื้นที่คอร์ทตรงกลางบ้านซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความงามแบบบ้านจีนโบราณยังถูกเก็บไว้…

Continue Readingต่อลมหายใจให้อดีต…เปลี่ยนอาคารเก่าเติมจิตวิญญาณใหม่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ

ศิลปินจีนวัย 76 สร้างเมืองศิลปะโบราณให้เป็นสมบัติของชุมชนใน Yelang

เมื่อกาลผ่านพ้นไปเท่าไหร่ก็เหมือนเครื่องย้ำเตือนให้รู้ว่าชีวิตเหลือน้อยลงเท่านั้น หลายสิ่งที่อยากทำร่องลอยในหัวประดุจความฝัน หลายฝันที่เจือจางไปพร้อมกับข้ออ้างที่ว่าหมดเวลาทำสิ่งเหล่านั้นแล้ว แต่ก็มีบางคนที่ไม่ยอมให้ข้ออ้างเหล่านั้นมีผลกับความฝันของเขา นี่คงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นความฝันของใครหลายๆ คนที่กำลังท้อแท้ให้กลับมาทบทวนพลังสร้างสรรค์ของตัวเองใหม่ Song Peilun ศิลปินวัย 76 อดีตครูสอนศิลปะชาวจีนผู้สร้างดินแดนแห่งความฝันให้เป็นจริง ด้วยแรงบันดาลใจในวัยเด็ก ในหมู่บ้าน Meitan จังหวัด Guizhou ซึ่งผู้คนที่นั่นเป็นชุมชนโบราณ Yelang ที่มีวัฒนธรรม, การแสดง, งานศิลปะ, สถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองมากว่าสองพันปี รวมถึงการที่เคยเดินทางไปชม Crazy Horse อนุสรณ์สถานของคนพื้นเมืองที่รัฐ เซาท์ ดาโกต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้อาจารย์…

Continue Readingศิลปินจีนวัย 76 สร้างเมืองศิลปะโบราณให้เป็นสมบัติของชุมชนใน Yelang

A Thread of Hope ช่วยพ่อแม่เด็กหาย แม้ใจสลายแต่ยังความหวังยังมี

ปัญหาการลักพาตัวเด็กกำลังเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศจีน มีเด็กหายตัวไปหลายพันคนในแต่ละปี เฉพาะปี 2015 ปีเดียวก็มีเด็กหายถึง 59,007 คน สร้างความหวาดกลัวให้กับพ่อแม่ชาวจีนเป็นอย่างมาก และรัฐบาลจีนดูจะไม่สามารถจัดการอะไรได้ในเรื่องนี้ จะติดตามหาลูกเองก็ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร เพราะประเทศจีนกว้างใหญ่ไพศาลเหลือเกิน Bao Bei Hui Jia องค์กรไม่แสวงผลกำไรช่วยเหลือและให้ข้อมูลเด็กหายในประเทศจีน ร่วมกับ TBWA เอเยนซี่โฆษณา เมืองเซี่ยงไฮ้ จัดแสดงงานศิลปะแนว Installation ภายใต้ชื่อว่า A Thread Of Hope  ณ แกลอรี่ M50 แสดงภาพที่ถักทอจากเส้นด้ายหลากสีเป็นภาพเด็กหายและครอบครัว…

Continue ReadingA Thread of Hope ช่วยพ่อแม่เด็กหาย แม้ใจสลายแต่ยังความหวังยังมี

International Bamboo Architecture Biennale สถาปัตยกรรมถาวรจากไผ่ในจีน ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นความพยายามที่จะเป็นผู้นำในโลกการสร้างสรรค์มากกว่าเป็นประเทศที่รับผลิตเพียงอย่างเดียวแบบยุคก่อนของจีน จึงได้พัฒนาหมู่บ้านเล็กให้มีเรื่องราวของสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในงาน International Bamboo Architecture Biennale ในหมู่บ้านย่านชานเมืองมีการรวมตัวกันของเหล่าสถาปนิกชื่อเสียงก้องโลกที่มาร่วมกันสร้างสถาปัตยกรรมให้เป็นนิทรรศการถาวรในหมู่บ้านเบ๋าสี ณ มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน การรวมงานสถาปัตยกรรมครั้งนี้เป็นการลองหาคำตอบให้กับการใช้วัสดุดั้งเดิมในเอเชีย ให้ปรับใช้กับบริบทปัจจุบันได้อย่างบ้านไผ่ Energy Efficient Bamboo House โดย Studio Cardenas และยังมีอีกหลายงานที่น่าสนใจอย่างสะพานรูปทรงสุดหวือหวาแต่ทว่าทำจากไม้โดยใช้เทคนิคการเรียงไม้ธรรมดาให้ลื่นไหลไปกับความเคลื่อนไหวของน้ำด้านล่าง โดย Ge Quantao จากจีน หรือการใช้ไม้ให้ดูเรียบหรูจากวัสดุที่เราชินตาจากธรรมชาติในงาน Bamboo Product Research and Design…

Continue ReadingInternational Bamboo Architecture Biennale สถาปัตยกรรมถาวรจากไผ่ในจีน ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม