ศิลปิน Vhils กับงานศิลปะเพื่อแสดงคารวะแก่นักรบแนวหน้าด้านสาธารณสุขในโปรตุเกส

วิกฤตการณ์หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์มักทำให้เกิดวีรบุรุษที่เข้ามากู้ภัยพิบัตินั้นให้พ้นไปจากสังคม ซึ่งโดยมากคนที่จะถูกบันทึกไว้เพื่อการจดจำมักจะเป็นผู้นำหรือบุคคลสำคัญทางการเมือง มากกว่าประชาชนตัวเล็กที่บางครั้งอาจมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขเหตุการณ์ร้ายเหล่านั้นด้วยเช่นกัน แต่มักไม่มีใครจดจำ ผลงานจากความรับผิดชอบของพวกเขาพร้อมจะเลือนหายไปกับกาลเวลา ซึ่งในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 นี้เป็นอีกช่วงหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่โลกกำลังทำสงครามกับไวรัส ซึ่งในสงครามนี้ก็เกิดวีรบุรุษมากมาย ที่สำคัญพวกเขาไม่ใช่เหล่าผู้นำหรือมีบทบาทสำคัญทางการเมือง หากแต่เป็นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข คำถามคือ จะมีใครจดจำพวกเขาได้บ้างโดยเฉพาะเมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตนี้ไปแล้ว ยังมีศิลปินชาวโปรตุเกสคนหนึ่งที่จะช่วยสลักเรื่องราววีรบุรุษคราวนี้ไว้ให้เป็นที่จดจำ Alexandre Farto หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Vhils กับผลงานสตรีทอาร์ตที่ไม่เหมือนใครของเขา ด้วยการสร้างพื้นผิวบนผนังอาคารเป็นรูปหน้าคนบอกเล่าเรื่องราวสะท้อนสังคม ปรับเปลี่ยนมุมมองสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างปฎิสัมพันธ์กับชุมชน คล้ายการเขียนหนังสือด้วยภาพบนผนัง งานของเขาจัดเป็นส่วนผสมของงานประติมากรรม จัดเป็นเทคนิคคล้ายการประติมากรรมแกะสลักนูนต่ำ ซึ่งได้นำเสนอต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกที่นิทรรศการกลุ่ม VSP ในลิสบอนในปี 2550 และที่งาน Cans Festival…

Continue Readingศิลปิน Vhils กับงานศิลปะเพื่อแสดงคารวะแก่นักรบแนวหน้าด้านสาธารณสุขในโปรตุเกส

‘เภสัชฟลุคกี้’ สุทธิศักดิ์ จำปา ทำเรื่องสุขภาพและยาให้สนุกเข้าใจง่ายด้วย TikTok

ในช่วงเวลาของการกักตัวเองอยู่ในบ้านระหว่างสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดปีที่ผ่านมา นอกจากการดิ้นรนให้ตัวเอง ครอบครัว และสังคมอยู่รอดปลอดภัยจากแรงกระเพื่อมหนักๆ ของโรคเกิดใหม่นี้ รวมไปถึงการต้องยืนหยัดท่ามกลางความชะงักงันของหลายๆ ธุรกิจ ในอีกฟากฝั่งหนึ่ง ใครหลายคนหันมาปรับตัวกับอาชีพเดิมของตนด้วยมุมมองใหม่ๆ อีกหลายๆ คนค้นพบความสามารถฟ้าประทานที่แอบซ่อนอยู่ของตัวเองจนเกิดเป็นรายได้ทางรอง ในเวลาเดียวกันนี้ ก็มีคนอีกจำนวนหนึ่งที่นำความรู้ความสามารถที่ตัวเองมีมาส่งต่อเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมในวงกว้าง “เภสัชฟลุคกี้ หนึ่งนาทีนี้มีคำตอบแน่นอนค่ะ” คำทักทายสั้นๆ ของ สุทธิศักดิ์ จำปา หรือคุณฟลุคกี้ บนหน้าฟีด TikTok ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แพลตฟอร์มดังกล่าวที่ไม่ได้มีเพียงแค่ความสนุกสนานจากเหล่าสมาชิกที่งัดเอาสกิลการร้อง เต้น คัฟเวอร์บุคลิกท่าทางจนหลายคนเฉิดฉายในฐานะดาว TikTok เท่านั้น เพราะแอคเคาน์ @flukiie…

Continue Reading‘เภสัชฟลุคกี้’ สุทธิศักดิ์ จำปา ทำเรื่องสุขภาพและยาให้สนุกเข้าใจง่ายด้วย TikTok

สบู่ไลฟ์บอยส่ง HackWashing ตรายางสแตมป์มือพร้อมสบู่ในตัวช่วยอินเดียลดการติดเชื้อจากโควิด-19

อินเดียมีประชากร 1.3 พันล้านคน ถ้านับจำนวนมือก็มีจำนวนถึง 2.6 พันล้านมือ และ 2.6 พันล้านมือนั้นถูกใช้ในทุกกิจวัตรทั้งอาบน้ำ กินข้าว หยิบจับ รวมถึงทำพิธีทางศาสนาต่างๆ  โดยไม่ได้ผ่านการล้างมือที่ถูกสุขอนามัย เพราะชาวอินเดียกว่า 60% ล้างมือด้วยน้ำเปล่าเท่านั้นและไม่ใช้สบู่เลย ซึ่งพฤติกรรมนี้ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคร้ายแรง จึงไม่แปลกที่ประเทศอินเดียยังอ่วมกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19  โดยในแต่ละวันยังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่หลายหมื่นราย ทำสถิติยอดสะสมติดเชื้อพุ่งชนที่เกือบสิบล้านแล้ว และเทศกาลในอินเดียซึ่งกำลังเป็นสถานที่ที่ผู้คนจะมารวมตัวกันมากที่สุดในโลกก็มาถึง นั่นคือ เทศกาลมหากุมภะ เมลา (Maha Kumbh Mela Festival) พิธีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก…

Continue Readingสบู่ไลฟ์บอยส่ง HackWashing ตรายางสแตมป์มือพร้อมสบู่ในตัวช่วยอินเดียลดการติดเชื้อจากโควิด-19

Organ Story: เกิดเป็นอวัยวะต้องเจ็บปวดขนาดไหน

Splapp-me-do เป็นชื่อของ Glen Rhodes ศิลปินดิจิตอลอาร์ตชาวอังกฤษ ที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกและการออกแบบ เขายังชอบในงานสร้างสรรค์แอนิเมชั่นสั้นๆ แบบสมัครเล่นลงในสื่อออนไลน์เป็นประจำอีกด้วย ในสไตล์เฉพาะตัว ให้ภาพดิบๆ ตลกโปกฮา กระชากอารมณ์ผู้ชม เป็นตลกเจ็บตัว ด้วยภาพเขียนและการออกแบบตัวละครที่ไม่เน้นความประณีต แต่ต้องการสะท้อนความเสื่อมโทรมของชีวิตอย่างตรงไปตรงมา ไม่ต้องการตีความให้ลึกซึ้ง ดูแล้วเข้าใจได้ทันที ซึ่งไม่ว่าจะยอมรับหรือไม่ แอนิเมชั่นเรื่องนี้ก็นำเสนอสิ่งที่มีอยู่จริงในชีวิตประจำวันของหลายคน หรือบางทีก็รวมเราอยู่ในนั้นด้วย Organ Story เล่าเรื่องระบบการทำงานของอวัยวะภายในของมนุษย์คนหนึ่ง ที่ต้องเผชิญกับเคราะห์กรรมอย่างแสนสาหัสและยากจะหลีกเลี่ยง เนื่องจากเจ้าของร่างกายนั้นเองที่ใช้ชีวิตเสพสุขอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยไม่สนใจเรื่องสุขภาพอนามัย ซึ่งคงจะเป็นภาพเดียวกับชีวิตผู้คนในสังคมบริโภคที่ชอบใช้ชีวิตตอบสนองความต้องการและตามใจตัวเองมากกว่าสิ่งที่ควรจะเป็น คนเราบริโภคทุกสิ่งตามความอยาก โดยไม่เลือกว่าสิ่งเหล่านั้นจะมีคุณประโยชน์กับร่างกายหรือไม่ และด้วยพฤติกรรมเช่นนี้ก็แน่นอนว่า…

Continue ReadingOrgan Story: เกิดเป็นอวัยวะต้องเจ็บปวดขนาดไหน

‘ณัฐพล วาสิกดิลก’ The Arokaya การดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกคน

หากลองถอดความหมายตามหลักไวยากรณ์แล้ว คำว่า ‘อโรคยา’ หมายถึง ‘ความเป็นอโรค’ หรือ ‘ความไม่มีโรค' อันครอบคลุมไปถึงสุขภาพที่ดีทางกายและทางใจ ‘The Arokaya’ ที่มีความหมายตามคำข้างต้น เป็นคลินิกที่เปิดรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์แผนจีน การแพทย์แผนไทย และอายุรเวท ซึ่งดำเนินการโดย คุณหมอแดง - วีระชัย วาสิกดิลก ก่อนตกทอดมายัง คุณหมอนัท - ณัฐพล วาสิกดิลก ที่เขาไม่เพียงแต่จะสานต่อปณิธานของคุณพ่อในการ 'ช่วยสร้างประชากรที่แข็งแรง' เท่านั้น แต่คุณหมอยังใช้ช่องทางต่างๆ เพื่อส่งต่อองค์ความรู้ด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ…

Continue Reading‘ณัฐพล วาสิกดิลก’ The Arokaya การดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกคน