BookWorm Pavilion ห้องสมุดตัวหนอน เดินทางทั่วอินเดียเพื่อส่งเสริมการอ่าน

ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการศึกษา การอ่านจึงเป็นรากฐานที่สำคัญต่อมนุษย์ เราสามารถสร้างสรรค์และทำลายได้ด้วยความรู้ และการอ่านคือเครื่องมือที่ให้เราเข้าถึงความรู้ที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันสถาปัตยกรรมสำหรับการอ่านที่เราคุ้นเคย มักเจอรูปแบบที่มีความเป็นสถาบันสูง แฝงด้วยท่าทีที่เป็นทางการจนสร้างความรู้สึกข่มผู้ใช้งาน โดยเฉพาะเด็กที่มีสเกลเล็กกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเหล่าเด็กที่รักการอ่านเข้ามาใช้ห้องสมุดแบบเก่า มันดูไม่ชวนให้เข้าใช้งานเอาเสียเลย แต่มีอีกคำตอบสำหรับสถาปัตยกรรมเพื่อการอ่านจากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นการทดลองทางสถาปัตยกรรมที่มีคำตอบน่าสนใจ ในพื้นที่สวนของพิพิธภัณฑ์ Chhatrapati Shivaji Maharaj Vastu Sangrahalaya  หรือ CSMVS Museum ในเมืองมุมไบ ได้มีการสร้างศาลาแห่งการอ่านชื่อว่า ‘BookWorm’ แปลได้ตรงตัวก็คือหนอนหนังสือ ในนัยหนึ่งมันหมายถึงคนที่รักการอ่านจนฝังตัวไว้กับหนังสือ แต่ในนัยของการออกแบบ มันคือห้องสมุดเคลื่อนที่รูปทรงคล้ายตัวหนอนนั้นเอง จุดเริ่มต้นงานนี้มาจากที่สตูดิโอออกแบบจากอินเดีย NUDES…

Continue ReadingBookWorm Pavilion ห้องสมุดตัวหนอน เดินทางทั่วอินเดียเพื่อส่งเสริมการอ่าน

The Divide: การทดลองทางสังคมเผยความจริงของอินเดีย ‘ผู้ชายเป็นใหญ่เรื่องการเงิน’

แม้โลกเราจะวิวัฒนาการไปแค่ไหน  แต่เชื่อหรือไม่ว่าความเท่าเทียมกันทางเพศยังคงไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะประเทศอินเดีย ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสังคมที่ความเหลื่อมล้ำทางเพศมากที่สุดแห่งหนึ่งบนโลก ด้วยทัศนคติทางสังคมแบบ ‘สังคมปิตาธิปไตย’ หรือสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ มีอภิสิทธิ์เหนือสถานภาพทางเพศอื่นๆ ในขณะที่ผู้หญิงแทบไม่มีบทบาททางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเลย โดยเฉพาะเรื่องเงินๆทองๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของความเสมอภาค เนื่องในวันสตรีสากล  Dentsu Impact India จึงร่วมมือกับ Paytm ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์และอีคอมเมิร์ชรายใหญ่ในอินเดีย ได้ทำการทดลองทางสังคมหรือ Social Experiment แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่างชายและหญิงในเรื่องความรู้ทางการเงิน โดยนำชายหญิง 30 คนที่อายุ หน้าที่การงาน และภูมิหลังต่างกันมาร่วมการทดลอง โดยการให้ทุกคนเข้าแถวแนวเดียวกัน…

Continue ReadingThe Divide: การทดลองทางสังคมเผยความจริงของอินเดีย ‘ผู้ชายเป็นใหญ่เรื่องการเงิน’

Sangini House ในอินเดียผสานองค์ประกอบจากอดีตผ่านการดัดแปลงและออกแบบสู่ลมหายใจร่วมสมัย

สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเอเชียได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตกที่มีภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ในกำเนิดของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เกิดจากผลพวงของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้บ้านเรือนในเอเชียเปลี่ยนรูปแบบไปตามตะวันตก จากที่เคยเปิดรับแสงอาทิตย์ได้น้อยตามระบบโครงสร้างแบบดั้งเดิมที่เป็นผนังรับน้ำหนัก จึงหันมาเปิดรับแสงอาทิตย์มากขึ้นจากการนำกระจกมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม ทำให้สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเอเชียเปิดรับแสงอาทิตย์เข้ามาเต็มที่จนสูญเสียความสลัวแบบดั้งเดิม ทั้งที่หลายส่วนการใช้สอยไม่ได้ต้องการแสงมาก เพราะพื้นที่หลายส่วนของเอเชียมีแสงอาทิตย์ที่จัดจ้าเกินความต้องการ สถาปัตยกรรมจึงออกแบบให้มีแสงที่พอต่อการใช้สอยและปริมาณของแสงอาทิตย์ ปัญหานี้ยังรวมไปถึงอินเดียด้วยเช่นกัน มีอีกวิธีแก้ปัญหานี้จาก รัฐคุชราต อินเดีย โดยสถาปนิกจาก Urbanscape Architects และ Utopia Designs นำเสนอเรื่องราวจากสถาปัตยกรรมประเพณีอินเดียมาต่อยอดในการออกแบบอาคารสำนักงาน 8 ชั้น ของกลุ่มบริษัท Sangini ที่ตั้งอยู่ในเมืองสุหรัด ในย่านที่กำลังจะมีการเจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ การออกแบบให้เป็นอาคารสูงจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยในการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้สอย ลักษณะการใช้สอยโดยรวมเป็นสำนักงานที่เต็มไปด้วยพื้นที่ทำงาน ห้องประชุม พื้นที่ส่วนที่ต้องการแสงธรรมชาติเข้ามาได้ออกแบบให้เป็นผนังกระจกเพื่อรับแสงมาใช้ภายในเต็มที่…

Continue ReadingSangini House ในอินเดียผสานองค์ประกอบจากอดีตผ่านการดัดแปลงและออกแบบสู่ลมหายใจร่วมสมัย

The Punishing Signal ‘ยิ่งบีบแตร ยิ่งรอนาน’ จราจรมุมไบดัดนิสัยนักบีบแตรด้วยวิธีสุดกวนแบบเกลือจิ้มเกลือ

ประเทศอินเดีย มีสิ่งหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างจากประเทศอื่นๆ นั่นคือ 'เสียงแตรรถ' ที่บีบกันอย่างสนั่นหวั่นไหวแบบไร้เหตุผล ถนนโล่งก็บีบ แน่นก็บีบ จอดก็บีบ เร่งก็บีบ จนกลายเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง แต่ก็ใช่ว่าคนอินเดียทุกคนจะเห็นด้วยกับวัฒนธรรมนี้ เพราะการบีบแตรคือการสร้างมลภาวะทางเสียงที่ไม่ใช่แค่น่ารำคาญ แต่ฟังแล้วเครียด ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เป็นภัยต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย มุมไบ เป็นหนึ่งในเมืองที่มีเสียงดังที่สุดในโลก ชาวเมืองในมุมไบเองก็ติดพฤติกรรมการบีบแตรตลอดเวลา แม้สัญญาณไฟจะเป็นสีแดง! แต่ทางกฎหมายยังไม่มีบทลงโทษสำหรับผู้ขับที่บีบแตร ตำรวจจราจรมุมไบจึงร่วมกับเอเยนซี่โฆษณา FCB Interface คิดค้นบทลงโทษที่เป็นโซลูชันใหม่เรียกว่า The Punishing Signal เพื่อจัดการกับเสียงแตรที่เป็นภัยคุกคามนี้ ด้วยบทลงโทษปราบเซียนนักบีบคือ 'ยิ่งบีบแตร ยิ่งรอนาน'…

Continue ReadingThe Punishing Signal ‘ยิ่งบีบแตร ยิ่งรอนาน’ จราจรมุมไบดัดนิสัยนักบีบแตรด้วยวิธีสุดกวนแบบเกลือจิ้มเกลือ

Dastkar ชวนเหล่าศิลปินพื้นบ้านชาวอินเดียอัญเชิญเทพเจ้าบอกเล่าวิธีป้องกันภัยจากโควิด-19

เพื่อความปลอดภัยในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ประเทศอินเดียออกมาตรการล็อคดาวน์เมืองสำคัญเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด ถึงอย่างนั้นสถานการณ์ก็ยังไม่ได้ดีขึ้นนัก ล่าสุดจากสถิติเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 มียอดผู้ติดเชื้อทั้งหมด 8 ล้าน 3 แสนกว่าราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ล้าน 2 แสนกว่าราย นับเป็นตัวเลขที่น่าตกใจอย่างยิ่ง ขณะที่โลกยังไม่สามารถหาวัคซีนมาแก้ปัญหานี้ได้ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อและแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น วิธีการที่จะช่วยได้ซึ่งสังคมต่างรู้กันดีก็คือ การใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และเว้นระยะห่าง เป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้หากมีความสำนึกรับผิดชอบ แต่หากยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นทุกวันเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าสังคมอาจยังไม่ตระหนักเพียงพอ จึงจำเป็นต้องช่วยกันกระตุ้นเตือนให้เกิดสำนึกกันขึ้นอย่างเร่งด่วน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563…

Continue ReadingDastkar ชวนเหล่าศิลปินพื้นบ้านชาวอินเดียอัญเชิญเทพเจ้าบอกเล่าวิธีป้องกันภัยจากโควิด-19

หนุ่มวัย 23 ชาวอินเดียออกแบบ SOLO.O1 บ้านสามล้อเครื่องพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

ใครที่เคยไปเที่ยวอินเดียแบบติดดินสักหน่อยจะต้องรู้จักไอ้เจ้ายานพาหนะที่คนท้องถิ่นเรียกกันติดปากว่า 'ออโต้' (auto-rickshaw) ซึ่งก็คือตุ๊กตุ๊กในบ้านเรานั่นเอง ในเมืองใหญ่ เราจะเห็นออโต้สีเหลืองวิ่งพล่านกันเต็มถนน แต่ใครจะคิดล่ะว่า ออโต้คันเล็กกระจิริดจะสามารถถูกเนรมิตให้เป็นบ้านหลังหนึ่งได้... นอกจากเด็กหนุ่มที่ชื่อ Arun Prabhu สมัยที่เรียกสถาปัตย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยในเชนไน Arun ทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัยในเขตสลัมของเชนไนและมุมไบ แล้วเขาก็ค้นพบว่าการใช้พื้นที่ในย่านแออัดนั้นยังสามารถทำได้ดีกว่านั้นอีกมาก เพื่อที่อย่างน้อยคนยากไร้จะได้มีบ้านที่มีห้องน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในพื้นที่ของเขาเอง หลังจากเรียนจบ Arun ออกแบบและสร้างบ้านต้นแบบขนาด 36 ตารางฟุต ขึ้นมาหลังหนึ่ง ซึ่งบ้านที่ว่าก็คงไม่แปลกใหม่อะไร ถ้ามันไม่ได้สามารถเอาไปสวมไว้บนสามล้อเครื่องได้ (ย้ำว่าสามล้อ ไม่ใช่สี่ล้อแบบที่เราเห็นกันบ่อยๆ) ที่สำคัญบนพื้นที่เพียงแค่นั้น สถาปนิกหนุ่มน้อยวัยเพียง 23 ก็ใส่เข้าไปเต็มเหนี่ยว…

Continue Readingหนุ่มวัย 23 ชาวอินเดียออกแบบ SOLO.O1 บ้านสามล้อเครื่องพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

สบู่ไลฟ์บอยส่ง HackWashing ตรายางสแตมป์มือพร้อมสบู่ในตัวช่วยอินเดียลดการติดเชื้อจากโควิด-19

อินเดียมีประชากร 1.3 พันล้านคน ถ้านับจำนวนมือก็มีจำนวนถึง 2.6 พันล้านมือ และ 2.6 พันล้านมือนั้นถูกใช้ในทุกกิจวัตรทั้งอาบน้ำ กินข้าว หยิบจับ รวมถึงทำพิธีทางศาสนาต่างๆ  โดยไม่ได้ผ่านการล้างมือที่ถูกสุขอนามัย เพราะชาวอินเดียกว่า 60% ล้างมือด้วยน้ำเปล่าเท่านั้นและไม่ใช้สบู่เลย ซึ่งพฤติกรรมนี้ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคร้ายแรง จึงไม่แปลกที่ประเทศอินเดียยังอ่วมกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19  โดยในแต่ละวันยังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่หลายหมื่นราย ทำสถิติยอดสะสมติดเชื้อพุ่งชนที่เกือบสิบล้านแล้ว และเทศกาลในอินเดียซึ่งกำลังเป็นสถานที่ที่ผู้คนจะมารวมตัวกันมากที่สุดในโลกก็มาถึง นั่นคือ เทศกาลมหากุมภะ เมลา (Maha Kumbh Mela Festival) พิธีอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก…

Continue Readingสบู่ไลฟ์บอยส่ง HackWashing ตรายางสแตมป์มือพร้อมสบู่ในตัวช่วยอินเดียลดการติดเชื้อจากโควิด-19

The Health Purse กระเป๋าเงินเพื่อชีวิต ควักแล้วคลำ ช่วยจำให้ตรวจเช็คมะเร็งเต้านม

เงิน…เป็นปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงปากเลี้ยงทอง จึงไม่แปลกถ้าหลายคนจะใส่ใจเรื่องเงินๆ ทองๆ มากกว่าสุขภาพ

ในประเทศอินเดีย ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงคือ ‘มะเร็งเต้านม’ ถึงแม้การป้องกันมะเร็งเต้านมจะทำได้ไม่ยาก แค่หมั่นตรวจเช็คมะเร็งเต้านมด้วยการคลำด้วยตัวเองเป็นประจำ แต่พวกเธอไม่ได้ให้ความสนใจ เพราะสิ่งที่เธอสนใจคือกระเป๋าใส่เงิน (more…)

Continue ReadingThe Health Purse กระเป๋าเงินเพื่อชีวิต ควักแล้วคลำ ช่วยจำให้ตรวจเช็คมะเร็งเต้านม

ไม่เปิดน้ำทิ้ง! อาบน้ำครั้งเดียวเท่ากับน้ำดื่มของคนครึ่งหมู่บ้านในอินเดีย

เราใช้เวลาอาบน้ำนานเท่าไหร่? แต่ละครั้งที่อาบใช้น้ำเท่าไหร่? และกี่ครั้งที่เราเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะอาบน้ำ? Hindustan Unilever Limited ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของโลก ในสาขาประเทศอินเดีย ริเริ่มโครงการ 'Start a Little Good' โดยมีแนวคิดว่า การเปลี่ยนแปลงโลกไปในทางที่ดีขึ้นไม่ใช่ปฏิกริยาแบบจุดระเบิดแต่คือปฏิกริยาแบบลูกโซ่ที่เริ่มจากห่วงเล็กๆ เรียงร้อยเข้าด้วยกัน โดยสนับสนุนให้ทุกคนเริ่มทำในสิ่งที่ดีจากสิ่งเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ลดการใช้พลาสติก การดูแลสุขอนามัยในครอบครัว และลดการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง Shower คือภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ ภายใต้แคมเปญ Start a Little Good เพื่อรณรงค์การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า…

Continue Readingไม่เปิดน้ำทิ้ง! อาบน้ำครั้งเดียวเท่ากับน้ำดื่มของคนครึ่งหมู่บ้านในอินเดีย

Project Free Period ประจำเดือนเปลี่ยนชีวิต จากหญิงขายบริการสู่การเรียนรู้อาชีพใหม่

ถ้าถามผู้หญิงเกี่ยวกับเรื่องวันนั้นของเดือนหรือประจำเดือน ผู้หญิงหลายคนคงจะตอบว่าไม่อยากจะมีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่รู้สึกไม่อิสระ ไม่สบายเนื้อสบายตัว น่ารำคาญ แต่ถ้าถามคำถามเดียวกันกับผู้หญิงที่มีอาชีพขายบริการทางเพศในประเทศอินเดีย พวกเธอจะดีใจ...อยากมีประจำเดือน และเฝ้ารอวันนั้นของเดือน เพราะสามวันของการมีประจำเดือนเท่ากับการไม่ต้องขายบริการทางเพศ เพราะในอินเดียถือว่าอาชีพขายบริการทางเพศเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฏหมายและสามารถทำได้ แต่อินเดียยังขึ้นชื่อในเรื่องของการกดขี่สิทธิทางเพศมาอย่างช้านาน ผู้หญิงที่ทำอาชีพขายบริการทางเพศจึงถูกบังคับให้บริการทางเพศทุกวันวันละหลายชั่วโมงจนแทบไม่ได้พัก ยกเว้นวันที่พวกเธอมี ‘ประจำเดือน’ เท่านั้น เพราะความเชื่อที่ว่าหญิงสาวที่เป็นประจำเดือนถือเป็นสิ่งสกปรก ผู้ชายจะไม่ซื้อบริการจากผู้หญิงที่มีประจำเดือนอยู่แล้ว  ดังนั้นในหนึ่งเดือนผู้หญิงเหล่านี้จึงมีโอกาสได้พักสามวัน จะทำอย่างไรให้สามวันนี้มีคุณค่ามากกว่าการได้พักจากการขายบริการทางเพศ? DB Mudra Group และ ผ้าอนามัย Stayfree ได้ร่วมแคมสร้างสรรค์แคมเปญชื่อว่า #ProjectFreePeriod เพื่อให้ทั้งสามวันของช่วงเวลาสามารถเปลี่ยนเป็นสามวันของการเรียนรู้ ด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมวิชาชีพ เพื่อช่วยผู้หญิงอาชีพขายบริการทางเพศเรียนรู้ทักษะการทำงานอื่นๆ…

Continue ReadingProject Free Period ประจำเดือนเปลี่ยนชีวิต จากหญิงขายบริการสู่การเรียนรู้อาชีพใหม่