‘ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี’ จอมยุทธ์เพลงขลุ่ย พลิกโฉมดนตรีไทยให้สง่างามในโลกร่วมสมัย

“ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี” หากเอ่ยชื่อนี้ หลายๆ คนก็คงจะนึกไปถึง ... หนึ่งศิลปินสมาชิกวงคาราบาวในยุคที่รุ่งเรืองที่สุด ... เจ้าของตำนานเสียงขลุ่ยในเพลง “เมดอินไทยแลนด์” ... ครูดนตรี-คนดนตรี ผู้สร้างปรากฏการณ์สำคัญให้แก่สังคมไทยในหลายวาระ แต่ที่บางคนอาจยังไม่รู้ก็คือ อาจารย์ธนิสร์ทุ่มเทเวลากว่า 20 ปีในชีวิต มุ่งมั่นพัฒนา “ขลุ่ยไทย” จน สามารถเล่นผสานกับเครื่องดนตรีสากลได้ทั่วโลก ที่สำคัญชายวัยหกสิบสี่ปีคนนี้ไม่เคยหยุดความฝันที่จะพา “เสนาะเสียงแห่งความเป็นไทย” ออกไปประกาศศักดาให้โลกเห็น วันนี้เราได้รับเกียรติพูดคุยกับ อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ในวันที่ท่านได้รับรางวัล SET เชิดชูผู้ทำความดีเพื่อสังคม…

Continue Reading‘ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี’ จอมยุทธ์เพลงขลุ่ย พลิกโฉมดนตรีไทยให้สง่างามในโลกร่วมสมัย

‘จิระนันท์ พิตรปรีชา’ สานฝัน สร้างชุมชน จากภาพถ่าย ‘สห + ภาพ’

จากความหลงใหลในการถ่ายภาพ โดยเฉพาะภาพถ่ายในรูปแบบ Photojournalist (ภาพถ่ายที่บันทึกเหตุการณ์จริง โดยไม่มีการจัดฉาก) จิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ นักเขียน และช่างภาพอิสระจึงได้ชักชวนเพื่อนสนิทมิตรสหายในแวดวงการถ่ายภาพ อาทิ คุณเกรียงไกร ไวยกิจ คุณธีรภาพ โลหิตกุล และคุณเพ็ญพัฒน์ มรกตวิศิษฏ์ ร่วมมือกันจัดตั้ง ชุมชนฅนถ่่ายภาพในนาม 'สห + ภาพ' เพื่อสร้างคุณค่าของ 'ภาพ 1 ภาพ' ให้มีคุณค่ามากกว่าการบันทึกเหตุการณ์ แต่เป็นการผลักดัน 'ภาพถ่าย' ให้มีคุณค่าเพื่อชุมชน…

Continue Reading‘จิระนันท์ พิตรปรีชา’ สานฝัน สร้างชุมชน จากภาพถ่าย ‘สห + ภาพ’

‘เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา’ ปรัชญาศาสนาสอดแทรกในทุกอณูของชิ้นงาน

ปัตตานี หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่หลายๆ คนมักจะส่ายหัวหลีกเลี่ยงการเดินทาง แม้กระทั่งคนท้องถิ่นบางคนก็เลือกที่จะย้ายถิ่นฐานจากปัตตานีไปเผชิญชีวิตในที่ที่เขาคิดว่าจะปลอดภัยกว่าแต่คุณเอ็มโซเฟียน เบญจเมธา (เอ็ม) ตัดสินใจเดินทางกลับไปยังถิ่นฐานบ้านเกิด เพื่อสร้างโรงงานผลิตเซรามิกภายใต้แบรนด์ 'เบญจเมธา' ธุรกิจครอบครัวที่สมาชิกทุกท่านมีความเสมอภาค ผ่านปรัชญาแนวทางการออกแบบที่นำหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมาถ่ายทอดลงบนชิ้นงานได้อย่างลงตัว Q : ก่อนจะก้าวมาเป็น เซรามิคเบญจเมธา คุณเอ็ม ทำอะไรมาก่อน A : ผมจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สาเหตุหลักที่เลือกเรียนสาขานี้ เพราะส่วนตัวชอบแนวคิดการทำงานที่ต้องใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งในส่วนของงานเชิงสร้างสรรค์ และการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ซึ่งจะช่วยให้เราไม่ฟุ้งไปกับการทำงานมากนัก หลังจากจบการศึกษาก็เดินทางไปศึกษาต่อด้านศิลปะประยุกต์ที่ L’Ecole des…

Continue Reading‘เอ็มโซเฟียน เบญจเมธา’ ปรัชญาศาสนาสอดแทรกในทุกอณูของชิ้นงาน

‘คนใจบ้าน’ กลุ่มสถาปนิกชุมชนกับการฟื้นฟูเมืองแบบยั่งยืน

(จากซ้ายไปขวา) ฐิติยากร นาคกลิ่นกูล, เอกสิทธิ์ ชูวงศ์, สามารถ สุวรรณรัตน์, ศุภกุล ปันทา, ทนวินท วิจิตรพร, ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร และ ขนิษฐา ศักดิ์ดวง (ถ่ายภาพโดย กรินทร์ มงคลพันธ์) ด้วยความตั้งใจเดียวกัน คือ ‘อยากเห็นเชียงใหม่ดีกว่านี้’ การรวมตัวและก่อตั้งกลุ่มคนทำงานเล็กๆ ที่ชื่อ ‘คนใจบ้าน’ จึงเกิดขึ้นเมื่อสองปีก่อน โดยมีเป้าหมายก็เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมไปถึงเขตวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง…

Continue Reading‘คนใจบ้าน’ กลุ่มสถาปนิกชุมชนกับการฟื้นฟูเมืองแบบยั่งยืน

‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ ครีเอทีฟเอเจนซี่ กลุ่มนักคิดเพื่อสังคม

“งานสร้างสรรค์ = งานดีดี ดีแรก คือ งานที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร น่าสนใจ และได้ผล ดีที่สอง คือ งานที่ดีงามและมีคุณธรรม มีประโยชน์มากกว่าแค่ตัวเราเอง” คำอธิบายสั้นๆ หน้าเฟซบุ๊คที่ดึงความสนใจให้เราอยากเข้าไปทำความรู้จักกับ ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ creative agency ที่พยายามทำงานให้มากกว่าทำ AD ทีมนี้ให้มากขึ้น ด้วยประสบการณ์ทำงานในสายโฆษณามาเกือบสิบปี สมาชิกทั้งห้าที่ประกอบด้วย ป๋อม ไชยพร (ป๋อม) บุญชัย สุขสุริยะโยธิน…

Continue Reading‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ ครีเอทีฟเอเจนซี่ กลุ่มนักคิดเพื่อสังคม

‘อารันดร์ อาชาพิลาส’ BE Magazine ไม่ใช่นิตยสารแต่คือการทำงานเพื่อสังคม

ต้นทุนชีวิตของคนเราเกิดมามีไม่เท่ากัน ในบรรดาคนที่มีต้นทุนชีวิตน้อยนิด จำนวนหนึ่งก็แกร่งพอที่จะฝ่าฟัน สร้างโอกาสให้ตัวเอง แต่อีกไม่น้อยที่ไม่อาจลืมตาอ้าปากไปให้พ้นจากความยากจนได้จริงๆ หากมีเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้พวกเขาได้ก้าวผ่านจุดเริ่มต้นไปได้ คุณว่ามันจะดีแค่ไหน เรารู้จักคุณต้น อารันดร์ อาชาพิลาส จากผลงานของเขา BE Magazine นิตยสารเพื่อสังคม ที่ไม่เพียงมีนำเสนอเนื้อหาว่าด้วยความเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนสังคมแล้ว ยังวางระบบการขายนิตยสารหลักอยู่กับผู้ด้อยโอกาสอีกด้วย BE Magazine เปิดโอกาสให้คนที่กำลังลำบากสามารถนำนิตยสารไปขายได้ พวกเขาอาจจะเป็นคนที่ตกงาน คนไร้บ้าน หรือเด็กเร่ร่อน ที่นี่มีงานให้เขาทำ เมื่อแรกเข้าจะได้รับการอบรม ได้ยูนิฟอร์ม และได้รับนิตยสารไปทดลองขายฟรี 30 เล่มแรก ขายในราคาเล่มละ 45…

Continue Reading‘อารันดร์ อาชาพิลาส’ BE Magazine ไม่ใช่นิตยสารแต่คือการทำงานเพื่อสังคม