My Grandpa’s Garden: เรื่องเล่าจากสวนของคุณปู่

สังคมมนุษย์วิวัฒนาการจากวิถีเกษตรกรรม ในตอนแรกนั้นเราไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีแปลกปลอมใด ๆ แต่เมื่อจำนวนประชาการเพิ่มขึ้นระบบการตลาดก็เข้ามา ทำให้วิถีเกษตรแบบดั้งเดิมก็เปลี่ยนไป เราได้ผลผลิตมากขึ้น เร็วขึ้น ทว่าเราก็สร้างปัญหาใหญ่ให้กับชีวิตและโลกที่เรารักด้วย ทั้งสารเคมีตกค้างในผักซึ่งทำให้เกิดโรคร้าย, คุณภาพดินที่เสื่อมลง, รวมถึงชีวิตต่าง ๆ และสภาวะแวดล้อมที่เจือปนกับมลพิษด้วย จะเรียกว่าเป็นการแสดงความรักต่อชีวิตได้อย่างไร หนังสารคดีเรื่อง “My Grandpa’s Garden กำลังพาเราไปเรียนรู้การเกษตรแบบดั้งเดิมซึ่งใกล้ชิดและเป็นกันเองกับธรรมชาติอย่างที่สุด ปู่วัย 85 ผู้เงียบเหงาและความโศกเศร้ากับการจากไปของภรรยาสุดที่รักได้หวนมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่งเมื่อ ‘มาร์ติน’ หลานชายมาเยี่ยมและชวนให้กลับสู่รากเดิมแห่งความรัก นั่นคือวิถีเกษตรที่สืบสานต่อกันมาหลายชั่วอายุคน และเพราะคุณปู่ไม่รู้ว่าชีวิตจะจากไปเมื่อไหร่ ในระยะเวลาที่อยู่กับหลาน ท่านจึงตั้งใจจะถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์เกี่ยวกับการปลูกพืชผักที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยคุณปู่ยังเด็ก ด้วยวิธีการดำเนินเรื่องแสนเรียบง่าย…

Continue ReadingMy Grandpa’s Garden: เรื่องเล่าจากสวนของคุณปู่

Food is Free: แจกฟรีพืชผัก แบ่งปันอาหารอินทรีย์ สร้างสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน

ก่อนหน้านี้เราเคยเสนอเรื่อง Kebun Kebun Bangsar  ในกัวลาลัมเปอร์มาแล้ว ซึ่งก็ดูเหมือนว่าเรื่องของ community garden นี้กำลังเป็นที่สนใจของหลายๆ เมืองทั่วโลก เพราะนอกจากจะเป็นการสนับสนุนให้แต่ละชุมชนสร้างเกษตรกรรมเล็กๆ ที่เป็นอิสระของตัวเองขึ้นมาแล้ว community garden ที่ว่าก็ยังช่วยก่อให้เกิด sense of community ท่ามกลางสภาพสังคมที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตแบบตัวใครตัวมันอีกด้วย Food is Free Project จัดเป็น community garden อีกหนึ่งแห่งเหมือนกัน แต่ในรายละเอียดที่น่าสนใจก็คือ Food is…

Continue ReadingFood is Free: แจกฟรีพืชผัก แบ่งปันอาหารอินทรีย์ สร้างสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน

LOCOMO ของเล่นรักษ์โลก เสริมจินตนาการ ให้เด็กกลับไปใกล้ชิดธรรมชาติอีกครั้ง

ในยุคดิจิตอลเช่นนี้ เด็กรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยถูกสอนให้คุ้นเคยกับเทคโนโลยี ของเล่นเสริมพัฒนาการต่างๆ ก็ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคปัจจุบัน บางครอบครัวก็สอนให้ลูกเล่นเกมทางสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตแทนของเล่นฝึกทักษะแบบเก่าๆ ซึ่งถ้าเล่นไปนานๆ อาจส่งผลให้เด็กขาดพัฒนาการด้านอื่นๆ อาทิ ทักษะทางสังคมหรือทักษะทางอารมณ์ได้ รวมไปถึงส่งผลต่อสุขภาพทางสายตาของเด็กอีกด้วย LOCOMO™ เป็นหนึ่งในของเล่นเสริมพัฒนาการและสร้างทักษะสำหรับเด็กที่มีคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจทีเดียว พัฒนาขึ้นโดย​บริษัท Taksa Toys (ทักษะ ทอยส์) ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ของเด็กจากการเล่นของเล่น LOCOMO ถูกออกแบบขึ้นด้วยคอนเซ็ปต์การ​เรียนรู้​เเบบ​ ​​WALDORF​ ​Education​​ ​ที่​เชื่อว่า​เด็ก​จะ​สามารถ​เรียนรู้​ผ่าน​การ​เล่น​เเละ​ประสบการณ์​จริง​ได้​ดีกว่า​การเรียน​ใน​ห้องเรียน​ มาในรูปแบบของของเล่นรูปสัตว์ตัวเล็กๆ ที่จะ​พา​เด็กๆ​ ​ออกไป​สนุก​กับ​การ​สํารวจ​เเละ​สังเกต​ธรรมชาติ​รอบๆ​ ตัว​ ​เก็บ​กิ่งไม้​ใบหญ้า​มา​สร้างสรรค์ของเล่นในแบบของตัวเอง ช่วยเสริมสร้าง​จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ​การ​สังเกต​ความ​เหมือน​และความต่าง​ อีกทั้ง​ยังช่วย​พัฒนาการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย​ ได้อีกด้วย ​ด้วยแนวคิดที่อยากให้เด็กๆ เห็นคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม LOCOMO จึงผลิตจากวัสดุ​ที่​เป็น​มิตร​กับ​สิ่งเเวดล้อม​ซึ่งก็​คือ​ ​PlanWood​™​ ​ที่​ผลิต​จาก​เศษ​ขี้เลื่อย​ไม้​ยางพารา​ที่​เหลือ​ทิ้ง​จาก​กระบวนการผลิต​ของ​ชิ้น​อื่น​ ​ผสม​กับ​ผงสี​ที่​ทำ​จาก​วัสดุ​ธรรมชาติ​ ​(​organic​ ​pigments​)​ ​ส่วน​​กาวที่ใช้ก็​​ปลอดภัย​และเป็นมิตร​กับ​สิ่งแวดล้อม​ ​(ec0​-​glue​) เช่นกัน นอกจาก LOCOMO แล้วทางบริษัทฯยังพัฒนาของเล่น Resources™…

Continue ReadingLOCOMO ของเล่นรักษ์โลก เสริมจินตนาการ ให้เด็กกลับไปใกล้ชิดธรรมชาติอีกครั้ง

‘ภัสสร์วี ตาปสนันทน์’ กับ FolkCharm Crafts แบรนด์เสื้อผ้าทอออร์แกนิกฝีมือช่างทอพื้นบ้าน

“เราพบความจริงที่ว่าโลกนี้มีคน 2 ประเภท หนึ่ง-คนที่รู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร สอง-คนที่ไม่รู้ แต่ว่าลองเสาะแสวงหา” ลูกแก้ว - ภัสสร์วี ตาปสนันทน์ บอกกับเราว่าเธอเป็นคนประเภทหลัง และแบรนด์เสื้อผ้าทอออร์แกนิกจากฝีมือช่างทอพื้นบ้านของเธออย่าง FolkCharm Crafts ก็เกิดขึ้นด้วยวิถีแบบเดียวกันนี้ นอกจากจะเป็นแบรนด์ที่มีจุดยืนชัดเจนในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับความต้องการของตลาดที่ลูกแก้วให้ความสำคัญมากพอๆ กับการสร้างรายได้ที่เป็นธรรมแก่ชาวบ้าน โดยไม่หลงลืมคุณค่าของภูมิปัญญาดั้งเดิม ทุกๆ ผืนผ้าที่เกิดขึ้นจากกระบวนการออร์แกนิกตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางของ FolkCharm Crafts ยังบอกเล่าเรื่องเล่าของชุมชนที่สร้างทุกผืนผ้าออกมาได้อย่างดี และการเดินทางในธุรกิจเพื่อสังคมของเธอแม้จะผ่านเส้นทางที่แสนขรุขระมาหลายต่อหลายครั้ง แต่ในความขรุขระนั้นก็ได้นำมาซึ่งเส้นทางสายใหม่ที่เรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยพลังที่เหลือล้นมากจริงๆ Q: คุณแก้วเริ่มสนใจเรื่องการพัฒนาสังคมมาตั้งแต่ตอนไหน? A: จริงๆ…

Continue Reading‘ภัสสร์วี ตาปสนันทน์’ กับ FolkCharm Crafts แบรนด์เสื้อผ้าทอออร์แกนิกฝีมือช่างทอพื้นบ้าน

‘อนุกูล ทรายเพชร’ กับธุรกิจเพื่อสังคม Folkrice แอพฯ ซื้อขายผลิตภัณฑ์อินทรีย์กับเกษตรกรโดยตรง

อนุกูล ทรายเพชร เริ่มต้นธุรกิจเพื่อสังคมของตัวเองในนาม Folkrice Ltd. ขึ้น เมื่อ 4 ปีก่อน โดยมีเป้าหมายคือการกระชับระยะห่างระหว่างเกษตรกรและประชาชน ผ่านแอพพลิเคชั่นที่ทำหน้าที่เป็นตลาดซื้อขายออนไลน์อันปราศจากพ่อค้าคนกลาง จนถึงปัจจุบัน เขาขยายขอบข่ายของสินค้าจากข้าวพื้นเมือง ไปสู่พืชพันธ์ชนิดต่างๆ เครื่องปรุงปลอดสารเคมี งานหัตถกรรมท้องถิ่น และจากผู้ผลิตเพียงไม่กี่รายในยุคเริ่มต้น ณ ตอนนี้ Folkrice Ltd. มีเครือข่ายเกษตรกรกว่าร้อยราย อีกทั้งยังทำงานร่วมกับองค์กรต้นน้ำในการพัฒนาเกษตรกรและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ บทสนทนาต่อจากนี้ ไม่เพียงจะถ่ายทอดแก่นทางความคิดของธุรกิจเพื่อสังคมแห่งนี้ แต่รวมไปถึงแรงบันดาลและความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม โดยมีปลายทางคือสุขภาพที่ดี เศรษฐกิจที่มั่นคง…

Continue Reading‘อนุกูล ทรายเพชร’ กับธุรกิจเพื่อสังคม Folkrice แอพฯ ซื้อขายผลิตภัณฑ์อินทรีย์กับเกษตรกรโดยตรง

Going Green, Living Bling: ดีเจฮิปฮ็อปปลูกฝังความกรีนแบบยั่งยืนให้ผู้คนในชุมชน

ลืมภาพเดิมๆ ของวัฒนธรรมฮิปฮ็อปกระแสหลักไปได้เลย เพราะฮิปฮ็อปในความหมายของ DJ Cavem Moetavation (หรือชื่อเดิม Ietef Vita) ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเงินตรา ยาเสพย์ติด อำนาจ และผู้หญิง แต่ Eco Hip Hop ของเขาคือสุขภาพ อาหาร สิ่งแวดล้อม ชุมชน และความยั่งยืน จากเด็กบ้านแตก ยากจน เรียนไม่จบ แต่เพราะพ่อที่เป็นตัวอย่างและสอนให้เขามองโลกในแง่ดี DJ Cavem จึงใช้เสียงดนตรีเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและแทนที่ความหิวโหยด้วยเสียงหัวเราะ ทั้งสองสิ่งนี้ยังมีอิทธิพลต่อทัศนคติและแนวคิดทั้งในการทำงานและดำรงชีวิตของเขาในฐานะศิลปิน…

Continue ReadingGoing Green, Living Bling: ดีเจฮิปฮ็อปปลูกฝังความกรีนแบบยั่งยืนให้ผู้คนในชุมชน

Vegeo Vegeco คอนเซ็ปต์ร้านชำยุคโมเดิร์นเพื่อวิถีชุมชนและสุขภาพ

‘ร้านชำแถวบ้าน’ เคยเป็นธุรกิจท้องถิ่นที่คุ้นตาพวกเรา ก่อนที่ยุคแห่งซูเปอร์มาร์เก็ตและแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อจะเข้ามากลืนกินลมหายใจของพวกมันไปจนหมด ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศที่รักความเป็นท้องถิ่นมากๆ อย่างญี่ปุ่น ที่ในอดีตนั้นแต่ละชุมชนของพวกเขาก็เคยมีร้านผักผลไม้ประจำถิ่นที่เรียกว่า ‘Yaoya’ ปรากฏอยู่ทั่วไปบนท้องถนน เป็นร้านชำแบบที่ใครๆ ก็รู้จักในฐานะแหล่งจำหน่ายผักผลไม้ปลอดสารจากชาวไร่ชาวนาในละแวกใกล้กัน แต่เมื่อกาลเวลาหมุนเวียนไป ทุกวันนี้ร้าน Yaoya ก็กลับกลายเป็นเสมือน ‘ของหายาก’ สำหรับคนญี่ปุ่นไปแล้ว (ไม่ต่างจากร้านชำอาเฮียอาแปะในบ้านเรา) ซ้ำร้ายยังถูกละเลยมองผ่านจากชาวเมืองยุคใหม่ ที่ต่างก็หันไปเสพติดกับวิถีของซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นใต้ดิน (ชั้นอาหาร) อันเต็มไปด้วยสิ่งล่อตาและโปรโมชั่นล่อใจ น่าดีใจว่าเมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ประกอบการสร้างสรรค์รายหนึ่งบนเกาะคิวชู ที่ได้นำแนวคิดการออกแบบและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเติมเชื้อไฟให้กับวิถีการบริโภคสินค้าปลอดสารฯ จากชาวไร่ในสไตล์ดั้งเดิม  ธุรกิจของเขาใช้ชื่อว่าเท่ๆ ว่า Vegeo Vegeco เริ่มต้นมาจากการทำแพลทฟอร์มออนไลน์เพื่อจำหน่ายและจัดส่งผลผลิตการเกษตร…

Continue ReadingVegeo Vegeco คอนเซ็ปต์ร้านชำยุคโมเดิร์นเพื่อวิถีชุมชนและสุขภาพ