Okewa Recycled Line คอลเล็กชั่นเสื้อกันฝนกันลมดีไซน์สวยจากขยะขวดพลาสติก

Ellen McArthur Foundation คาดการณ์ไว้ว่า ภายในปี 2050 ในมหาสมุทรจะมีปริมาณของพลาสติกมากกว่าสิ่งมีชีวิตทางทะเล เราคงไม่ปฏิเสธว่าการทำนายดังกล่าวคงจะทำให้ใครหลายคนรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ กับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ทีมออกแบบกลุ่มเล็กๆ ในเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์อย่าง Okewa ก็เช่นกัน พวกเขาไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ได้เปลี่ยนวิกฤตดังกล่าวให้กลายเป็นโอกาสในการช่วยโลกด้วยการสร้างสรรค์สิ่งที่สามารถใช้งานได้ เป็นประโยชน์ แถมยังสวยงามจนน่าจับจองเป็นเจ้าของจากกองขยะพลาสติกเหล่านี้ Okewa ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 โดยคู่สามีภรรยา Nick และ Nevada Leckie เป็นแบรนด์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องการออกแบบและผลิตเสื้อกันฝน ซึ่งมีจุดเด่นอยู่หลายอย่าง ตั้งแต่แนวคิดในการทำงานที่พวกเขาสนใจในประเด็นของสภาพภูมิอากาศอันมีผลต่อเนื่องไปถึงลักษณะของผู้คนและวัฒนธรรมของเมืองนั้นๆ…

Continue ReadingOkewa Recycled Line คอลเล็กชั่นเสื้อกันฝนกันลมดีไซน์สวยจากขยะขวดพลาสติก

Be The Generation to End Plastic Waste in Ocean: เจนเนอเรชั่นใหม่ไร้พลาสติก

บนเกาะอีสเตอร์ดินแดนที่งดงามและชวนพิศวงกับประติมากรรมโบราณ รูปหน้ามนุษย์โมอาย (Moai) เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศชิลี ซึ่งในแต่ละปีมีผู้คนไปเยี่ยมชมบรรยากาศธรรมชาติ ชายหาด และท้องทะเลจำนวนมาก แต่ก็มีบางสิ่งที่น่าพิศวงไม่แพ้กัน นั่นก็คือซากขยะพลาสติกที่กองเกลื่อนกลาดริมหาดทราย โดยไม่ต้องสืบค้นหาผู้สร้าง เพราะเป็นที่รู้กันดีอยู่ว่าที่ไหนมีคนที่นั่นมีขยะ แต่ก็ยังมีสิ่งชวนพิศวงอีกเรื่องด้วยนั่นคือ มีชายคนหนึ่งอุทิศชีวิตตัวเองเก็บขยะเหล่านั้น เพื่อรักษาสภาพธรรมชาติให้งดงาม นี่เป็นเรื่องเล่าชีวิตของเขาผู้นั้น Francis Picco ปี 1989 เกือบ 30 ปีมาแล้ว Francis Picco ชาวฝรั่งเศสผู้เดินทางมาท่องเที่ยวที่เกาะอีสเตอร์นี้ และเขาได้พบรักกับสาวบนเกาะ Ida Hucke Atan  ไม่เพียงมีความรักและสร้างครอบครัวลงหลักปักฐาน…

Continue ReadingBe The Generation to End Plastic Waste in Ocean: เจนเนอเรชั่นใหม่ไร้พลาสติก

สุดยอดคุณหมอจากอินโดนีเซีย ให้คนไข้จ่ายค่ารักษาด้วยขยะพลาสติก!

ต่อไปนี้คือเรื่องราวของคุณหมอชาวอินโดนีเซียท่านหนึ่ง ที่หวังจะยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว! นกตัวแรกเกี่ยวกับการกระจายบริการทางการแพทย์ให้ไปถึงคนยากจน ส่วนนกตัวที่สอง คือการสร้างจิตสำนึกเรื่องขยะพลาสติกล้นโลก ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า อินโดนีเซียนั้นเป็นประเทศที่มีอัตราความเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ถือเป็นอันดับสองของทวีปเอเชีย (ส่วนประเทศไทยติดอันดับหนึ่ง!) กล่าวคือ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนนั้นสูงมาก และประชากรที่มีฐานะยากจนก็มีอยู่เป็นจำนวนมากกว่าประชากรที่มีฐานะร่ำรวยหลายเท่า โดยปัญหาหลักอย่างหนึ่งก็คือความลำบากในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เพราะติดขัดเรื่องไม่มีเงินจ่ายค่ายาและค่ารักษา ในขณะเดียวกัน อินโดนีเซียก็เป็นประเทศที่ติดอันดับเรื่องมีแม่น้ำสกปรกที่สุดในโลก และมีขยะพลาสติกปริมาณมหาศาลเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศจีน (หลายคนอาจเคยผ่านตากับภาพขยะลอยฟ่องในท้องทะเลที่ถูกแชร์ในโลกโซเชียลกันมาบ้างแล้ว) ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียก็มิได้นิ่งนอนใจและตั้งเป้าหมายที่จะลดขยะให้ได้ 70% ภายในปี 2025 ด้วยเหตุนี้เอง คุณหมอ Yusuf Nugraha…

Continue Readingสุดยอดคุณหมอจากอินโดนีเซีย ให้คนไข้จ่ายค่ารักษาด้วยขยะพลาสติก!

ศิลปิน Bodalo II ชวนเที่ยวสวนสัตว์(ขยะ)ขนาดใหญ่ ‘Wild Wild Waste’

อริสโตเติลเชื่อว่าความโศกเศร้าจะช่วยชะล้างจิตใจมนุษย์ได้ คงคล้ายกับการพาความรู้สึกไปวิ่งเล่นกับความกลัวและความสงสารแล้วผ่านออกมาใสปิ๊งเหมือนไปทำดีท็อกซ์ล้างพิษออกจากร่างกาย คงมีศิลปินหลายคนเชื่อแบบนั้นและสร้างงานสะเทือนใจให้กับการรับชม บางทีพวกเขาอาจหวังไปไกลนั้นว่าผลงานของตนจะช่วยขัดเกลาสังคมให้เกิดความคิดใหม่ในการแก้ปัญหาที่รายล้อมอยู่ Bodalo II ศิลปินชาวโปรตุเกสก็คงจะเช่นกัน Bodalo II สนใจในการนำเอาขยะจากวิถีชีวิตปัจจุบันมาสร้างผลงานอยู่เสมอ และโดยมากก็จะเป็นในรูปของสัตว์ป่าทั้งหลายที่กำลังเดือดร้อนจากวิถีบริโภคของมนุษย์นั่นเอง เพื่อเป็นการตอกย้ำคนเราให้เห็นว่าเราได้ทำร้ายพวกเขาเหล่านั้นอย่างไรบ้าง ซึ่งหลายชิ้นงานของเขาเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าช่างเป็นโศกนาฏกรรมที่งดงามเหลือเกิน อย่างเช่นผลงานชิ้นนี้ ‘wild wild waste’ เขาจัดแสดงประติมากรรมร่วมสมัยขึ้นในโรงแรมร้างในลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในนามของ just kids ซึ่งเป็นสตูดิโอที่ให้การสนับสนุนกลุ่มศิลปินและโปรโมทงานสร้างสรรค์ทั่วโลก โดยการสนับสนุนของ zappos  บนพื้นที่ 10.00 ตารางฟุตที่รกร้าง ถูกเปลี่ยนให้เป็นสวนสัตว์ (ขยะ)…

Continue Readingศิลปิน Bodalo II ชวนเที่ยวสวนสัตว์(ขยะ)ขนาดใหญ่ ‘Wild Wild Waste’

Metamorphosis: ว่าด้วยการกลายพันธุ์ของสัตว์ป่าในสวนพฤกษศาสตร์

จะแปลกใจไหมหากเราเดินเข้าไปในสวนพฤกษศาสตร์ที่ควรมีดอกไม้และพันธุ์พืชไว้จัดแสดง แล้วบังเอิญไปพบกับสัตว์ป่าแปลกๆ รวมอยู่ด้วย สมมติว่าเป็นเรื่องจริงคงเป็นประสบการณ์อันวิเศษสุดที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างเป็นกันเอง  สำหรับนักท่องเที่ยวแนวรักธรรมชาติและสัตว์ป่า คงจะมีความสุขจนหัวใจพองโต ทว่าในความเป็นจริงแล้วโลกอาจไม่มีพื้นที่สวยสดเช่นนั้นให้ชื่นชมมากมายนัก เพราะธรรมชาติถูกทำให้แปดเปื้อนด้วยสารพิษและเศษซากขยะพลาสติกที่คนเราสร้างขึ้นและทิ้งขว้างอย่างไม่รับผิดชอบ มีแต่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนน่าเป็นห่วงและหากเราช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในวันนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ทันเวลาหรือไม่ Sayaka Ganz ศิลปินเชื้อสายญี่ปุ่น อาศัยอยู่ที่รัฐอินเดียนา สหรัฐอเมริกา เธอกับเพื่อนศิลปิน Aurora Robson และ Jim Merz  กำลังจัดแสดงนิทรรศการทางศิลปะเพื่อสื่อสารถึงภัยจากขยะพลาสติกในหัวข้อ 'Metamorphosis จากพลาสติกเหลือใช้กลายเป็นงานอาร์ต' ตั้งแต่ต้นปีถึงกลางปีที่ผ่านมาที่สวน Lauritzen ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์พฤกษศาสตร์ Omaha Botanical Center ในเนแบรสกา…

Continue ReadingMetamorphosis: ว่าด้วยการกลายพันธุ์ของสัตว์ป่าในสวนพฤกษศาสตร์

It’s plastic world: ขยะพลาสติก..ความจริงสุดสยองของโลกมนุษย์

นี่คือหนังอะนิเมชั่นบรรยายให้เห็นวงจรชีวิตของพลาสติกที่เข้าไปทำลายระบบนิเวศทางทะเลอย่างเห็นภาพชัดเจน ด้วยการจับโลกมาเรียงบนลูกบาศก์สี่เหลี่ยมใสที่ส่องทะลุถึงทุกอณูของการเคลื่อนไหว ทั้งเปลือกโลกและกระแสน้ำรวมทั้งตัวตนของมลพิษที่กำลังทำลายโลกใบนี้อยู่ คงเป็นที่พอรู้กันจากสื่อประเภทต่างๆ มากมายถึงพิษภัยและการย่อยสลายยากของขยะพลาสติก แต่เป็นเรื่องดีที่จะเอาความคิดสร้างสรรค์มาขับเคลื่อนสร้างภาพให้เข้าใจง่ายอย่างเป็นรูปธรรม หลายคนอาจเคยไปนั่งเล่นริมหาดที่แสนสงบแล้วสังเกตเห็นขยะพลาสติกกองเกลื่อนอยู่ริมหาดด้วยความเคยชิน แต่ Andreas Tanner เก็บภาพทรงจำเหล่านั้นกลับมาคิดต่อที่บ้านแล้วพยายามค้นหาที่มาของมัน จนเห็นข้อเท็จจริงที่น่ากลัวว่าโลกขณะนี้ในท้องทะเลเต็มไปด้วยมลพิษ เขาหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าขยะเหล่านี้มีที่มาอย่างไรทำให้เกิดโปรเจ็กต์หนังเรื่องนี้ขึ้น ‘It’s plastic world’ แม้พลาสติกจะเป็นวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกให้ชีวิตแต่ก็เป็นที่น่าตกใจว่าเมื่อเราหาทางกำจัดมันไม่ได้ จำนวนของชยะจากพลาสติกมากมายถึง 12 ล้านตันถูกทิ้งลงทะเลในทุกปี และเจือปนไปกับท้องน้ำแบบไม่ย่อยสลาย และกลายไปอยู่ในท้องสัตว์น้ำมากมาย ทั้งขนาดใหญ่อย่างวาฬ และเข้าไปอยู่ในท้องสัตว์ขนาดเล็กทั้งปลาและนกทะเล ด้วยกระแสน้ำในท้องมหาสมุทรแยกชิ้นส่วนของพลาสติกจนกลายเป็นชิ้นเล็กจิ๋วที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า นักวิจัยทำการสำรวจใต้ท้องทะเลก็พบว่าลึกลงไปตามชายหาด10 เซนติเมตร ในหนึ่งตารางเมตร เกือบจะทั่วโลก จะพบเศษพลาสติกมากกว่า…

Continue ReadingIt’s plastic world: ขยะพลาสติก..ความจริงสุดสยองของโลกมนุษย์

กล้ากินป่ะ? พลาสติกฟิวชั่นฟู้ด เมนูสุดพิเศษ…เสิร์ฟร้อนๆ จากท้องทะเล

พลาสติกรมควัน แกงจืดขวดน้ำ ยำหนังยางทะเล คุณว่าถ้าเมนูอาหารของมนุษย์ล้วนมีแต่พลาสติก จะเป็นอย่างไร ? 5 มิถุนายนของทุกปี คือ วันสิ่งแวดล้อมโลก CREA ศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประเทศสเปน ได้ปล่อยคลิปวิดีโอ Piece of Cake ผ่านช่องทางออนไลน์ ที่ดูเผินๆเหมือนจะเป็นคลิปสอนทำอาหาร แต่อาหารเมนูต่างๆ ไม่ธรรมดา เพราะมันคืออาหารจากพลาสติกนานาชนิด เช่น ขวดพลาสติก ยางรัดลังเบียร์ ที่หนีบผ้าหลากสีสัน เพื่อเตือนสติคนทั่วโลกเรื่องขยะพลาสติก หากต้องกินพลาสติกเป็นอาหารเหมือนสัตว์ทะเลที่นึกว่าขยะพลาสติกในทะเลคืออาหารของพวกมัน แนวคิดของคลิปรณรงค์ชุดนี้ อยู่ภายใต้ธีมหลักของวันสิ่งแวดล้อมโลก…

Continue Readingกล้ากินป่ะ? พลาสติกฟิวชั่นฟู้ด เมนูสุดพิเศษ…เสิร์ฟร้อนๆ จากท้องทะเล

แกนั่นแหละ! แม่ค้า-ลูกค้าปะทะกันกลางตลาดสดชวน ‘ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก’

ขณะนี้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวเรื่องปัญหาขยะพลาสติกเป็นอย่างมาก รวมถึงประเทศไทยเองก็เช่นกัน แต่เพราะเมืองไทยใช้ถุงพลาสติกจนเหมือนเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว โดยเฉพาะในตลาดสด  ซึ่งจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ในช่วง 10 ปี ประเทศไทยมีปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วจำนวน 45,000 ล้านใบต่อปี โดยตลาดสดเทศบาลและเอกชน มีการใช้ถุงพลาสติกจำนวน 18,000 ล้านใบ คิดเป็นร้อยละ 40 ของปริมาณการใช้ถุงพลาสติกทั่วประเทศ ตลาดสดจึงเป็นอีกหนึ่งแห่งที่ต้องดำเนินการรณรงค์ สร้างความเข้าใจกับผู้ค้าและประชาชนในการลดการใช้ถุงพลาสติก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดกิจกรรม 'ทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก' ภายใต้โครงการ 'ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม'  ออกคลิปรณรงค์ลดรับ ลดให้…

Continue Readingแกนั่นแหละ! แม่ค้า-ลูกค้าปะทะกันกลางตลาดสดชวน ‘ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก’

พลาสติกเจ้าปัญหา! สะท้อนผ่านกำแพงเรืองแสงขนาดใหญ่ มันกำลังล้นโลกแล้วนะ

ในงานเทศกาล I Light Marina Bay ที่สิงคโปร์ เดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา กลุ่มศิลปิน Luzinterruptus ได้รับเชิญให้นำผลงานไปจัดแสดงด้วย มันเป็นกำแพงสะท้อนแสงสว่างวาบในยามค่ำคืนแต่อาจเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ในเวลากลางวัน เพราะวัสดุที่นำมาใช้สร้างกำแพงเหล่านั้นก็คือขวดพลาสติกที่ถูกใช้แล้วทิ้ง ตามนิสัยของผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลงานที่ทางกลุ่มศิลปิน Luzinterruptus ให้ความสนใจนำเสนอประเด็นปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์และจัดแสดงในรูปแบบที่แตกต่าง และที่งาน I Light Marina Bay นี้ก็ถูกกล่าวขานกันว่าเป็นงานแสดงศิลปะด้านแสงไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย แสงสว่างจากกำแพงขวดพลาสติกเหล่านี้กำลังช่วยสะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมให้โลกประจักษ์ไปพร้อมกัน ภายใต้สังคมบริโภคไม่ยากเย็นอะไรเลยที่พวกเขาจะหาหาขวดพลาสติกเหลือใช้มาได้มากมายขนาดนี้  เพราะทุกที่ล้วนแต่มีขยะเหล่านี้เหลือทิ้งไว้ในถังมากมายต่อวันทั้งที่บ้าน, ในโรงแรม, ร้านอาหาร,…

Continue Readingพลาสติกเจ้าปัญหา! สะท้อนผ่านกำแพงเรืองแสงขนาดใหญ่ มันกำลังล้นโลกแล้วนะ

Rubbish Cafe ให้คุณจ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่มด้วยขยะพลาสติก – กรี๊ด!!

Rubbish Café ชื่อนี้อาจจะฟังดูไม่ค่อยน่ากินเท่าไร แต่ถ้ารู้ที่มาที่ไปแล้วรับรองว่าเป็นใครก็ต้องอยากอุดหนุน เพราะชื่อ Rubbish ที่แปลว่า ขยะ ได้มาจากคอนเซ็ปต์ของทางร้านที่ให้ผู้บริโภคนำเอาขวดพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ไปใช้แทนเงินเพื่อแลกอาหารและเครื่องดื่ม! ไอเดียแจ่มๆ นี้เป็นของ Ecover บริษัทจากเบลเยี่ยมที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือน โดยสินค้าทั้งหมดของพวกเขาไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่ 'ทำความสะอาด' เท่านั้น แต่ยัง 'สะอาด' (clean) ในตัวเองอีกด้วย เพราะผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นของ Ecover ปราศจากสารเคมีที่จะส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนั้น ตอนนี้พวกเขาก็กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาขั้นตอนการผลิตที่เป็น zero-waste และ zero-carbon footprint รวมทั้งตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี…

Continue ReadingRubbish Cafe ให้คุณจ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่มด้วยขยะพลาสติก – กรี๊ด!!