BASE Office ตึกเก่าเล่าใหม่ในโตเกียวอายุเกือบ 60 ปีกับการใช้พื้นที่ร่วมกันของ 2 สำนักงาน

อีกวิธีในการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนคือการเลือกปรับปรุงอาคารเก่าให้มีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการใส่กิจกรรมใหม่ให้สัมพันธ์กับบริบทปัจจุบัน มันสามารถลดการใช้อิฐ หิน ปูนซีเมนต์ ช่วยชะลอให้เราทำลายโลกใบนี้น้อยลงด้วยกระบวนการ reuse โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น การพัฒนาด้วยการสร้างตึกมากมายจากยุคที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างมากในยุค 1960-1980 ทำให้การสร้างสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ขึ้นมาใหม่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก การทำความเข้าใจเรื่องปรับปรุงอาคารเก่า หรือ renovation จึงเป็นแนวทางที่ควรเลือกไว้พิจารณา ในละแวกอาซากุสะบาชิ ย่านไทโตะ กรุงโตเกียว เป็นย่านที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของการทำเครื่องหนังและวัสดุตกแต่ง แต่ในปัจจุบันได้เปลียนแปลงการใช้ที่ดินไปแล้ว จึงมีตึกที่ต้องเปลี่ยนการใช้งาน เช่นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กที่สร้างมาตั้งแต่ปี 1964 หลังนี้ ซึ่งกำลังจะถูกเปลี่ยนจากสำนักงานเก่าเป็นสำนักงานสถาปนิก 2 แห่ง จุดเริ่มต้นคือการสร้างโปรแกรมให้เป็นการแชร์กันของ 2 สำนักงาน…

Continue ReadingBASE Office ตึกเก่าเล่าใหม่ในโตเกียวอายุเกือบ 60 ปีกับการใช้พื้นที่ร่วมกันของ 2 สำนักงาน
Read more about the article Ruralation Library ศัลยกรรมบ้านดินเก่าให้มีวิญญาณใหม่เป็นห้องสมุดในหมู่บ้านไต๋เจียซาน ประเทศจีน
桐庐莪山畲族先锋云夕图书馆

Ruralation Library ศัลยกรรมบ้านดินเก่าให้มีวิญญาณใหม่เป็นห้องสมุดในหมู่บ้านไต๋เจียซาน ประเทศจีน

สถาปัตยกรรมต่างมีเวลาของมันเอง เมื่อถูกสร้างในช่วงเวลาหนึ่งก็เหมาะกับการใช้งานในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อกาลเวลาทำงานผ่านไป สถาปัตยกรรมนั้นก็อาจไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาใหม่ และทำให้เป็นสาเหตุที่สถาปัตยกรรมต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวมันเอง ไม่ต่างอะไรกับการผ่าตัดหรือศัลยกรรมให้ตัวมันเองมีสังขารที่เหมาะกับยุคสมัยได้ ในพื้นที่ชนบทของประเทศจีน เมืองถงลู่ มณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ฉี ในหมู่บ้านโบราณเรียงรายไปด้วยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เรียกว่าบ้านดิน บ้านดินเหล่านี้ก่อสร้างด้วยเทคนิคก่อสร้างแบบอิฐดินดิบ หรือที่เรียกว่า Adobe เป็นวัฒนธรรมการก่อสร้างร่วมกันที่เราพบได้ทั่วไปในจีน เนื่องจากบ้านดินเหล่านี้มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี หลายหลังไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยในปัจจุบันแล้ว การตามหาการใช้สอยใหม่ก็เปรียบได้กับการหาวิญญาณใหม่ให้ร่างเดิมที่เคยหมดลมหายใจไปแล้ว คำถามคือวิญญาณแบบไหนที่เหมาะกับบ้านดินอายุเป็นศตวรรษเหล่านี้ อีกหนึ่งคำตอบปรากฏในหมู่บ้านไต๋เจียซาน เมืองอี้ซาน ได้ทำการเข้าไปศัลยกรรมบ้านดินเก่าให้มีวิญญาณใหม่เป็นห้องสมุด จากบ้านดิน 2 หลังที่อยู่ใกล้กัน ถูกปรับเปลี่ยนการใช้สอยจากพื้นที่ที่เคยใช้พักอาศัยให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะ รองรับการใช้สอยใหม่ ทั้งส่วนอ่านหนังสือ ห้องประชุมในชุมชน คาเฟ่…

Continue ReadingRuralation Library ศัลยกรรมบ้านดินเก่าให้มีวิญญาณใหม่เป็นห้องสมุดในหมู่บ้านไต๋เจียซาน ประเทศจีน

Fukuyama Renovation Project ปรับโฉมช้อปปิ้งสตรีทอายุกว่า 50 ปีในญี่ปุ่นให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

ในหลายวัฒนธรรมตะวันออก ถนนไม่ได้เป็นแค่ทางสัญจร แต่เป็นที่พบปะสังสรรค์ ทำกิจกรรมสาธารณะ ค้าขายแลกเปลี่ยนอีกด้วย จากถนนหน้าตึกแถวเรียงรายเป็นตลาดกึ่งถาวร จนสุดท้ายเมื่อเติมหลังคาคลุมเข้าไประหว่างตึกแถวจึงกลายเป็น shopping street ในที่สุด อย่างในประเทศญี่ปุ่นการจับจ่ายซื้อสินค้าที่ตลาดแบบ shopping street เป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วไปทุกเมือง ลักษณะที่คุ้นเคยคือเป็นย่านขายของต่างๆ ที่แสงลงมาน้อย เพราะต้องการหลบแดด ฝน แต่ก็ทำให้แสงในการใช้งานน้อยลงด้วยเช่นกัน shopping street ในบางพื้นที่ที่มีอายุผ่านร้อนหนาวมานาน ต้องมีการปรับปรุงโฉมบ้าง เพื่อให้ตัวย่านการค้านี้สามารถกระตุ้นเมืองด้วยกิจกรรมที่เพิ่มเติมให้เหมาะสมกับยุคด้วยเช่นกัน เช่นกับ การปรับปรุงร้านในถนนยาวราว 440 เมตร อายุกว่า 50…

Continue ReadingFukuyama Renovation Project ปรับโฉมช้อปปิ้งสตรีทอายุกว่า 50 ปีในญี่ปุ่นให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

Casa Nostra เมื่อร้านผักแถวบ้านกลับมา ‘ฮิป’ อีกครั้งด้วยแนวคิดการออกแบบ

ผักผลไม้สดๆ ในร้าน Casa Nostra ดูเผินๆ ก็ละม้ายคล้ายกับการสะบัดสีบนผืนผ้าใบของศิลปิน เป็นเสมือนตัวละครเอกบนเวทีการแสดงภายในร้านสีขาวสะอาดสะอ้านนี้ (ต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยนะ) ซึ่งนี่เองคือไอเดียหลักของการรีโนเวทภาพลักษณ์ใหม่ให้กับร้านผักผลไม้เล็กๆ ในเมืองบาร์เซโลน่า ที่สตูดิโอออกแบบ Miriam Barrio กล่าวว่า “เราต้องการทำให้สีสันที่แท้จริงของสินค้ากลายเป็นไฮไลท์ขึ้นมาเหนือองค์ประกอบอื่นทั้งหมด” ร้าน Casa Nostra ลุคใหม่ถูกออกแบบขึ้นอย่างเรียบง่ายด้วยโทนสีขาวสะอาดตา แบ่งพื้นที่อย่างลื่นไหลเป็นสองโซนด้วยการใช้วัสดุกระเบื้องและแผ่นโลหะลูกฟูก โดยโซนด้านหน้านั้นจะขายเฉพาะผักผลไม้สด ในขณะที่ด้านหลังจะขายของแห้งในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนั้น Miriam Barrio ยังออกแบบตำแหน่งการวางเฟอร์นิเจอร์ภายในร้านขึ้นใหม่ด้วย เพื่อสร้างโฟลว์ที่ดีในการเดินช็อปปิ้งของลูกค้า นอกจากเรื่องการแต่งร้านที่โดดเด่นราวกับพื้นที่นิทรรศการของผลไม้แล้ว เรายังชอบงานในส่วนของรีเทลกราฟิก และการทำแบรนดดิ้งของร้าน…

Continue ReadingCasa Nostra เมื่อร้านผักแถวบ้านกลับมา ‘ฮิป’ อีกครั้งด้วยแนวคิดการออกแบบ

First City Project : เปลี่ยนคฤหาสน์เก่าให้กลายเป็นห้องแสดงงานศิลปะ

คงจะน่าเสียดายหากคฤหาสน์เก่าแก่หลังนี้จะถูกปล่อยให้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา นอกจากจะมีอายุราว 350 ปีแล้วยังเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของเมืองริมชายหาดอย่าง Glen Cove ในรัฐนิวยอร์ก และก็ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้ามีใครเห็นคุณค่าต้องการจะปรับปรุงใหม่ ทว่าไม่ใช่การทำให้กลับมาเป็นแบบเดิมอย่างที่ทุกคนคิด  Joe Lapadula ผู้ชื้อพื้นที่ไว้มีไอเดียที่แปลกไปกว่านั้น เพราะเขาอยากจะสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับคฤหาสน์นี้ครั้งด้วยการแปลงโฉมไปเป็นห้องแสดงนิทรรศการทางศิลปะด้วยโปรเจ็กต์  The First City ของเขา Joe Lapadula กับเพื่อนศิลปิน Sean Sullivan และ Haris Lobel เชื้อชวนผู้มีใจรักและเหล่าศิลปินการาฟิตี้อื่นๆ อีกมากกว่าร้อยยี่สิบชีวิตจากทั่วโลกมาร่วมกันสร้างบรรยากาศให้คฤหาสน์หลังนี้กลายเป็นบ้านศิลปะ ที่ทุกผนังจะอัดแน่นไปด้วยความหลากหลายผลงานของเหล่าศิลปิน ทุกพื้นที่ว่างจะกลายเป็นผืนผ้าใบให้เหล่านักสร้างสรรค์สร้างผลงานของตัวเองอย่างอิสระ และพร้อมกับเปิดให้ชาวเมืองและผู้สนใจได้เข้าไปร่วมซึมซับกับบรรยากาศคฤหาสน์แห่งศิลปะหลังนี้กันด้วย…

Continue ReadingFirst City Project : เปลี่ยนคฤหาสน์เก่าให้กลายเป็นห้องแสดงงานศิลปะ