Uakari Floating Lodge ที่พักในป่าอะเมซอนสนับสนุนธรรมชาติและชุมชนอย่างยั่งยืน

ความเร็วของข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตบวกกับการเติบโตของธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำที่กระจายไปทั่วโลก อาจทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวในหลายประเทศเฟื่องฟูก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน ส่วนผสมนี้ก็ทำให้การท่องเที่ยวกลายเป็นมะเร็งร้ายที่กัดกินและทำลายสถานที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมหลายแห่งลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะว่าเมื่อมี demand ของนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น กลุ่มนายทุนก็เข้าไปลงทุนในพื้นที่ที่เคยสวยงามสงบเงียบมากขึ้น โดยที่ทั้งนายทุนและนักท่องเที่ยวต่างไม่ได้สนใจเรื่องการอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวนั้นมากไปกว่ากำไรและถ่ายรูปสวยๆ (ของตัวเอง)​ มาลงโซเชียลมีเดีย ในประเด็นนี้เอง Uakari Floating Lodge ที่พักขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเขตป่าร้อนชื้นของอะเมซอนในบราซิล จึงจัดเป็นโมเดลธุรกิจการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ นอกจากตัวอาคารของ Uakari Floating Lodge จะถูกออกแบบให้เป็นบ้านลอยน้ำที่ใช้วัสดุธรรมชาติในการก่อสร้างเพื่อให้กลมกลืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว Uakari Floating Lodge ก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พื้นที่ทางธรรมชาติ Mamirauá Sustainable Development Reserve…

Continue ReadingUakari Floating Lodge ที่พักในป่าอะเมซอนสนับสนุนธรรมชาติและชุมชนอย่างยั่งยืน

The Kitchen Community ชุมชนคนรักอาหารสุขภาพผ่านการเรียน เล่น และทดลอง

Kimbal Musk คือคุณพ่อลูกสามที่ควบบทบาทผู้ประกอบการรุ่นใหม่และผู้จัดการร้านอาหาร ซึ่งมีโอกาสได้คลุกคลีกับสวนผักในโรงเรียนมาตลอด 10 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว สิ่งที่เขาพบคือโอกาสที่เด็กๆ จะได้เข้าถึงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน นั้นได้สร้างผลลัพธ์ที่น่าทึ่งไม่น้อยเพราะพวกเขามีความเครียดลดลงและผลการเรียนที่ดีขึ้นด้วย ประสบการณ์ที่เกิดที่ขึ้นนี้นำไปสู่การร่วมก่อตั้งชุมชนเล็กๆ ที่เขาและ Hugo Matheson เรียกมันว่า The Kitchen Community ในปี 2011 ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงเด็กๆ ให้รู้จักกับ Real Food ที่แท้จริง และ…

Continue ReadingThe Kitchen Community ชุมชนคนรักอาหารสุขภาพผ่านการเรียน เล่น และทดลอง

Wanita กลุ่มสตรีธุรกิจเพื่อสังคมปลายด้ามขวาน..เพื่อสันติภาพชายแดนใต้

สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ปลายด้ามขวานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่จะสร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและกำลังใจในฟากฝั่งของเจ้าหน้าที่ แน่นอนว่ามันส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มผู้หญิงที่ต้องก้าวข้ามทั้งความเศร้า การเปลี่ยนบทบาทจากแม่บ้านที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวให้กินอิ่ม นอนหลับ และเติบโต สู่การเป็นผู้นำที่ต้องเป็นเสาหลักในการหารายได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ก่อกำเนิดศูนย์ธุรกิจเพื่อสังคมเล็กๆ นามว่า ‘วานีตา (Wanita)’ กับความเชื่อที่ว่าศักยภาพของผู้หญิงจะสามารถสร้างประโยชน์ในมิติเชิงเศรษฐกิจและสังคม โดยมีปลายทางคือการสร้าง ‘สันติภาพ’ ให้เกิดขึ้น การพูดคุยกับตัวแทนกลุ่มอย่าง อลิญา หมัดหมาน และ วีดะ อิแม ทำให้เราเห็นภาพสะท้อนบางอย่างที่แตกต่างไปจากสิ่งที่เราเคยรับรู้ แน่นอนว่าทั้งคู่ไม่ปฏิเสธถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่ในเส้นทางคู่ขนาน พื้นที่ ณ ปลายด้ามขวานแห่งนี้ยังคงเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ทรัพยากรบุคคลที่มีกำลังความสามารถในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ…

Continue ReadingWanita กลุ่มสตรีธุรกิจเพื่อสังคมปลายด้ามขวาน..เพื่อสันติภาพชายแดนใต้

‘หยิบเท่าที่กิน จ่ายเท่าที่ไหว’ ซูเปอร์มาร์เก็ตแนวใหม่กับโมเดลช่วยชีวิตอาหารก่อนจะเป็นขยะ

ได้ฤกษ์เปิดตัวแล้วอย่างเป็นทางการกับอีกหนึ่งแนวคิดการสร้างความมั่นคงด้านอาหารของออสเตรเลีย ตลาด OzHarvest Market ในเมืองซิดนีย์ คือซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งแรกในออสเตรเลียที่ให้โอกาส 'อาหารที่บางคนไม่ต้องการ' ได้เดินทางไปสู่ 'ผู้บริโภคที่ยังต้องการมัน' อีกครั้ง ก่อนจะถูกนำไปเททิ้งฝังกลบอย่างไร้ค่าในกองขยะนอกเมือง หลักการง่ายๆ ในการดำเนินกิจการของ OzHarvest คือ 'Take what you need & Give if you can' นั่นหมายถึงสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตนี้จะไม่มีป้ายราคา คุณลูกค้าเพียงแค่เดินเข้ามาหยิบตะกร้า แล้วก็เดินหยิบสินค้าต่างๆ ได้อย่างอิสระ ทั้งของสด ของแห้ง…

Continue Reading‘หยิบเท่าที่กิน จ่ายเท่าที่ไหว’ ซูเปอร์มาร์เก็ตแนวใหม่กับโมเดลช่วยชีวิตอาหารก่อนจะเป็นขยะ

‘Local Alike’ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยชุมชนเพื่อชุมชน ที่ให้มากกว่าความสุข

จากต้นขั้วทางความคิดที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยมีความเข้มแข็งและความสุขของชุมชนเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ การก่อร่างสร้างตัวของ Local Alike จึงเกิดขึ้นโดยมี สมศักดิ์ บุญคำ (ไผ) และ สุรัชนา ภควลีธร (นุ่น) สองผู้ร่วมก่อตั้งเป็นหัวหอกหลัก โดยมีกลุ่มมดงานอย่าง ปฐมพร พงษ์นิล (โบว์), เพ็ญศิริ สอนบุตร (อุ๋ม), ทรงกลด ถานะวร (ตูมตาม), สุดารัตน์ อาชวานันทกุล (หมิ่น) และ อานนท์ สุภาศรี (ไผ่) ที่มาช่วยเสริมทัพให้กลุ่มกิจการเพื่อสังคมกลุ่มนี้เป็นอีกทางเลือกที่มุ่งสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกิดขึ้นได้จริง…

Continue Reading‘Local Alike’ การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยชุมชนเพื่อชุมชน ที่ให้มากกว่าความสุข