ลำโพงดีไซน์เท่จากพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพดี พกพาง่าย ลดปัญหาขยะล้นโลก

gomi คือทีมดีไซเนอร์จากประเทศอังกฤษที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจสร้างผลงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โจทย์ใหญ่ของพวกเขาคือ ปัญหาขยะพลาสติกที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน จนมีปริมาณถึง 85 เปอร์เซ็นต์ของขยะและมลพิษที่พบบริเวณชายหาดทั่วโลก แค่ในประเทศอังกฤษ มีการทิ้งขยะพลาสติกมากถึง 300 ล้านตัน ผลลัพธ์ที่ได้คืองานดีไซน์ที่ผสมผสานการรีไซเคิลขยะพลาสติกเข้ากับเทคโนโลยี ออกมาเป็น ลำโพงบลูทูธแบบพกพาที่ทำมาจากพลาสติกรีไซเคิล 100%  โดยเป็นพลาสติกชนิด LDPE (low density polyethylene) หรือพอลิเอทิลีนที่มีความหนาแน่นต่ำ คุณสมบัติของพลาสติกชนิดนี้คือมีความเหนียวและยืดหยุ่น นิยมนำมาผลิตวัสดุสำหรับบรรจุหีบห่ออาหาร เช่น ถุงเย็น ถุงก๊อบแก๊บ หรือนำมาผลิตเป็นเครื่องเล่นเด็ก หรือฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า เป็นต้น ลำโพง…

Continue Readingลำโพงดีไซน์เท่จากพลาสติกรีไซเคิล คุณภาพดี พกพาง่าย ลดปัญหาขยะล้นโลก

เมื่อแบรนด์แฟชั่นประกาศเปลี่ยนวิถีการผลิต! ไม่สร้างขยะใหม่ ไม่ทำลายทรัพยากรโลก

Everlane คือแบรนด์แฟชั่นสัญชาติอเมริกันที่พยามยามสร้างจุดยืนการทำธุรกิจแบบโปร่งใสไม่มิดเม้ม บนเว็บไซต์ของพวกเขานอกจากจะมีคอลเล็กชั่นต่างๆ ให้ลูกค้าเลือกสรรแล้ว พวกเขายังมีสตอรี่ที่เป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการผลิต สถานที่ตั้งโรงงาน มีการอธิบายกลยุทธ์การตั้งราคาเปรียบเทียบกับคู่แข่ง รวมถึงเหตุผลโน้มน้าวใจที่ทำให้ผู้บริโภคเล็งเห็นถึงข้อดีของสินค้าแฟชั่นคุณภาพที่ใช้ได้นานโดยไม่ต้องตามเทรนด์ คงไม่ผิดหากจะบอกว่า Everlane คืออีกหนึ่งแบรนด์แฟชั่นสวนกระแสที่มุ่งหวังจะล้างภาพเสียๆ ของอุตสาหกรรมแฟชั่นที่เคยตกเป็นผู้ต้องหาต่อสิ่งแวดล้อมโลกมาอย่างยาวนาน ความพยายามครั้งล่าสุดของแบรนด์นี้ (และอาจจะเป็นครั้งที่สร้างผลกระทบได้ชัดเจนที่สุดด้วย) ก็คือการออกมาประกาศพันธสัญญาว่า Everlane จะยุติการใช้ ‘พลาสติกใหม่’ ในกระบวนการผลิตสินค้าทั้งหมดให้ได้ภายในปี ค.ศ.2021 ผู้บริหารแบรนด์แถลงกับสำนักข่าวต่างๆ ว่า “ภายในปี 2021 ทั้งเสื้อผ้า รองเท้า แอคเซสซอรี่ และบรรจุภัณฑ์ของ Everlane ทั้งหมดทั้งปวงจะไม่มีส่วนประกอบของพลาสติกใหม่อีกเลย…

Continue Readingเมื่อแบรนด์แฟชั่นประกาศเปลี่ยนวิถีการผลิต! ไม่สร้างขยะใหม่ ไม่ทำลายทรัพยากรโลก

ซื้อ 1 ได้ถึง 2! ช้อปเสื้อเท่ๆ ได้กล่องเก๋ๆ ที่เปลี่ยนเป็นสายวัด & ตลับได้ด้วย

เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกวันนี้เราได้เห็นคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับงานสร้างสรรค์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตัวอย่างหนึ่งในที่นี้ก็คือ 10 pt แบรนด์เสื้อยืดที่นอกจากจะมีเสื้อทำมาจากผ้าฝ้ายออร์แกนิกแล้ว ตัวแพ็กเกจจิ้งก็ยังถูกคิดมาอย่างดีเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด Antonina Kozlova และ Kanokpon Yokchoo คือสองดีไซเนอร์รุ่นเยาว์ที่อยู่เบื้องหลังไอเดียของแพ็กเกจจิ้งนี้ โดยแทนที่จะใช้แพ็กเกจจิ้งแบบพลาสติกทั่วไปที่ย่อยสลายไม่ได้ พวกเขาหันมาออกแบบกล่องทรงกลมยาวขนาดเล็กเพื่อเป็นการประหยัดวัสดุ แถมยังทำจากกระดาษที่รีไซเคิลได้อีกด้วย การบรรจุเสื้อยืดลงไปในกล่องรูปท่อกลมก็ยังทำได้ง่ายด้วยการม้วน ซึ่งก็ช่วยลดพื้นที่ในการขนส่งไปในตัว ที่เจ๋งกว่านั้นคือ กล่องกระดาษที่ว่าสามารถแกะออกมาแล้วกลายเป็นสายวัดได้ โดยส่วนฝากล่องทั้งด้านบนและด้านล่าง เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วก็จะกลายเป็นกล่องใส่สายวัดอีกที เรียกว่าซื้อ 1 ได้ถึง 2 ๆนับเป็นงานออกแบบที่คิดมาอย่างดีเยี่ยมแล้วว่า ทุกองค์ประกอบสามารถนำไปใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และก็เพราะนักออกแบบเลือกใช้การเพนต์ลายลงบนกล่อง (ซึ่งก็คือด้านหลังสายวัด) ด้วยสีสันสดใสแบบแฮนด์เมด…

Continue Readingซื้อ 1 ได้ถึง 2! ช้อปเสื้อเท่ๆ ได้กล่องเก๋ๆ ที่เปลี่ยนเป็นสายวัด & ตลับได้ด้วย

CHAR CO-Tile: ภูมิปัญญา ‘ถ่าน’ สู่ผลิตภัณฑ์ตกแต่งดีไซน์สวย สร้างงานสร้างอาชีพ

  เมื่อพูดถึงถ่าน หลายคนคงนึกไปถึงประโยชน์ใช้สอยในเรื่องเชื้อเพลิง แต่ถ่านยังมีประโยชน์อีกมาก ทั้งในเรื่องการปรับคุณภาพน้ำ การดูดซับความชื้นและกลิ่นคาว อย่างที่เราเห็นการนำถ่านมาไว้ในตู้เย็นเพื่อดูดซับกลิ่นคาว หรือการดูดกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า เป็นต้น ซึ่งคุณสมบัติที่ว่านี้ได้ถูกถ่ายทอดผ่านการสร้างสรรค์ผลงานของ นภดล สังวาลเพ็ชร ที่เกี่ยวเนื่องกับถ่านมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ผลงานในชื่อ ‘ถ่าน’ ที่เขาเลือกตีความผลผลิตทางธรรมชาติชนิดนี้ออกมาเป็นงานศิลปะ รวมถึงนวัตกรรมล่าสุดอย่างกระเบื้องถ่านงานนี้ด้วย เพราะสภาพแวดล้อมที่คุ้นชินกับถ่านมาตั้งแต่เด็ก ทั้งจากธุรกิจของครอบครัว ไปจนถึงการเป็นวัสดุหาง่ายในชุมชน นภดลจึงเลือกผสมผสานลักษณะเด่นของถ่านมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้จริงและเกิดประโยชน์สูงสุด กระเบื้องถ่าน หรือ CHAR CO- Tile นั้นถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ทั้งการเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน เช่น แจกัน…

Continue ReadingCHAR CO-Tile: ภูมิปัญญา ‘ถ่าน’ สู่ผลิตภัณฑ์ตกแต่งดีไซน์สวย สร้างงานสร้างอาชีพ

‘รัตติกร วุฒิกร’ นักออกแบบของเล่น เพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

บางคนเดินทางตลอดทั้งชีวิตก็ยังไม่สามารถหาตัวเองได้พบ ในขณะที่ใครบางคนเกิดมาก็รู้ทันทีว่าตัวเองชอบทำอะไร 'รัตติกร วุฒิกร' นักออกแบบของเล่นเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่สุดที่ได้พบกับอาชีพนักออกแบบของเล่นที่เธอรักในทางตรงกันข้าม 'ของเล่น' ก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่โชคดีที่สุดที่ได้พบกับนักออกแบบท่านนี้ ผู้ที่ทำให้ 'หนึ่งของเล่น' ไม่ได้มีคุณค่าเพียงแค่ผู้เล่นเพียงหนึ่งคน แต่ยังส่งต่อไปถึงการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนอีกด้วย Q: คุณรัตติกรเรียนจบมาทางด้านไหน แล้วเริ่มต้นทำงานอะไรก่อนที่จะก้าวมาเป็นนักออกแบบของเล่น A: จบการศึกษาจากคณะสถาปัตย์ สาขาศิลปอุตสาหกรรม พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง หลังจากจบก็เริ่มงานที่บริษัท Wonderworld โดยหน้าที่หลักคือการออกแบบของเล่น ถือเป็นความโชคดีที่ได้เริ่มงานในตำแหน่งนี้เป็นที่แรก หลังจากทำงานได้ประมาณครึ่งปี ก็ตัดสินใจลาออกเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ในช่วงระยะเวลาที่กำลังเตรียมตัว ก็มีเพื่อนๆ…

Continue Reading‘รัตติกร วุฒิกร’ นักออกแบบของเล่น เพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม