‘Toysneed’ โครเชต์ตุ๊กตาผ้า DIY สุดน่ารัก เสริมจินตนาการ ปลูกฝังการรักสัตว์

ธุรกิจของเล่นเป็นธุรกิจที่ทำเงินมหาศาลในหลายประเทศ เพราะไม่ว่าพ่อแม่คนไหนถ้าพอมีกำลังจับจ่ายก็อยากสรรหาของเล่นมาเสริมสร้างพัฒนาการและสร้างความสุขให้ลูกของตัวเองทั้งนั้น แต่สิ่งที่พ่อแม่ควรระวังก็คือ ของเล่นหลายชิ้นอาจเป็นอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะของเล่นที่ทำจากพลาสติกที่หลายประเภทพบสารปนเปื้อนเกินมาตรฐาน เช่น สารพาทาเลท (Phthalates) ทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการก่อโรคร้ายต่างๆ เช่น มะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ อาจเพราะความกังวลดังกล่าว บวกกับมีพ่อแม่จำนวนไม่น้อยในปัจจุบันที่เลือกเลี้ยงดูลูกด้วยวิธีทางเลือก ความนิยมในการทำของเล่น DIY ให้ลูกๆ ด้วยตนเองจึงเพิ่มมากขึ้น Kate Kobets ก็เป็นหนึ่งในนั้น ตั้งแต่สมัยยังเป็นเด็ก Kate หลงใหลการถักโครเชต์มาก และเมื่อโตขึ้น เธอได้รู้จักกับ ‘amigurumi’ ศิลปะของญี่ปุ่นที่หมายถึงการผสมผสานงานโครเชต์เข้ากับตุ๊กตาผ้า เมื่อ Kate ให้กำเนิดลูกชายคนแรกในปี…

Continue Reading‘Toysneed’ โครเชต์ตุ๊กตาผ้า DIY สุดน่ารัก เสริมจินตนาการ ปลูกฝังการรักสัตว์

‘หิมพานต์ มาร์ชเมลโล่’ ผลงาน MOTMO Studio เล่าประวัติศาสตร์ผ่านของเล่นชวนคนรุ่นใหม่ใส่ใจศิลปะพื้นบ้าน

ในโลกปัจจุบัน การสร้างสรรค์ผลงานสักโปรเจ็กต์หนึ่งแล้วส่งแรงกระเพื่อมให้เกิดความตื่นตัวต่อสังคมได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายหรือคิดว่าใครๆ ก็ทำได้ อย่างน้อยต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมทางสังคม วัฒนธรรม และรสนิยมของคนร่วมสมัยเป็นอย่างดี ปรากฏการณ์เช่นนี้ได้เกิดกับงานชุด "หิมพานต์มาร์ชเมลโล่" ไปเรียบร้อยอย่างไม่มีใครปฏิเสธ เพราะเป็นกระแสไวรัลในโลกออนไลน์ ทั้งในเฟสบุ๊กและทวิตเตอร์ ด้วยการติดแฮชแทก #หิมพานต์มาร์ชเมลโล่ ติดต่อกันไปหลายวัน ไม่น่าแปลกใจเพราะนี่เป็นผลงานของ 'หมดโม่สตูดิโอ' (MOTMO Studio)โดย โม่ - คมกฤษ เทพเทียน ซึ่งเคยสร้างความฮือฮามาจากผลงานชุด 'อับเฉา ไม่อับเฉา'  ในงาน Bangkok Art Bienale 2018…

Continue Reading‘หิมพานต์ มาร์ชเมลโล่’ ผลงาน MOTMO Studio เล่าประวัติศาสตร์ผ่านของเล่นชวนคนรุ่นใหม่ใส่ใจศิลปะพื้นบ้าน

Alma ของเล่นไร้กฎเกณฑ์ให้เด็กๆ กำหนดวิธีเล่นเองได้เรียนรู้อารมณ์ของตัวเองในแต่ละช่วงวัย

  • Post author:
  • Post category:DESIGN
  • Post comments:0 Comments

'การเล่น' นอกจากจะมีผลโดยตรงต่อระดับพัฒนาการและความสามารถของเด็กๆ แล้ว กิจกรรมที่ว่ายังทำให้พวกเขามีโอกาสได้แสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความไม่สบายใจ ความสับสน ความขัดแย้ง ความพอใจ แล้วการเล่นนี่แหละก็เป็นหนึ่งในหลายๆ วิธีที่ช่วยให้เด็กสามารถเข้าใจตัวเอง รวมทั้งความสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อโลกรอบตัว ผลงานของนักออกแบบชาวอิสราเอลอย่าง Yaara Nusboim เอง ก็มี ‘การเล่น’ เป็นจุดตั้งต้น โดย ‘Alma’ เกิดขึ้นหลังจากที่ Yaara เข้าไปทำงานร่วมกับเด็กๆ ที่มีความเสี่ยงในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง ในแต่ละวันเธอเห็นภาพของนักเรียนที่ล้วนต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ความรู้สึกขาดความรัก ผลกระทบจากการล่วงละเมิดทางเพศ และปัญหาทางกายภาพด้านต่างๆ ซึ่งทำให้เธอต้องการใช้ทักษะด้านออกแบบที่มีทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดเหล่านั้น…

Continue ReadingAlma ของเล่นไร้กฎเกณฑ์ให้เด็กๆ กำหนดวิธีเล่นเองได้เรียนรู้อารมณ์ของตัวเองในแต่ละช่วงวัย

Knotty ของเล่นใหม่แบบไม่จำกัดวิธีเล่น อยากเล่นแบบไหน ออกแบบเองได้

สำหรับเด็กแล้ว ช่วงเวลาในการเล่นไม่ได้สร้างความสนุกเท่านั้น แต่ยังเป็นหนทางปลอดภัยที่จะให้เด็กๆ ได้เพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิตก่อนที่จะไปเรียนรู้โลก การเล่นยังช่วยพัฒนาความคิด หล่อหลอมให้เกิดบุคลิก รวมทั้งสร้างทักษะด้านต่างๆ ตลอดจนความแข็งแรงทางอารมณ์ โดยหนึ่งในประเภทของเล่นอย่าง open-ended toy หรือของเล่นปลายเปิด ก็เป็นอีกหนึ่งลักษณะของเล่น ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแสวงหาวิธีเล่นซึ่งจะเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงวัย ‘Knotty’ ที่มาจากการประกอบขึ้นของคำ 2 คำ อย่าง ‘knot’ ที่แปลว่า ‘เงื่อน’ และ ‘tying’ ที่แปลว่า ‘การผูก’ ก็เป็นของเล่นปลายเปิดที่ Saki Maruyama ออกแบบให้คล้ายกับคำถามปลายเปิดที่จะไม่มีคำตอบตายตัว…

Continue ReadingKnotty ของเล่นใหม่แบบไม่จำกัดวิธีเล่น อยากเล่นแบบไหน ออกแบบเองได้

‘Smartibot’ ชุดของเล่น DIY สุดล้ำชวนทำหุ่นยนต์ง่ายๆ จากของใกล้ตัว

เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตประจำวันและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าเราจะหันไปทางไหนก็หนีไม่พ้นเทคโนโลยีอยู่ดี นี่ทำให้หลายคนอดกังวลไม่ได้ว่า...ปัญญาประดิษฐ์ของหุ่นยนต์จะฉลาดแสนรู้จนทำให้คนตกงานกันหมด! “วิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ ก็คือการรู้วิธีสร้างมันขึ้นมาด้วยมือเราเอง” นี่คือแนวคิดล้ำๆ ของ Ross Atkin ผู้ก่อตั้ง Crafty Robot บริษัทผลิตของเล่นเสริมพัฒนาการที่เน้นด้าน STEM ซึ่งก็คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering, Mathematic) โดยมีแนวคิดหลักคือการผลิตชุดของเล่นที่เป็นหุ่นยนต์แบบประดิษฐ์ได้เอง (DIY) กับวัสดุที่หาได้ง่ายใกล้ตัว เช่น กระดาษแข็ง Smartibot คือผลงานชิ้นล่าสุดของ…

Continue Reading‘Smartibot’ ชุดของเล่น DIY สุดล้ำชวนทำหุ่นยนต์ง่ายๆ จากของใกล้ตัว

Inside the Box: ต่อชีวิตกล่องบรรเทาทุกข์เป็นของเล่นเด็กในค่ายอพยพ

แม้ว่าจำนวนของกล่องช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ (ที่บรรุจอาหาร ยา ของอุปโภคจำเป็น) สำหรับผู้ลี้ภัยในโลกทุกวันนี้จะยังห่างไกลจากคำว่า ‘เพียงพอ’ แต่ก็มีกล่องกระดาษจำนวนมากมายเหลือเกินในค่ายอพยพเหล่านี้ที่ต้องถูกทิ้งเป็นขยะไร้ค่าภายในระยะเวลาอันสั้นหลังจากที่มันเสร็จสิ้นภารกิจการบรรจุสิ่งของเป็นที่เรียบร้อย นี่คือเหตุผลหลักที่นักออกแบบสาวชาวดัชท์ Lisanne Koning คิดสร้างสรรค์โครงการ Inside the Box ของเธอขึ้นเพื่อจะมอบบทบาทใหม่ให้กับกล่องกระดาษเหล่านี้เป็นคำรบสอง โดย Koning คิดว่าเจ้ากล่องกระดาษลูกฟูกน้ำหนักเบาพวกนี้น่าจะเป็น ‘ของเล่น’ สำหรับเด็กๆ ในค่ายอพยพได้เป็นอย่างดี โครงการ Inside the Box ของ Koning คือการสร้างสรรค์บอร์ดเกมและของเล่นประเทืองปัญญาสำหรับเด็กๆ บนกระดาษกล่องกู้ชีพที่พิมพ์ภาพและลายเส้นไว้ด้านในอย่างสวยงาม โดยเมื่อกล่องเหล่านี้หมดหน้าที่จากการขนของแล้ว…

Continue ReadingInside the Box: ต่อชีวิตกล่องบรรเทาทุกข์เป็นของเล่นเด็กในค่ายอพยพ
Read more about the article Litogami ของเล่นกระดาษพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
SONY DSC

Litogami ของเล่นกระดาษพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ต้องยอมรับว่า ณ เพลานี้ ทั่วโลกเริ่มหันมาสนใจการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์กันมากขึ้น (รวมถึงพลังงานทางเลือกอื่นๆ อย่างเช่น พลังงานน้ำ พลังงานลม หรือแม้กระทั่งพลังงานจากขยะ) พอพูดถึงการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ เราก็มักจะนึกถึงเซลล์แสงอาทิตย์แผงใหญ่ๆ ที่ผลิตกำลังไฟได้เยอะๆ แต่ที่จริงยังมีการใช้เซลล์แสงอาทิตย์กับอุปกรณ์ขนาดเล็กๆ อยู่ด้วย เช่น เครื่องคิดเลข ไฟสนาม หรือของเล่น ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังจะพูดถึงนี้เป็นของเล่นจากแบรนด์ Litogami ของฝรั่งเศสซึ่งนำพลังงานแสงอาทิตย์มา ‘ใช้’ และ ‘เล่น’ ได้อย่างน่าสนุก ผลิตภัณฑ์ของ Litogami คือชุดของเล่นบ้านตุ๊กตาและรถที่ทำจากกระดาษแข็งซึ่งได้รับการรับรองจาก PEFC/FSC (คือมาจากแหล่งผลิตที่มีความรับผิดชอบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลิตกระดาษโดยสนับสนุนการปลูกป่าทดแทน และอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้)…

Continue ReadingLitogami ของเล่นกระดาษพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม

‘Adaptive Toy Project’ ปรับโฉมของเล่นใหม่ ดีต่อใจเด็กพิเศษ

'ของเล่น' เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความเพลิดเพลิน สร้างความสุขให้กับเด็กๆ อีกทั้งยังช่วยเสริมพัฒนาการให้ดียิ่งขึ้น แต่สำหรับเด็กพิเศษหรือเด็กพิการทางสมอง การจะหาของเล่นให้เหมาะกับพวกเขานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะยังมีน้อยคนนักที่จะผลิตของเล่นสำหรับเด็กกลุ่มนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มหาวิทยาลัย North Florida ผุดโปรเจ็กต์ 'Adaptive Toy' ขึ้นจากการรวมตัวกันของเหล่าบรรดานักศึกษาด้านกายภาพบำบัดและนักศึกษาด้านวิศวกรรมเพื่อพัฒนาของเล่นที่เหมาะสมให้กับเด็กพิเศษเหล่านี้ โดยการนำของเล่นที่มีอยู่ตามท้องตลาดมาปรับเปลี่ยน แต่งเติมให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กแต่ละคน  ซึ่งก่อนจะเริ่มพัฒนาของเล่นชิ้นต่างๆ ทีมนักออกแบบจะไปพบปะกับเด็กและผู้ดูแลของเด็กแต่ละคน เข้าร่วมคอร์สการบำบัดและไปเยี่ยมชมโรงเรียนของเด็กเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและปัญหาต่างๆ ของเด็กเหล่านี้ เพื่อให้ได้ของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุด โดยเด็กๆ จะได้รับของเล่นเหล่านี้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย ขณะนี้ทางทีมพัฒนากำลังจดจ่อกับการพัฒนารถไฟฟ้าเด็กเล่นให้กับเด็กพิเศษเหล่านี้ โดยรถแต่ละคันจะถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปตามความต้องการของเด็ก อาทิ การบังคับทิศทางของรถด้วยการกดปุ่มแทนการบังคับด้วยพวงมาลัย และเพิ่มเซ็นเซอร์เพื่อช่วยควบคุมให้รถแล่นไปตามทิศทางที่กำหนดไว้…

Continue Reading‘Adaptive Toy Project’ ปรับโฉมของเล่นใหม่ ดีต่อใจเด็กพิเศษ

๑4๑ ส่งต่อความปรารถนาดีจากผู้ซื้อสินค้าสู่ของเล่นให้เด็กด้อยโอกาส

บรรยากาศการพูดคุยระหว่างเรากับพี่อ้วน (คมกฤช ตระกูลทิวากร) และพี่แพท (กฤติยา ตระกูลทิวากร) สองนักออกแบบผู้ขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคมชื่อไทยๆ อย่าง ๑4๑ (หนึ่งสี่หนึ่ง) เป็นไป อย่างเรียบง่าย สงบ แต่เต็มไปด้วยความสุขและอุ่นใจ ไม่ต่างไปจากสิ่งที่พวกเขาทำ เส้นทางของ ๑4๑ กับการส่งต่อความปรารถนาดีจากผู้ซื้อสู่เด็กด้อยโอกาส แม้จะดูสมถะและถ่อมตน แต่กว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะเปล่งเสียงและสร้างแรงบันดาลใจให้สังคมได้ยินอย่างทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย บทสนทนาต่อจากนี้คือการเปิดเผยถึงเส้นทางแห่งการแบ่งปัน ทัศนคติ และอนาคตของกิจการเพื่อสังคมเล็กๆ แห่งนี้ Q: จุดเปลี่ยนจากบทบาทงานในสายการศึกษาและแวดวงออกแบบไปสู่งานสายสังคมเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร? A: จุดเปลี่ยนมาจากหลายองค์ประกอบ ครั้งแรกที่ผมรู้จักกิจการเพื่อสังคม (Social…

Continue Reading๑4๑ ส่งต่อความปรารถนาดีจากผู้ซื้อสินค้าสู่ของเล่นให้เด็กด้อยโอกาส