Roof Square พื้นที่สันทนาการใต้ทางด่วน สถาปัตยกรรมคำตอบใหม่ช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ชุมชน
เป็นธรรมดาของการพัฒนาเมืองใหญ่ที่ต้องสร้างสาธารณูปโภคให้ชาวเมืองได้รับความสะดวกสบายจากการเดินทาง หลายเมืองใหญ่ในโลกนิยมใช้รถไฟในการเดินทาง พื้นที่บางส่วนที่รถไฟวิ่งเข้ามาในตัวเมืองเดิมที่ไม่ได้ออกแบบพื้นที่รางเตรียมไว้ ถ้าไม่เป็นรถไฟใต้ดิน ก็จะกลายเป็นทางรถไฟลอยฟ้าแบบ BTS ที่ชาวกรุงเทพมหานครใช้ ผลจากการสร้างทางรถไฟลอยฟ้าทำให้เกิดพื้นที่เหลือของเมืองบริเวณข้างใต้ หลายแห่งกลายเป็นที่ทรุดโทรม จนเป็นปัญหาด้านทัศนียภาพกับเมือง คำถามคือมีทางแก้อย่างไรได้บ้าง? พื้นที่เหลือเหล่านี้ มีอีกคำตอบจากกรุงโซล เกาหลีใต้ กับโครงการนำร่องชื่อ Roof Square ที่นำเสนอการสร้างพื้นที่สาธารณะจากสเปซเหลือของเมืองให้มีชีวิตชีวาอีกครั้งด้วยการออกแบบ เนื่องจากการสร้างทางรถไฟจะทำให้พื้นที่ด้านล่างขาดการเชื่อมโยงกัน พื้นที่ชุมชนที่เคยเป็นเนื้อเดียวกันก็ถูกแบ่งออกจากกัน การเชื่อมโยงชุมชนทั้ง 2 ฝั่งได้ถูกเสนอทางแก้ปัญหาจากสถาปนิก HG-Architecture ด้วยการพัฒนาสะพานลอยอิมุนให้เป็นตัวเชื่อมผู้คนในชุมชนด้วยกิจกรรมที่เติมลงไปใหม่ เมื่อมองเข้าไปยังกระบวนการ มันคือการมองว่าปัญหาการขาดความเชื่อมต่อของชุมชนเดิมจากการพัฒนาเมือง วิธีแก้คือเพิ่มความเชื่อมต่อด้วยสถาปัตยกรรม กระบวนการคือการออกแบบสถาปัตยกรรมที่รองรับกิจกรรมใหม่ให้แก้ปัญหาได้ มันคือการออกแบบสะพานลอยที่ทำหน้าที่หลากหลายในพื้นที่…