ปรับโฉมโรงเรียนประถมในเปรูให้ล้อไปกับเมืองด้วยวัสดุพื้นถิ่นพร้อมตอบรับกิจกรรมที่ลื่นไหล

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือสถาปัตยกรรมที่ปรับตัวเป็นไปตามสภาพแวดล้อม ปากท้อง วิถีชีวิตของแต่ละถิ่นที่ ส่วนที่น่าสนใจคือการปรับตัวที่ต่างกันไปตามแต่ละบริบททำให้เกิดเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน จนเกิดเสน่ห์เฉพาะตัวขึ้นมาอย่างเช่น Elementary School in Santa Cruz de Villacuri Community แห่งนี้

บนพื้นที่รกร้างของการเดินทางเมืองวิลลากูรีเเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการรุกล้ำเมื่อ 25 ปีก่อน ผู้คนประกอบด้วยชาวบ้านที่อพยพจากภูเขา และในป่า พื้นที่นี้มีลักษณะการอยู่อาศัยแบบชั่วคราว ไม่มีการวางผังใดๆ ตั้งอยู่ในทะเลทรายของเปรูกึ่งกลางระหว่างเขาอิกากับปารากัส และติดกับทางหลวงแพน-อเมริกา เมืองนี้มีผู้คนหลายพันคนที่ทำงานในช่วงกลางวันในพื้นที่ที่อยู่ติดกัน ทำให้เมืองนี้ร้างในเวลากลางวันและกลับมามีชีวิตในเวลากลางคืน ประชากรของเมืองนี้จัดว่าเป็นกลุ่มเปราะบางได้รับความสนใจจากรัฐบาลเปรูน้อยมาก หลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวในปี พ.ศ 2550 โรงเรียนหลังเก่าก็ไม่เคยได้รับการสร้างขึ้นใหม่ทดแทน นักเรียนกว่า 300 คนจึงได้เรียนในห้องเรียนสำเร็จรูป ซึ่งไม่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใดๆ

จนเมื่อปี 2556 ทาง NGO All Hands and Hearts ได้ตัดสินใจสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่ พร้อมกับได้สถาปนิกจาก Atelier Ander Bados, Betsaida Curto Reye มาออกแบบสถาปัตยกรรม สถาปนิกเล็งเห็นความเฉพาะของถิ่นที่ จึงมีเทคนิคการก่อสร้างที่ปรับตัวให้ล้อไปกับเมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสื่ออ้อย คอนกรีต อิฐ ไม้วัสดุที่มีอัตลักษณ์อันหลากหลายเหล่านี้ได้ก่อให้เป็นความพิเศษ โรงเรียนแห่งนี้ถูกออกแบบให้พื้นที่ห้องเรียนทั้ง 7 ห้องถูกแทรกด้วยพื้นที่บริการอย่างเช่นห้องน้ำ ซึ่งพื้นที่ว่างระหว่างซอกเงาเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์อันโดดเด่น มันทำให้เกิดเงาและกิจกรรมในเงา สุดท้ายแล้วมันก่อให้เกิดห้องเรียนที่ไม่มีกำแพง ก่อให้กิดกิจกรรมที่ลื่นไหล

วัสดุที่ประกอบขึ้นเป็นโรงเรียนนี้มาจากท้องถิ่นของเมืองนี้ล้วนๆ ซึ่งช่วยให้ประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างได้มาก พร้อมกับเพิ่มมูลค่าจากวัสดุที่เคยมองข้าม แต่ในขณะเดียวกันมันก็เพิ่มความรู้สึกที่เป็นมิตรให้กับโรงเรียนนี้มากขึ้นด้วยเทคนิคก่อสร้าง ความเฉพาะของที่ตั้งโรงเรียนแห่งนี้คือ ต้องพบกับอุณหภูมิที่สูงของทะเลทรายเปรูซึ่งอาจจะเจออุณหภูมิที่สูงสุดกว่า 45 องศาเซลเซียส สถาปนิกนำเสนอหลังคาแบบดั้งเดิมที่เกิดช่องว่างระหว่างหลังคาและฝ้าเพดาน ใต้หลังคาคอนกรีตใช้ผืนไม้รองใต้ฝ้าแบบวางต่อเนื่องเพื่อสร้างช่องระบายอากาศภายในห้องเรียน

วัสดุในท้องถิ่นมันก็คือจิตวิญญาณที่พบเจอได้ทั่วไปในแต่ละถิ่นที่นั้นๆเพียงแต่ถ้าเราให้ความสำคัญและนำจุดแข็งของมันมาใช้ให้ถูกที่ มันก็จะกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่รักษาเรื่องราวของถิ่นที่และต่อยอดภูมิปัญญาในที่สุด

https://www.youtube.com/watch?v=k6XSvuNwbtM

แปลและเรียบเรียงจาก: www.archdaily.com
ที่มา: wooooooow.cn

สาโรช พระวงค์

สถาปนิกผู้ริเป็นนักเขียน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนใจในสถาปัตยกรรมที่สร้างคุณภาพที่ชีวิตที่ดีขึ้น เลยมาเขียนเล่าให้ผู้อ่านเป็นเนืองๆ

See all articles