Ceiling and Ellipse House ในญี่ปุ่น คำตอบใหม่บนพื้นที่เดิม ไม่ต้องรื้อใหญ่เพื่อสร้างเยอะ

ประเทศบนเกาะใหญ่อย่างญี่ปุ่น การที่มีประชากรมากแต่สัดส่วนพื้นที่อาศัยมีไม่สูง ทำให้เกิดบ้านที่มีการออกแบบจากการแก้ปัญหาทั้งประเด็นพื้นที่แคบ ใช้พื้นที่น้อยเหล่านั้นให้มีความสะดวกสบาย จนเป็นเอกลักษณ์ของบ้านญี่ปุ่นที่เรียกได้ว่าเท่จากเนื้อหา บ้านหลายหลังอาจจะดูประหลาดในสายตาคนไทย แต่ถ้าได้ลองย้อนถึงที่มาของแนวคิดจากสถาปนิก มันก็ชวนให้พบความน่าสนใจจากความพยายามของสถาปนิกรุ่นใหม่จากญี่ปุ่น บ้านเก่าอายุกว่า 20 ปีในเมืองโคะไดระ กรุงโตเกียว mtka (murayama + kato architecture) สถาปนิกระดับ young architect ได้เสนอการจัดการพื้นที่เก่าให้มีความสดใหม่ด้วยการปรับแก้เล็กน้อยแต่ได้ผลมาก ในบ้านหลังนี้มีเอกลักษณ์ของที่ว่างภายในที่โดดเด่น ทั้งจากช่องหน้าต่างขนาดใหญ่ทางทิศใต้และฝ้าแบบเปลือยเอียงไปตามท้องหลังคา ในพื้นที่เพดานสูงที่มีเอกลักษณ์พิเศษนี้จะมีวิธีแก้ไขสเปซเดิมให้มีการใช้สอยที่เหมาะกับชีวิตปัจจุบันได้อย่างไรนั้น ต้องหาวิธีแก้ปัญหาอย่างแยบยลที่สุด เพราะมันคือการเผชิญหน้ากับของเก่าที่มีความเฉพาะเรื่องโครงสร้างสเปซ และวิถีชีวิตใหม่ที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยมาขึ้นในปริมาตรเท่าเดิม การแก้ปัญหาแบบตรงไปตรงมา แค่การเพิ่มพื้นที่ด้วยการใส่ฟังก์ชั่นเข้าไปเพิ่มแต่เพียงอย่างเดียว มันคงไม่ใช่การตัดสินใจที่เหมาะกับทุกโจทย์แน่นอน…

Continue ReadingCeiling and Ellipse House ในญี่ปุ่น คำตอบใหม่บนพื้นที่เดิม ไม่ต้องรื้อใหญ่เพื่อสร้างเยอะ

CASACO บ้านไม้เก่าที่กลายเป็นพื้นที่ใหม่สำหรับกิจกรรมในชุมชนบนเขา

สถาปัตยกรรมก็เหมือนสังขารมนุษย์ ล้วนต้องมีการปรุงแต่งให้เข้ากับกาลเวลา สถาปัตยกรรมที่ดีจึงประกอบไปด้วยกาลเทศะที่ดีในตัวของมันเอง ถ้าสังขารไม่ดี ก็ต้องทำการปรุงแต่งให้รับใช้กับสังคมที่มันตั้งอยู่ ในหมู่บ้านบนเขาแห่งหนึ่งในเมืองโยะโกะฮะมะ จังหวัดคะนะงะวะ หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในย่านชุมชนบนเขา มีบ้านหลังไม้เก่าในชุมชนที่ถูกปรุงสังขารให้ไปกับกิจกรรมใหม่ของชุมได้น่าสนใจ เรียบง่าย แต่มากด้วยกระบวนการคิด ที่ขอแนะนำในคราวนี้คือ CASACO ออกแบบโดยสำนักงานสถาปนิกในท้องที่โยะโกะฮะมะคือ Tomito Architecture ที่รับหน้าที่ปลุกชีวิตบ้านเก่านี้ สถาปนิกออกแบบโดยรวมหลากโปรแกรมเข้าด้วยกัน ทั้ง เกสต์เฮาส์ ร้านกาแฟ แชร์เฮาส์ (บ้านที่ใช้พื้นที่ส่วนกลางรวมกันในหลายครอบครัว) เพื่อให้บ้านที่เปิดรับหลายครอบครัวให้เข้ามามีกิจกรรมร่วมกันในชุมชนนี้ ให้บ้านไม้ 2 ชั้น อายุ 65 ปี…

Continue ReadingCASACO บ้านไม้เก่าที่กลายเป็นพื้นที่ใหม่สำหรับกิจกรรมในชุมชนบนเขา

Nishinoyama House บ้านเล็กสิบหลังในพื้นที่สุดจำกัดของญี่ปุ่น

ที่พักอาศัยได้ปรับเปลี่ยนตัวมันไปตามโจทย์แต่ละยุคสมัยตลอดมา แต่ละช่วงเวลามีโจทย์ที่เกิดจากสภาวะของสังคมแต่ละยุคไม่เหมือนกัน สิ่งเหล่านั้นผลักดันให้ที่พักอาศัยมีรูปร่างหน้าตาสะท้อนไปกับยุคสมัย สิ่งแวดล้อม สังคมในช่วงนั้น ณ ย่านชานเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเคียวโตะ ญี่ปุ่น ประเทศที่ได้ขึ้นชื่อพัฒนาการที่อยู่สมัยใหม่อาศัยได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมีรูปแบบเฉพาะขึ้นมา หลายชิ้นงานมีที่มาจากการแก้ปัญหาตามโจทย์ของบ้านแต่ละหลังได้อย่างน่าสนใจ เช่นกับงานบ้านนิชิโนะยะมะ เป็นที่อยู่แบบบ้านจัดสรรร่วมสมัยที่ท้าทายกรอบเดิมที่เราคุ้นชินกับหมู่บ้าน เนื่องจากในที่ดินขนาดย่อมต้องบรรจุบ้านจำนวน 10 หลังที่มีความต้องการต่างกัน และยังสอดที่จอดรถไว้ชั้นล่างอีกด้วย การแก้ปัญหาเริ่มจากที่สถาปนิกคะซุโยะ เซะจิมะ แห่ง Kazuyo Sejima & Associates ได้ทำการสอดแทรกทางเดินเป็นตรอกขนาดเล็กให้บ้านหลายหน่วยเชื่อมต่อกันได้แบบตรอกขนาดเล็กที่แทรกไปในเมืองโบราณในเคียวโตะเพราะมีการซอยที่ดินเป็นระบบตารางตามลำดับชั้นในสังคม ทำให้บ้านขนาดเล็กของหลายชนชั้นมีตรอกเล็กน้อยเชื่อมหากัน แต่บ้านโบราณใช้สวนในบ้านแต่ละหลังในการแก้ปัญหาที่แคบด้วยเทคนิคการยืมวิวสวนของบ้านข้างเคียงเข้ามายังภายในบ้าน ในงานบ้านนิชิโนะยะมะเช่นกัน สวนเล็กสวนน้อยถูกแทรกในยังบ้านต่างๆ…

Continue ReadingNishinoyama House บ้านเล็กสิบหลังในพื้นที่สุดจำกัดของญี่ปุ่น