Eating Animals: เบื้องหลังอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ที่ทำร้ายทุกชีวิตบนโลก

Reading Time: 2 minutes
3,185 Views

หากย้อนเวลากลับได้มนุษย์คงจะต้องคิดหาวิธีทำเกษตรกรรมกันใหม่ที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ ไม่สร้างปัญหาด้านสุขภาพอนามัยให้ทั้งคนและสัตว์ รวมถึงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งที่เป็นอยู่อยู่ทุกวันนี้เป็นความผิดพลาดอันแสนเจ็บปวดของระบบเกษตรกรรมและอาหารของโลก ทุกชีวิตตกเป็นเหยื่อของการดัดแปลงธรรมชาติให้บิดเบี้ยว สารคดีเรื่อง Eating Animals กำลังสะท้อนความจริงในมุมที่เราไม่รู้หรือหลายคนรู้แต่ไม่สนใจ

จากหนังสือขายดีในปี 2009 ใช้ชื่อเดียวกันคือ Eating Animals เขียนโดย Jonathan Safran Foer ถูกนำมาแปลงเป็นหนังสารคดีด้วยฝีมือผู้กำกับฯ Christopher Quinn โดยผู้เขียนหนังสือมีส่วนร่วมในการทำบทสารคดีด้วย และเสียงบรรยายโดย Natalie Portman นำความจริงเกี่ยวกับกระบวนการเร่งผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคที่ต้องแลกมากับความสูญเสียของมากมายอย่างคาดไม่ถึงทั้ง ไก่ หมู วัว ฯลฯ ถูกเร่งผลิตราวกับวัตถุไร้ชีวิต การเลี้ยงในโรงปิดที่สกปรกปราศจากสุขภาพอนามัยที่ดี, การใช้ยาปฏิชีวนะที่ยังคงมีสารตกค้างในเนื้อสัตว์, การคำนึงถึงปริมาณและทำราคาให้ถูกในระบบการตลาด ทั้งหมดล้วนถูกป้อนเข้าสู่ระบบบริโภคอาหารของโลก คำถามง่าย ๆ ก็คือความบิดเบี้ยวทางพันธุกรรม ยาปฏิชีวนะต้านแบคทีเลีย รวมทั้งสารเคมีเหล่านั้นจะไปไหน  มีวิจัยมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ไม่ถูกเปิดเผย สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งไปกว่านั้นก็คือแม้กระทรวงสาธารณะสุขของสหรัฐฯ จะรับรู้ แต่ก็โดนกลุ่มทุนเกษตรยักษ์ใหญ่ยัดเงินปิดปากและผลักดันกฎหมายที่เอื้อให้พวกเขาทำอุตสาหกรรมแบบเดิมนี้ต่อไป เกษตรกรรายย่อยที่คุ้นเคยกับการเกษตรแบบเก่าและผู้ที่ต้องการค้นหาความจริง หรือนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต้องเผชิญอุปสรรคมากมายที่จะเผยความจริงให้สาธารณะชนรู้ แม้มนุษย์พัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ทว่าเราก็สร้างภัยพิบัติไว้กับโลกอย่างที่ไม่เคยมีสรรพชีวิตไหนเคยทำมาก่อน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเชื่อว่ากฎไหนแข็งแรงกว่ากันระหว่างกฎที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อครองโลกหรือกฎธรรมชาติที่ดำเนินไปมานานนับล้านปี และพร้อมจะย้อนคืนความฉลาดแบบไม่เฉลียวของมนุษย์ในอนาคตอันใกล้

นับเป็นโอกาสดีที่กลุ่มกรีนพีซประเทศไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ Documentary Club ได้จัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ดูฟรีที่ Lido Connect มีสองรอบคือวันที่ 16 และ 19 ตุลาคม 2562  สำหรับคืนวันที่ 16 ตุลาคม 2562 เนื่องในวันอาหารโลก World Food Day ได้จัดให้มีพูดคุยหลังหนังฉายจบด้วย โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้งสามคือ ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.), คุณอำนาจ เรียนสร้อย เกษตรกรเลี้ยงไก่เชิงนิเวศ เจ้าของแทนคุณออร์แกนิค, และ รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซประเทศไทย

Eating Animals (ตัวอย่างบรรยายไทย)

คุณรู้หรือไม่ว่า เนื้อสัตว์ที่คุณกินมีที่มาอย่างไร?ความต้องการในการบริโภคเนื้อสัตว์ในราคาที่ถูกและปริมาณมากนั้น คือเบื้องหลังของปัญหาสิ่งแวดล้อมนานับประการ และเป็นภัยต่อสุขภาพของเรากรีนพีซ ประเทศไทย ขอชวนชม "Eating Animals" ภาพยนตร์สารคดีสุดฮือฮา ดัดแปลงจากหนังสือโด่งดังของ โจนาธาน ซาฟราน โฟเออร์ ที่เปิดเผยอีกด้านของอุตสาหกรรมอาหารตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งโลกเคลื่อนย้ายจากการเป็นชุมชมเกษตรกรรมดั้งเดิมสู่ระบบอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดยักษ์ เพื่อมุ่งผลิตเนื้อสัตว์, ไข่, นม ปริมาณมหาศาลหนังเริ่มด้วยคำถามง่ายๆ ว่า เนื้อสัตว์ทั้งหลายที่เราบริโภคอย่างมากมายในแต่ละวันนั้นมาจากไหน? แล้วนำเราไปพบคำตอบน่าตื่นตะลึงเบื้องหลังการผลิตที่เต็มไปด้วยการล้างผลาญ อันส่งผลกระทบร้ายแรงทั้งต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ อย่างที่เราอาจไม่เคยตระหนักถึงมาก่อน!* * * * * * * * * * FULL!ขณะนี้ที่นั่งถูกจองหมดทั้งสองรอบแล้วค่ะ ขอบพระคุณทุกท่านมากๆ นะคะ ^^* * * * * * * * * * *ชม Eating Animals ฟรี!2 รอบ ที่ LIDO CONNECT :📌 พุธที่ 16 ตุลาคม 2562 เวลา 19.00 น. ***ที่นั่งเต็มแล้ว***จบแล้วสนทนาหัวข้อ "What’s in our meat? มีอะไรในเนื้อสัตว์ที่เรากิน" กับ- ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.)- อำนาจ เรียนสร้อย เกษตรกรเลี้ยงไก่เชิงนิเวศ เจ้าของแทนคุณออร์แกนิคฟาร์ม และ- รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์ กรีนพีซ ประเทศไทยดำเนินรายการโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล(กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง)📌 เสาร์ที่ 19 ตุลาคม เวลา 19.00 น. ***ที่นั่งเต็มแล้ว***

โพสต์โดย Documentary Club เมื่อ วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2019

 

อ้างอิง: Facebook: Documentary Club, www.rottentomatoes.com, www.eatinganimalsmovie.com, en.wikipedia.org


warunyu udomkanjananon
warunyu udomkanjananon
Art may not be the only way to brighten the world, but it is essential to create a beautiful life. รักงานเขียนทำงงานอิสระด้านสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ทุกครั้งที่ทำงานก็มีอะไรใหม่ๆให้เรียนรู้อยู่เสมอ ตัวหนังสือแทนความคิดที่เรามีกับโลกภายนอก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างยากที่จะแยกขาดจากกันได้