มิติใหม่แห่ง ‘การภาวนา’ ผ่านดนตรีอิเล็กทรอนิกส์โดยพระเซน Yogetsu Akasaka

คุณเข้าใจความหมายของ “การภาวนา” ว่าอย่างไร? หลายคนอาจคิดว่าการภาวนาหมายถึงการสวดวิงวอนร้องขอ แต่จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ จากการอ่านหนังสือหลายเล่มของของ อ.ประมวล เพ็งจันทร์ (นักเขียนที่มีผลงานมากมายเกี่ยวกับหลักพุทธศาสนาและการภาวนาทำสมาธิ) ​เราพอจะสรุปความหมายของ “ภาวนา” ได้ว่า หมายถึงการกำหนดจิตให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบันขณะ เมื่อประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งใด ไม่ว่า ภาพ เสียง กลิ่น สัมผัส ก็ให้จิตเพียงรู้ แต่ไม่ตัดสิน ไม่ให้ความหมายใดๆ ในความหมายนี้ทำให้การภาวนาคล้ายการทำสมาธิ แต่เราไม่จำเป็นต้องนั่งเฉยๆ และหลับตาเพียงอย่างเดียว แต่ยังอาจเดิน นั่งลืมตา หรือทำอะไรอีกหลายอย่างก็ได้…

Continue Readingมิติใหม่แห่ง ‘การภาวนา’ ผ่านดนตรีอิเล็กทรอนิกส์โดยพระเซน Yogetsu Akasaka

Studio BE ชวนเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคนผิวดำผ่านศิลปะ

หลายคนหลงเสน่ห์เมืองนิวออร์ลีน รัฐลุยเซียน่า สหรัฐอเมริกา เพราะดนตรีแจ๊ส อาหารครีโอ (Creole Cuisine) และเทศกาลมาดิกราส์ (Mardi Gras) แต่ถ้าคราวหน้ามีโอกาสไปเที่ยวเมืองแห่งนี้อีก เราแนะนำให้เพิ่มโปรแกรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนผิวดำเข้าไปในแผนการเดินทางด้วย เพราะเมืองแห่งนี้ขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม รวมทั้งมีประชากรเป็นคนผิวดำถึงราว 59% Studio BE คือสถานที่ที่คุณจะได้รู้จักวัฒนธรรมของคนผิวดำ (Black Culture) ผ่านศิลปะ ที่นี่เป็นแกลเลอรี่ศิลปะที่ก่อตั้งและจัดการโดยองค์กรทางศิลปะที่ไม่แสวงหาผลกำไร Eternal Seeds และตั้งอยู่ในโกดังเก่าสุดเท่ที่อยู่ไม่ไกลจากย่าน French Quarter นัก ถ้าคุณไปถึงหมุดหมายตามในกูเกิ้ลแมพแล้ว บอกได้เลยว่าคุณจะรู้ทันทีว่าอาคารไหนคือ…

Continue ReadingStudio BE ชวนเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมคนผิวดำผ่านศิลปะ

Helen Ahpornsiri ชวนรักษาพืชพรรณผ่านศิลปะการทับดอกไม้ที่ไม่ทำร้ายธรรมชาติ

ไม่แน่ใจว่าอะไรจะสวยละมุนกว่ากันแน่ ระหว่างศิลปินสาวจากอังกฤษคนนี้และผลงานศิลปะของเธอ Helen Ahpornsiri สร้างสรรค์งานศิลปะเป็นรูปสัตว์ ดอกไม้ และพืชพรรณชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยเธอใช้วิธีการที่น่าสนใจมาก นั่นคือ เก็บดอกไม้ ใบไม้ หรือแม้แต่สาหร่ายมา แล้วใช้ศิลปะการทับดอกไม้แบบดั้งเดิม (Flower Pressing) ก่อนจะเอาดอกไม้ใบไม้ที่ถูกทับจนแห้งและคงรูปทรงสีสันแบบเดิมไว้ มาค่อยๆ ปะติดปะต่อทีละชิ้นคล้ายการต่อจิ๊กซอว์ที่ประณีตและละเอียดสุดๆ ออกมาเป็นรูปสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติที่สวยงามน่ารักน่าชัง “ฉันสนใจการเก็บรักษาพืชพรรณต่างๆ ด้วยวิธีการทับดอกไม้ และเอามันมาใช้เล่าเรื่องในแบบใหม่” เธอกล่าวไว้ แล้วก็ไม่ต้องห่วงว่าการเก็บดอกไม้มาทับของเธอจะเป็นการทำลายธรรมชาติ เพราะดอกไม้ใบไม้ส่วนมากที่ Helen นำมาใช้ มาจากสวนเล็กๆ ที่เธอปลูกเอง…

Continue ReadingHelen Ahpornsiri ชวนรักษาพืชพรรณผ่านศิลปะการทับดอกไม้ที่ไม่ทำร้ายธรรมชาติ
Read more about the article Haze: Coming Soon ศิลปะส่งเสียง อาเซียนต้องแก้ปัญหา PM 2.5 จริงจังเสียที!
Fahmi Reza’s ‘Caution: Jerebu Is Coming Back’ bright yellow mural on the side of the Wisma Megah building in Kuala Lumpur. -- Annice Lyn

Haze: Coming Soon ศิลปะส่งเสียง อาเซียนต้องแก้ปัญหา PM 2.5 จริงจังเสียที!

มาเลเซียเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 เป็นประจำทุกปี โดยสาเหตุหลักมาจากการเผาทำลายป่าและพื้นที่ทางเกษตรของประเทศเพื่อนบ้าน ฟังดูคุ้นๆ เหมือนบ้านเราเลยใช่ไหม แต่ประเทศเขาเจอกับปัญหานี้มายาวนานกว่าประเทศเราเสียอีก เมื่อเป็นปัญหาที่ประชาชนต้องพบเจอมาอย่างต่อเนื่อง เรื่องมลพิษทางอากาศจึงเป็นอีกหนึ่งประเด็นทางสังคมที่ศิลปินและนักเคลื่อนไหวในมาเลเซียนำเอาไปสร้างสรรค์ผลงานและความเคลื่อนไหว เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เราทุกคนควรมีต่อการหายใจอากาศบริสุทธิ์ อย่างเมื่อต้นเดือนกันยายนปี 2565 ที่ผ่านมา ศิลปิน/กราฟิกดีไซเนอร์/นักเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองคนดัง Fahmi Reza ก็เพนต์ผนังตรงหัวมุมถนนด้านหนึ่งกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นตัวอักษรขนาดใหญ่ว่า “Caution: Jerebu is coming back” โดย Jerebu ที่ว่าเป็นภาษามาเลย์ หมายถึง ฝุ่นควัน (haze) และ…

Continue ReadingHaze: Coming Soon ศิลปะส่งเสียง อาเซียนต้องแก้ปัญหา PM 2.5 จริงจังเสียที!

ครูญี่ปุ่นหัวใส! สร้างศิลปะจากใบไม้แห้งให้เด็กสนใจและสนุกกับศิลปะ

เรื่องความคิดสร้างสรรค์แบบคิ้วท์ๆ ต้องยกให้ญี่ปุ่นเขาจริงๆ เพราะแค่ใบไม้ธรรมดาที่เกลื่อนกลาดอยู่ทั่วพื้นก็ยังอุตส่าห์เอามาทำให้เป็นงานศิลปะน่ารักน่าชังเพื่อเรียกความสนใจจากเด็กๆ ได้ งานนี้เป็นไอเดียของ ฮิโรทากะ ฮามาซากิ (Hirotaka Hamasaki) คุณครูศิลปะในโรงเรียนแห่งหนึ่งของจังหวัดนารา (Nara) ที่คิดหาวิธีว่า เอ๊... จะทำยังไงดีนะ ให้นักเรียนของเขาหันมาสนใจและสนุกกับศิลปะ ซึ่งเขาก็คงไม่คิดมาก่อนว่า จะเจอคำตอบนั้นบนพื้นภายในบริเวณโรงเรียนนี่เอง เป็นเวลากว่าสิบปีแล้วที่คุณครูฮามาซากิ ใช้เวลาในช่วงฤดูใบไม้ร่วงกวาดใบไม้หลากสีบนพื้นโรงเรียนให้กลายเป็นตัวการ์ตูนน่ารักที่เด็กๆ หลงใหล ไม่ว่าจะเป็น เจ้าพิคาชู (Pikachu) อันปังแมน (Anpanman) รถบัสแมว จากเรื่อง My Neighbor’s Totoro…

Continue Readingครูญี่ปุ่นหัวใส! สร้างศิลปะจากใบไม้แห้งให้เด็กสนใจและสนุกกับศิลปะ

สะท้อนวิกฤติโควิด-19 ผ่านมุมมองช่างภาพแฟชั่น ทอม โพธิสิทธิ์

ทอม โพธิสิทธิ์ เป็นช่างภาพที่มักนำเอาประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาสื่อสารผ่านงานภาพถ่ายแนวแฟชั่นสวยเนี้ยบกริบ ผลงานที่ผ่านมาของเขามีทั้งภาพถ่ายที่พูดเรื่องชนกลุ่มน้อย การอนุรักษ์สัตว์ทางทะเล และการรณรงค์บริจาคอวัยวะ เป็นต้น ล่าสุดเมื่อราวต้นเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา เรายังได้เห็นภาพถ่ายชุดใหม่ของทอมที่คราวนี้เขาจับเอาผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ สวมชุดยูนิฟอร์มอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง แล้วมาโพสต์ท่าถ่ายรูปขณะกำลังเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยผู้คนที่ทอมเลือกมาในครั้งนี้ส่วนมากอยู่ในสายงานบริการที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการระบาดของ COVID-19 ไปเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็น น้องๆ นักแสดงจากคณะละครชาตรี จงกล โปร่งน้ำใจ ที่นอกจากจะเรียนไปด้วยและทำงานเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนไปด้วยแล้ว ก็ยังมีรายได้หลักจากการเป็นนางรำแก้บนที่ศาลพระพรหมเอราวัณ ซึ่งตลอดหนึ่งปีกว่าที่ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา พวกเขาก็สูญเสียรายได้แทบจะทั้งหมดไป, นักมวยนามว่า “ยอดสยาม ส.จ. วิชิตเมืองแปดริ้ว”…

Continue Readingสะท้อนวิกฤติโควิด-19 ผ่านมุมมองช่างภาพแฟชั่น ทอม โพธิสิทธิ์

‘Bangkok Old Building Model’ กาชาปองชุดตึกเก่าย่อส่วนที่ช่วยเติมวันเวลาที่ขาดหาย

หลายคนคงเคยไปเดินเล่น เซลฟี ถ่ายรูปเล่นย่านถนนเจริญกรุงแล้วพบว่า รูปทรงบ้านเรือนในย่านนั้นมีเสน่ห์ ที่รู้สึกแบบนั้นคงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะมีการปลุกกระแสรักษ์เมืองเก่า ทว่าอาคารเหล่านั้นล้วนมีเรื่องราวในตัวเองและชวนให้เสาะหาเติมเต็มช่องว่างของกาลเวลา นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความสนใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นเล็ก ในรูปแบบของกาชาปองตึกย่อส่วนของศิลปิน นักออกแบบ - ฐปนัท แก้วปาน Blue Bangkok คือกลุ่มนักออกแบบที่มีฐปนัท เป็นแกนหลัก ร่วมกับสุภัสสรา เนตรบำรุง, เชษฐชาติ ทาชาติ และสุริยา วังบอน โดยมีจุดมุ่งหมายจะผลิตงานออกแบบเชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงเทศกาล Bangkok Design Week 2021 ถือเป็นการเปิดโอกาสให้พวกเขาส่งงานเข้าร่วมใช้ชื่อผลงานว่า Bangkok…

Continue Reading‘Bangkok Old Building Model’ กาชาปองชุดตึกเก่าย่อส่วนที่ช่วยเติมวันเวลาที่ขาดหาย

ศิลปินฝรั่งเศส Cal เปลี่ยนมุมเมืองที่ดูมืดหม่นให้ดูน่ามองมากขึ้นด้วยศิลปะ

ผลงาน street art ของศิลปินชาวฝรั่งเศสที่ใช้นามว่า Cal น่าจะเป็นอีกตัวอย่างที่แสดงให้เราเห็นว่า สตรีทอาร์ตที่ดีไม่ใช่การทำลายข้าวของอย่างที่พวกมือบอนชอบไปขีดๆ เขียนๆ ตามฝาผนัง แต่เป็นศิลปะสวยงามน่ารักที่เข้าไปทำให้มุมเมืองที่ดูมืดหม่นทรุดโทรมกลับสว่างไสวขึ้นมา อย่างน้อยก็เป็นการเรียกรอยยิ้มของคนผ่านไปผ่านมาที่พบเห็นมัน Cal เป็นชาวเมือง Lyon ผลงานส่วนมากของเขาจึงอยู่ในเมืองบ้านเกิดแห่งนี้ ไม่ว่าจะในสวนสาธารณะ ลานจอดรถ หรือตามท้องถนน Cal บอกว่าเขาเดินไปตามพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเยอะมาก และการเดินก็ทำให้เขาเห็นอะไรต่อมิอะไรเยอะไปหมดเช่นกัน เมื่อบวกกับความเป็นคนช่างสังเกตและมีหัวคิดสร้างสรรค์ เขาจึงมักมองเห็นรายละเอียดที่น่าสนใจในสิ่งธรรมดาสามัญตามท้องถนน “ผมมักมองว่าหินก้อนนั้น ฟุตบาธตรงนี้ ต้นไม้ หรือก้อนอิฐ มันดูเหมือนอะไรสักอย่าง” แน่นอน…

Continue Readingศิลปินฝรั่งเศส Cal เปลี่ยนมุมเมืองที่ดูมืดหม่นให้ดูน่ามองมากขึ้นด้วยศิลปะ

‘Communitea: ชุมชนคนจิบชา’ ชวนศิลปินสร้างงานศิลป์สนับสนุนศูนย์ชาวจีนในลอนดอน

วิกฤตการณ์โควิด-19 ทำให้บริษัทห้างร้านและองค์กรหลายแห่งจำต้องทยอยปิดตัวไป แต่สำหรับ London Chinese Community Centre (LCCC) สถาบันทางวัฒนธรรมจีนที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงลอนดอนนั้น สาเหตุที่ต้องรูดม่านลงไม่ใช่เพียงเพราะพิษโควิด แต่ยังเป็นเพราะการเติบโตของลัทธิเหยียดผิวและความเกลียดชังคนเอเชียที่กำลังแพร่หลายในโลกตะวันตก แต่ก็ใช่ว่าชาวตะวันตกทุกคนจะเกลียดคนเอเชียเสมอไป อย่างน้อยก็มีดีไซเนอร์กลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความเท่าเทียมของมนุษย์ไม่ว่าจะสีผิวหรือสีผมใดและเห็นค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรม ไม่ว่าตะวันตกหรือตะวันออก พวกเขารวมกลุ่มกันในนาม Communitea เพื่อหาทางระดมทุนมากอบกู้ LCCC ไว้ โดยการที่ชื่อกลุ่มของพวกเขาใช้คำว่า tea (ชา) แทนที่จะเป็น Community ที่หมายถึงชุมชนเพราะต้องการสื่อถึงวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวจีน โดยเฉพาะเวลามีแขกไปใครมา ชาวจีนก็มักจะเสิร์ฟชาร้อนๆ เป็นการต้อนรับด้วยไมตรี ซึ่งบังเอิญว่าวัฒนธรรมการดื่มชานั้นมีอยู่ในอังกฤษพอดีเหมือนกัน Communitea…

Continue Reading‘Communitea: ชุมชนคนจิบชา’ ชวนศิลปินสร้างงานศิลป์สนับสนุนศูนย์ชาวจีนในลอนดอน

The Youth Activity Center แปลงโรงงานเก่าเป็นศูนย์กิจกรรมเยาวชนกลางปักกิ่ง

การพัฒนาของเมืองใหญ่มีสิ่งที่ได้มาคือความเจริญ ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่ต้องแลกคือวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เปลี่ยนไป และในความเป็นจริงคือ...ต้องทำใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงให้ได้ แม้ว่าจะเสียวิถีชีวิตดั้งเดิม แต่คำถามที่สำคัญกว่าคือเราจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราปล่อยให้มันเป็นไปตามยถากรรม หรือหาวิธีให้มันกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ดังเช่นชานเมืองเป่ยจวง กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่สวยงาม มีภูเขาล้อมรอบ แต่ผลจากการเปลี่ยนแปลงเขตอุตสาหกรรมทำให้เกิดโรงงานร้างจำนวนมากในเมืองนี้ ดังเช่นโครงการปรับปรุงโรงงานเก่าแห่งนี้ จากพื้นที่โครงการเดิมเป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตารางเมตร มันได้ถูกปรับเปลี่ยนให้มีความร่วมสมัย Rede Architects และ Moguang Studio คือสำนักงานสถาปนิกที่รับโจทย์ให้ออกแบบปรับปรุงโรงงานเก่าที่ร้างไปแล้วให้กลับมามีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งด้วยการเป็นศูนย์เยาวชน กิจกรรมใหม่ที่เสริมเข้ามามีทั้งร้านอาหาร ห้องเรียน ห้องประชุม และบ้านพักของผู้มาใช้โครงการ ตัวอาคารเป็นแบบโรงงานอุตสาหกรรมที่พบได้ชินตา มีลักษณะเป็นกล่องเรียบง่ายทึบตัน…

Continue ReadingThe Youth Activity Center แปลงโรงงานเก่าเป็นศูนย์กิจกรรมเยาวชนกลางปักกิ่ง