โรงเรียนประถมในผู่ตง เซี่ยงไฮ้ ออกแบบเพื่อเด็กหลายวัยใช้พื้นที่ร่วมกันแบบหลากหลาย

ในโลกของเด็ก สเกลหรือขนาดสัดส่วนเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต ในแง่การออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นประเด็นที่จะถูกนำมาคำนึงในการออกแบบงานที่เกี่ยวข้องกับช่วงวัยนี้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการเจริญเติบโตเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ห้องเรียนจากชั้นอนุบาลมาถึงชั้นประถมจึงไม่สามารถใช้ขนาดเดียวกันได้เลย อีกทั้งยังมีประเด็นในเรื่องของจิตวิทยาในการออกแบบที่ต้องคำนึงถึงอีกหลากประการ คำถามที่ชวนคิดวันนี้คือ ถ้าออกแบบโรงเรียนที่มีหลายวัยใช้พื้นที่เดียวกัน จะออกแบบอย่างไรให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ใช้งานได้

ณ เมืองผู่ตง นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เกิดโรงเรียนที่ตอบคำถามในประเด็นเหล่านี้ออกมาเป็นสถาปัตยกรรมในชื่อว่า Shanghai Fushan Tangcheng Foreign Language Primary School เป็นโรงเรียนเปิดการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงชั้นประถม ออกแบบโดยสำนักงานสถาปนิกสัญชาติจีน Huajian Group Shanghai Architectural Design & Research Institute แม้ว่าจะมีห้องเรียนที่แตกต่างกันไปตามลักษณะกายภาพ แต่ส่วนที่เชื่อมแต่ละวัยเข้าด้วยกันคือพื้นที่สาธารณะแบบผสม นักเรียนที่อยู่ในชั้นประถมตั้งแต่อายุ 6-11 ขวบซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายมาก พื้นที่เหล่านี้จะเชื่อมชั้นบนและชั้นล่างกันอย่างใกล้ชิด และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ ลานและบันไดจำนวนหนึ่งเชื่อมต่อกับพื้นที่สาธารณะเข้าด้วยกันทั้ง 2 ระดับทำให้เกิดพื้นที่ที่มีขนาดสัดส่วนหลากหลาย ลักษณะของพื้นที่จะเป็นแบบคอร์ตหรือผนังล้อมลาน ที่สร้างความรู้สึกปลอดภัยพร้อมกับเชื่อมโยงพื้นที่ภายในและภายนอกเข้าให้กับพื้นที่ในร่มแบบกึ่งปิดกึ่งเปิด ทำให้สามารถสัมผัสกับแสงธรรมชาติได้ด้วย ทำให้เด็กที่มีอายุต่างกันสามารถมีพัฒนาการเติบโตไปพร้อมกับพื้นที่ในโรงเรียนนี้ได้

พื้นที่สาธารณะตรงกลางเชื่อมวัยเหล่านี้มีอรรถประโยชน์ พวกเขาใช้งานพื้นที่เหล่านี้ใน social platform ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่น การพูดคุยถกเถียง กลายเป็นโรงละครกลางแจ้ง หรือใช้เป็นพื้นที่พักระหว่างคาบเรียน 10 นาที การออกแบบโรงเรียนแห่งนี้มีการออกแบบให้ยืดหยุ่นเหมือนฟองน้ำ สามารถรองรับน้ำฝนจากสวนพื้นที่สีเขียว เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ธรรมชาติไปพร้อมๆ กับการเรียนการสอน

หัวใจและการเรียนรู้อาจจะอยู่ที่จินตนาการอันอิสระ ที่สร้างสรรค์ให้เกิดความสุขในพื้นที่ของโรงเรียนเพื่อเด็กๆ ผู้เป็นอนาคตของชาติ

 

แปลและเรียบเรียงจาก: www.archdaily.com
ที่มา: www.gooood.cn, www.aisa.com.cn

สาโรช พระวงค์

สถาปนิกผู้ริเป็นนักเขียน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนใจในสถาปัตยกรรมที่สร้างคุณภาพที่ชีวิตที่ดีขึ้น เลยมาเขียนเล่าให้ผู้อ่านเป็นเนืองๆ

See all articles