เพราะเราไม่ได้อยู่ร่วมกันในเมืองอย่างโดดเดี่ยว เมืองเกิดจากหน่วยย่อยของแต่ละที่อยู่อาศัยเข้ามารวมกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน แชร์ลมหายใจกันและกัน การออกแบบเมืองจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมืองที่มีการออกแบบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีย่อมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีงามแก่สังคม ถ้าอยากรู้ว่ามันมีแบบไหน วิธีไหน จะได้ไปนำเสนอหรือเก็บไว้ลงมือเปลี่ยนคุณภาพชีวิตกัน ลองมาหาอ่านไว้ได้เลย
Sky Forest Scape สวนนันทนาการบนดาดฟ้ากลางสยามสแควร์
ความดีงามของสวนดาดฟ้าแห่งนี้คือสามารถหาพื้นที่พักผ่อนกลางกรุงได้ง่ายๆ และฟรี สวนนี้ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมโดย Shma ด้วยแนวคิดให้ลายพื้นล้อไปเส้นสายของอาคาร Siamscape พร้อมไปกับสร้างสเต็ปเวที ต้นไม้ไว้ทางทิศตะวันตกให้เกิดร่วมเงาในยามเย็นกับสวน ให้บรรยากาศดีขึ้นพร้อมมองดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปพร้อมกับเส้นสายของตึกระฟ้าของกรุงเทพฯ
คลิกอ่าน: https://wordpress-1299448-4724881.cloudwaysapps.com/sky-forest-scape/
Tainan Spring จากช้อปปิ้งมอลล์เก่าสู่สวนน้ำสาธารณะในใต้หวัน
เศษซากอาคารที่ร้างการใช้งานที่เป็นปัญหาในหลายสังคม ถ้าไม่ทุบทิ้งไปเลย จะมีวิธีแก้ปัญหาให้อยู่ร่วมกันได้อย่างไร มีคำตอบจากการออกแบบโดย MVRDV ความน่าสนใจของการใช้ประโยชน์จากซากอาคารเก่าอยู่ที่ทำการรื้ออาคารเดิมออกไป แล้วเหลือเป็นบางส่วน จากนั้นแทรกสวนน้ำเข้าไปจนมีเอกลักษณ์เฉพาะมาก จากพื้นที่ร้างกลายเป็นแหล่งนันทนาการให้กับเมืองได้อย่างไม่ยากเย็น แค่ใช้การออกแบบเข้ามาช่วยแก้เท่านั้นเอง
คลิกอ่าน: https://wordpress-1299448-4724881.cloudwaysapps.com/tainan-spring/
One Green Mile จากพื้นที่ว่างใต้ทางยกระดับสู่พื้นที่สาธารณะมากประโยชน์ในมุมไบ
ณ นครมุมไบ อินเดีย ก็เป็นอีกแห่งที่ได้เกิดปัญหาจากพื้นที่เหลือของเมืองจากทางยกระดับคล้ายกับเมืองใหญ่ในหลายมุมโลก มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้หลายวิธีการ แต่มีวิธีของสถาปนิก MVRDV ที่เสนอให้เติมพื้นที่นันทนาการของเมืองแทรกเข้าไปแทน กลายเป็นห้องนั่งเล่นสาธารณะให้คนมุมไบ เพิ่มไฟส่องสว่างยามค่ำคืนให้ดูปลอดภัย เท่านี้เมืองก็น่าอยู่ขึ้นอีกโข
คลิกอ่าน: https://wordpress-1299448-4724881.cloudwaysapps.com/one-green-mile
Roof Square พื้นที่สันทนาการใต้ทางด่วน สถาปัตยกรรมคำตอบใหม่ช่วยฟื้นฟูความสัมพันธ์ชุมชน
ปัญหาการขาดความเชื่อมต่อของชุมชนเดิมเมื่อมีทางรถไฟลอยฟ้าเข้ามาคั่น วิธีแก้คือใส่การเชื่อมต่อด้วยสถาปัตยกรรมที่รองรับกิจกรรมใหม่เข้ามาแทนความรกร้าง ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ ทดลองด้วยการเติม Roof Square ที่มีกิจกรรมทั้งค้าขาย นันทนาการ ทำให้แปลงสภาพจากซอกหลืบกลายเป็นพื้นที่เยียวยา เสริมชีวิตชีวาให้กับเมืองใหญ่ ถ้าเสริมพื้นที่แบบนี้ไปทั่วเมือง นครใหญ่คงไม่มีซอกร้างให้กังวลใจ
คลิกอ่าน https://wordpress-1299448-4724881.cloudwaysapps.com/roof-square
ROHM Theatre Kyoto ชุบชีวิตอาคารเก่า เติมพื้นที่ทางวัฒนธรรมให้เมืองและคนในชุมชน
สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ถูกสร้างด้วยความยอดนิยมทั่วโลกในศตวรรษที่ 20 หลายที่ถูกทุบทิ้งไปจากการเสื่อมสภาพของอาคาร หลายแห่งถูกปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยได้ดั่งเช่นที่เมืองเกียวโตะ ประเทศญี่ปุ่น จากเกียวโตไคคังได้ถูกปรับปรุงโดย Kohyama Atelier กลายเป็น ROHM Theatre Kyoto ที่มี ROHM Square เป็นลานกิจกรรมของเมืองให้มีความคึกคัก เกิดชีวิตชีวาด้วยการให้ความสำคัญแก่พื้นที่สาธารณะที่ไปได้กับของเก่า
คลิกอ่าน: https://wordpress-1299448-4724881.cloudwaysapps.com/rohm-theatre-kyoto
Dafne Schippers สะพานอเนกประสงค์ เชื่อมย่านเก่ากับเมืองใหม่ในอัมสเตอร์ดัม
ในประเทศที่มีการใช้จักรยานคือลมหายใจหลักของการเดินทางอย่างเนเธอร์แลนด์ย่อมมีงานดีไซน์ที่เกี่ยวกับจักรยานมมาให้เราว้าวได้เสมอ อย่างเช่นสะพานลูกผสมชื่อว่า ‘Dafne Schippers’ที่มีการใช้งานน่าตื่นเต้นด้วยการผสมเข้าไปทั้งโรงเรียนใต้สะพาน หลังคาเปิดให้เป็นทางวิ่งอย่างอเมซิ่ง นี่ก็เพราะการออกแบบ คือการแก้ปัญหา
คลิกอ่าน: https://wordpress-1299448-4724881.cloudwaysapps.com/dafne-schippers