ทุ่งรังสิตอยู่ทางเหนือของกรุงเทพฯ มีขนาดกว้างใหญ่ และมีพื้นที่ติดต่อกันอยู่ถึง 6 จังหวัด จากอดีตในช่วงรัชกาลที่ 5 เคยเป็นพื้นที่จัดสรรออกแบบโดยสถาปนิกอิตาเลียนเพื่อการเกษตรสำหรับปลูกข้าวส่งออกไปนยังยุโรป แต่ในสภาพปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่มีความเจริญในแบบที่ไม่ใช่เป็นพื้นที่ชนบทสำหรับการเกษตรเพียงอย่างเดียวแล้ว
ในส่วนหนึ่งของทุ่งรังสิตได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่รองรับนักศึกษาจำนวนมาก และด้วยวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มองว่ามหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่สำหรับเริงปัญญา จึงได้ทำพื้นที่พิเศษให้เป็นพื้นที่พักผ่อนแก่ชาวมหาวิทยาลัยและชุมชน จนเกิดเป็นอาคารอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ออกแบบสถาปัตยกรรมโดย บริษัทสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ และออกแบบภูมิทัศน์โดย Landprocess Landscape Architect ในภาพจำทั่วๆ ไปเมื่อเป็นการอาคารและอุทยานอยู่ด้วยกัน จะถูกออกแบบให้อยู่ด้วยกันแบบชนกันของภูมิทัศน์และสถาปัตยกรรม แต่สำหรับโครงการนี้มันถูกแบบให้กลมกลืนด้วยพื้นที่การใช้สอยภายในที่เป็น auditorium พร้อมกับพื้นที่การเรียนรู้อื่นๆ ที่เอื้อให้เกิดการส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ และในการออกแบบภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรมถูกหลอมรวมให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยการใช้วิธีสร้างกรีนรูฟคลุมส่วนทุกส่วนการใช้สอยให้อยู่ภายใต้หลังคาเดียวกัน ซึ่งช่วยลดการแผ่ความร้อนจากแสงอาทิตย์ และหลังคาเขียวทำหน้าที่ดูดซับความร้อนด้วยโครงสร้างที่ออกแบบให้เป็นแผ่นพื้น 2 ชั้น เพื่อป้องกันความชื้นจากต้นไม้ที่จะก่อความเสียหายแก่ภายในอาคาร ทำให้ภายในอาคารลดการใช้พลังงานจากการปรับอากาศโดยเครื่องกล แต่ในขณะเดียวกันก็มีการออกแบบที่คำนึงถึงการดึงแสงธรรมชาติเข้ามาใช้ภายในอาคารอย่างเพียงพอด้วยเช่นกัน ในส่วนของการตกแต่งเลือกใช้อิฐซึ่งมีความแข็งแกร่งและปลอดภัย ช่วยให้รู้สึกมีความเป็นกันเองและมีพื้นผิวที่มีความสวยงามเมื่อปะทะกับแสงธรรมชาติ เมื่อมองภาพรวมเป็นหลังคาเขียวที่ออกแบบเป็นลักษณะขั้นบันไดซึ่งมีคุณสมบัติช่วยชะลอการไหลของน้ำก่อนที่จะไหลลงสู่สระน้ำโดยรอบ ทำให้เกิดการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในโครงการผสมเข้ากับการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่รายรอบมหาวิทยาลัย ทำให้ลดการใช้น้ำประปาในอาคารนี้ได้จำนวนมาก
พื้นที่นี้ไม่ได้น่าสนใจแค่การออกแบบพื้นที่สาธารณะให้กับกรุงเทพมหานครตอนเหนือเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการคิดถึงอนาคตให้พื้นที่นี้รองรับกิจกรรมสาธารณะของทั้งชาวมหาวิทยาลัยและคนทั่วไปอีกเช่นกัน
แปลและเรียบเรียงจาก: www.archdaily.com
ที่มา: arsomsilparchitect.co.th, asacrew.asa.or.th/puey-park
Photographs:Landprocess Co. Ltd., Pat Phuchamni, Srirath Somsawat