จากเหมืองถ่านหินเก่าสู่สวนสนุกของคนในชุมชนประเทศเบลเยียม

การสร้างกิจกรรมใหม่ลงในพื้นที่ประวัติศาสตร์เก่าที่ขาดการใช้งาน ช่วยกระตุ้นให้เกิดความมิชีวิตชีวากับพื้นที่เก่าเหล่านั้นได้ มีผลดีกว่าที่จะปล่อยให้ถูกทิ้งร้างอย่างไร้ความหมาย เช่นกับที่เราจะพบได้กับโครงการประกวดแบบ be-MINE  เมืองเบอริงเคน ประเทศเบลเยียม ที่ต้องการฟื้นฟูเหมืองถ่านหินเก่าให้กลายเป็นพื้นที่สันทนาการของเมืองstreaming Baby Driver film

สำนักงานสถาปนิก Carve + OMGEVING คือผู้ชนะงานประกวดแบบ be-MINE ที่รับหน้าที่แปลงเหมืองถ่านหินเก่าสู่กิจกรรมใหม่เป็นพื้นที่สวนสนุกแห่งการเล่น ตัวสวนนี้ออกแบบให้ล้อไปภูมิประเทศเดิมที่เป็นภูเขาขนาดย่อม พื้นที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ทั้งปีนดงเสาที่มีเสาจำนวนมากวางเป็นกริดพร้อมกับติดอุปกรณ์ให้ผู้ใช้เข้าไปเล่นได้เต็มที่ ส่วนที่ 2 คือ การเล่นกับระนาบที่พับไปมาเพื่อสื่อถึงการทำเหมืองที่ยากลำบาก และส่วนสุดท้ายคอลานถ่านหินที่อยู่ส่วนบนสุดของเขา เหล่าผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะเล่นกับสถาปัตยกรรมแบบไหนตามใจชอบ ทั้งปีนด้วยเชือก ปีนด้วยปุ่ม พักชมวิวระหว่างทาง มุดเข้าถ้ำ หรือจะไถลตัวด้วยสไลเดอร์ก็ย่อมได้

ปลุกพื้นที่เก่าให้มีวิญญาณอีกครั้ง ไม่จำเป็นต้องทำให้ขึงขังจนผู้ใช้เกร็ง แต่สามารถเลือกจะให้เล่นไปกับประวัติศาสตร์ได้เช่นกัน

อ้างอิง: Trend Hunterarchdaily

บันทึก

สาโรช พระวงค์

สถาปนิกผู้ริเป็นนักเขียน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนใจในสถาปัตยกรรมที่สร้างคุณภาพที่ชีวิตที่ดีขึ้น เลยมาเขียนเล่าให้ผู้อ่านเป็นเนืองๆ

See all articles