Degree Inclusive โรลออนโฉมใหม่ ใส่ใจผู้มีปัญหาด้านสายตาและการเคลื่อนไหว

โดยทั่วไปแล้ว รูปร่างลักษณะของผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายมักจะเน้นให้มีรูปทรงเรียวเล็กและผิวสัมผัสเรียบลื่น ดูเผินๆ เหมือนจะจับถือง่าย ใช้งานสะดวก แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็น หรือผู้ที่มีปัญหาที่แขนหรือมือ การถือเจ้าบรรจุภัณฑ์เล็กเรียบลื่นนี้ถือเป็นงานยากมาก และอาจทำให้ถอดใจที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ไปเลย นี่คือโลกของการออกแบบแบบดั้งเดิมที่ผลิตภัณฑ์และบริการส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบมาโดยคำนึงถึงคนทุกกลุ่ม  ด้วยเหตุนี้ สตูดิโอออกแบบ Sour และเอเยนซี่ Wunderman Thomson ได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์โรลออนระงับกลิ่นกายให้กับบริษัท Unilever โดยมีเป้าหมายหลักคือการออกแบบให้ผู้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวและความบกพร่อมทางสายตาใช้งานโรลออนได้ง่ายขึ้น ภายใต้ชื่อสินค้าว่า Degree Inclusive ซึ่งมีการปรับรูปทรงให้มีส่วนโค้งเหมือนตะขอ เกาะเกี่ยวจับถือได้สะดวก ไม่หล่นง่าย มีฝาปิดเป็นแบบแม่เหล็กที่ช่วยให้ถอดและสวมได้ง่ายขึ้น มีคำแนะนำที่ฉลากเป็นอักษรเบรลล์ และมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานได้จบในการทาเพียงครั้งเดียว ทีมออกแบบได้ทำการทดสอบใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนี้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้พิการจำนวน 200 คน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ใช้งานได้ต่อไปในระยะยาว…

Continue ReadingDegree Inclusive โรลออนโฉมใหม่ ใส่ใจผู้มีปัญหาด้านสายตาและการเคลื่อนไหว

M+D Crutch ไม้คำ้ยันดีไซน์ใหม่ลดจุดบกพร่องเดิม เพิ่มเติมความสะดวกคล่องตัวขึ้น

  • Post author:
  • Post category:DESIGN
  • Post comments:0 Comments

เวลาที่ร่างกายของคนเราเคลื่อนไหวไม่ได้ การจัดการกับสถานการณ์ดังกล่าวด้วยวิธีการที่เจ็บปวดน้อยที่สุดย่อมเป็นสิ่งที่ใครต่างก็ต้องการ และนี่คือหมุดหมายสำคัญของ Mobility Designed ในการออกแบบไม้ค้ำยัน ‘M+D Crutch’ ของพวกเขาที่ตั้งใจแก้ปัญหาทั้งทางกายภาพและจิตใจในเวลาเดียวกัน เพราะอุปกรณ์ช่วยเดินแบบมาตรฐานนั้นมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นไม้ค้ำยันรักแร้ที่ต้องถือด้วยมือทั้ง 2 ข้าง ทำให้ผู้ใช้ไม้ค้ำยันต้องใช้พลังงานในการเดินค่อนข้างมาก แม้จะสามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 80% แต่ก็ต้องมีกำลังแขนที่ดี และด้วยฟอร์มของมันก็อาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณรักแร้ได้ หรือไม้ค้ำยันศอกที่แม้จะมีขนาดสั้นกว่า ทำให้ผู้ใช้มีความคล่องตัวมากขึ้นและสามารถปล่อยมือเพื่อทำกิจกรรมอื่นๆ ได้โดยที่ไม้ไม่ล้ม แต่ก็มีการรองรับน้ำหนักลดลงเหลือประมาณ 40-50% ซึ่งเหมาะกับผู้ที่สามารถทรงตัวได้ค่อนข้างดี อีกทั้งยังใช้ยากสำหรับผู้ที่ไม่สามารถลงน้ำหนักบริเวณแขนท่อนล่างหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องข้อศอกติด Mobility Designed จึงออกแบบ M+D Crutch…

Continue ReadingM+D Crutch ไม้คำ้ยันดีไซน์ใหม่ลดจุดบกพร่องเดิม เพิ่มเติมความสะดวกคล่องตัวขึ้น

ThisAbles อุปกรณ์เสริมเฟอร์นิเจอร์จาก IKEA เพื่อคนพิการใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น

ล่าสุด IKEA ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์สุดชิค ในสาขาประเทศอิสราเอล พวกเขาได้มองเห็นถึงปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้พิการในอิสราเอล ที่มีจำนวนมากถึง 1 ต่อ 10! ของจำนวนประชากร จึงจับมือกับสองหน่วยงานเอ็นจีโอ (Non Governmental Organizations) Milbat และ Access Israel ที่มีความเชี่ยวชาญการออกแบบอุปกรณ์เสริมศักยภาพให้กับคนพิการ ร่วมสร้างแคมเปญที่มีชื่อว่า ThisAbles ว่าด้วยเรื่องของการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้เฟอร์นิเจอร์สำหรับผู้พิการ ซึ่งนักออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA ได้ออกแบบร่วมกับผู้พิการเพื่อตอบโจทย์การใช้งานให้พวกเขาได้รับความสะดวกสบายไม่ต่างกับคนทั่วไปมากที่สุด โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาด้วยกัน 13 ชิ้น ที่สามารถนำไปติดเพิ่มเติมเข้ากับเฟอร์นิเจอร์ IKEA ทั่วไป ไม่ว่าตู้ เตียง โต๊ะ สวิตซ์ไฟ จนถึงผ้าม่าน เช่น Couch Lift ซึ่งฟังก์ชั่นของเจ้าสิ่งนี้คือนำไปวางรองไว้ที่ขาของโซฟาเพื่อให้โซฟามีระดับที่สูงขึ้น ช่วยให้ผู้พิการสามารถยกตัวลุกขึ้นออกมาจากโซฟาได้อย่างง่ายดาย หรือ Mega Switch ที่เมื่อนำไปวางบนโคมไฟตั้งโต๊ะ ปุ่มเปิดปิดจะเล็กแค่ไหนก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป โดยเจ้าสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ ไม่ได้มีเพื่อจำหน่ายแต่เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี! ผ่านทาง thisables.com  สามารถพิมพ์เป็นแบบ 3D แล้วนำไปติดบนเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA ได้เลย

Continue ReadingThisAbles อุปกรณ์เสริมเฟอร์นิเจอร์จาก IKEA เพื่อคนพิการใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น

ดีไซเนอร์ไทยแปลงโฉมรถเข็นซูเปอร์ฯ เป็นวีลแชร์ราคาประหยัด

โปรเจ็กต์แปลงร่างวีลแชร์จากรถเข็นซูเปอร์มาร์เก็ตนี้มีชื่อว่า ‘Cart Wheel Chair’ เป็นผลงานไอเดียบรรเจิดของกลุ่มนักออกแบบ/คนโฆษณาไทยที่มีอุดมการณ์อยาก ‘ให้’ บางสิ่งบางอย่างคืนแก่สังคม นวัตกรรมไทยประดิษฐ์ซีรีย์นี้ดัดแปลงขึ้นจากรถเข็นซื้อของที่เราใช้กันทั่วไปในซูเปอร์มาร์เก็ต โดยทีมดีไซเนอร์ได้นำรถเข็นที่ไม่ใช้แล้วมาตัด ต่อ แต่ง เติมใหม่ ให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้พิการ ผู้ป่วย หรือผู้สูงวัยในสังคมไทย โดยมุ่งเป้าไปที่ครอบครัวซึ่งไม่มีกำลังทรัพย์พอจะซื้อรถวีลแชร์ราคาสูงๆ ในท้องตลาดได้ อภิชัย  อินทัตสิงห์ แกนนำของกลุ่มเล่าว่าผลลัพธ์และพลังความร่วมมือจากสังคมภายใต้โครงการนี้ ได้รับฟีดแบคที่เกินความคาดหมายไปมาก หากมองย้อนกลับไปเมื่อราวปีเศษๆ จุดเริ่มต้นของโครงการเกิดขึ้นจากไอเดียเล็กๆ ที่ทีมงานต่อยอดมาจากโจทย์งานโฆษณาอันหนึ่งของลูกค้าแบรนด์ซูเปอร์มาร์เก็ต โดยในช่วงแรกเริ่มดีไซเนอร์ได้ลองนำรถเข็นเก่ามาสำรวจความเป็นไปได้ในสองรูปแบบ หนึ่งคือการพัฒนาเป็นรถเข็นแบบแมนนวลที่ผู้ใช้สามารถใช้งานเองได้ และสามารถช่วยเหลือตัวเองในการเคลื่อนที่โดยไม่ต้องมีคนช่วยเข็น จุดนี้จะทำให้ผู้ป่วยหรือคนชรารู้สึกดีขึ้นกับตัวเอง เพราะไม่ต้องคอยพึ่งพาคนอื่นตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ส่วนแนวทางที่สองคือรถเข็นสำหรับการเคลื่อนย้ายที่ต้องอาศัยผู้ช่วยเข็น…

Continue Readingดีไซเนอร์ไทยแปลงโฉมรถเข็นซูเปอร์ฯ เป็นวีลแชร์ราคาประหยัด

คุยกับ ‘นลัทพร ไกรฤกษ์’ บรรณาธิการ thisable.me เว็บข่าวรอบด้านเชื่อมคนพิการกับโลกรอบตัว

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในการรับรู้ของคนทั่วไปนั้น คนพิการคือกลุ่มบุคคลพิเศษที่มักไม่ถูกนึกถึงเป็นลำดับต้นๆ ของพีระมิดประชากร ทว่าในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาต่างมีสิทธิ์ มีเสียง และใช้ชีวิตไม่ต่างไปจากคนปกติ การเป็นกระบอกเสียง รวมไปถึงการเปิดประเด็นด้านสังคมที่มีคนกลุ่มนี้เป็นจิ๊กซอว์หลัก ถูกขับเคลื่อนผ่านการเคลื่อนไหวหลากรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือ thisable.me เว็บไซต์ข่าวที่นำเสนอเรื่องราวรอบตัว ตั้งแต่ ศิลปะ วัฒนธรรม ข่าวต่างประเทศ การเมือง แรงงาน สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน คุณภาพชีวิต และไอซีที โดยความเฉพาะเจาะจงของสำนักข่าวที่ว่านี้คือเนื้อหาทั้งหมดเชื่อมโยงกับคนพิการ วันนี้ เรามีนัดกับบรรณาธิการเว็บไซต์ thisable.me 'นลัทพร ไกรฤกษ์'…

Continue Readingคุยกับ ‘นลัทพร ไกรฤกษ์’ บรรณาธิการ thisable.me เว็บข่าวรอบด้านเชื่อมคนพิการกับโลกรอบตัว