เทคโนโลยีช่วยคำนวนการสร้างสถาปัตยกรรมจีนลดการใช้ทรัพยากร

เทคโนโลยีการก่อสร้างในปัจจุบันได้ไปไกลมาก แต่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมักถูกกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ส่วนมาก เราสามารถพบสถาปัตยกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงในเมืองใหญ่ได้ไม่ยาก กลับกันในพื้นที่ชนบทห่างไกล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ดูจะยังเข้าไม่ถึง อาจเพราะการขนส่งที่ไกล และในพื้นที่ห่างไกลต้องการเทคโนโลยีอีกแบบที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ ก็เป็นได้

แต่ในพื้นที่ห่างไกลในชนบทของจีนอย่างหมู่บ้านหยู่หลิน ประเทศจีน สามารถนำเสนอการผสานของวัสดุเก่าอย่างอิฐดินเผาแสนธรรมดาที่หาได้ตามชนบททั่วไปของจีนให้เข้ากับการสร้างสถาปัตยกรรมจากการคำนวณของคอมพิวเตอร์ในงานศาลบรรพบุรุษตระกูลหยั่น การทำงานเริ่มจากสถาปนิก M.O.D.E.S ได้เลือกใช้สำหรับโครงสร้างเป็นเหล็กทั้งเสา โครงหลังคา ส่วนเปลือกเป็นอิฐสถาปนิกต้องการสื่อถึงเรื่องราวภายในสถาปัตยกรรมศาลบรรพบุรุษตระกูลหยั่นด้วยตัวอักษรจีน 闫 การแปลความคือนำตัวอักษรจีนถอดเป็นการเรียงอิฐเป็นช่องแสงที่มีการเว้นระยะแตกต่างกันไป เพื่อให้เกิดลวดลายคล้ายอักษร 闫  เป็นการกลายรูปจากคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังให้คอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณให้เกิดการตัดก้อนอิฐน้อยที่สุดเพื่อความประหยัด และส่วนอื่นๆ เช่นระแนงช่องแสงได้ใช้เครื่องตัด CNC ช่วยทำให้ระแนงมีความโค้งเป็นคลื่นอย่างกลมกลืน แลดูเกิดความเคลื่อนไหวบนผิวอาคาร

แม้ว่างานนี้จะเป็นการก่ออิฐด้วยมือจากแรงงานคน แต่เมื่อใช้เทคโนโลยีใหม่เข้ามา มันสามารถช่วยปรับให้สะดวกและเหมาะสมกับแต่ละถิ่นที่ได้เช่นกัน

อ้างอิง: designboomarchitizerM.O.D.E.S

บันทึก

บันทึก

บันทึก

สาโรช พระวงค์

สถาปนิกผู้ริเป็นนักเขียน และอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สนใจในสถาปัตยกรรมที่สร้างคุณภาพที่ชีวิตที่ดีขึ้น เลยมาเขียนเล่าให้ผู้อ่านเป็นเนืองๆ

See all articles