‘จดหมายลาครู’ ความในใจของหนูๆ เขียนขอโทษคุณครูที่ไปโรงเรียนไม่ได้

แม้ว่าบ้านเราจะมีกฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสทางการศึกษาไม่ต่ำกว่า 12 ปี โดยรัฐจะต้องจัดการให้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทว่าในความเป็นจริง ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาก็ยังคงมีอยู่ จะด้วยปัญหาครอบครัวที่แตกต่างกัน, ความห่างไกลจากชุมชนเมือง, หรือแม้แต่ความเหลื่อมล้ำทางฐานะ นี่เป็นปัญหาที่มีอยู่จริงและทุกฝ่ายควรช่วยกันขบคิดหาทางแก้ไข ปัจจุบันเด็กไทย 430,000 คน หลุดอยู่นอกการศึกษาภาคบังคับ ขณะที่อีก 2 ล้านคนสุ่มเสี่ยงที่จะไม่ได้ไปเรียนเพราะความยากจน เครือข่ายสตรีทอาร์ทจึงร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อสะท้อนภาพความจริงนี้ ในชื่อ 'จดหมายลาครู' จดหมายจากลายมือเด็กทั่วประเทศที่ด้อยโอกาสเขียนถึงครู บอกเล่าความในใจที่ไม่อาจไปเรียนได้ เป็นคำพูดใสซื่อแต่สะเทือนใจ และเป็นแรงบันดาลใจให้เหล่าศิลปินสตรีทอาร์ท เช่น  Abi, สันติ,…

Continue Reading‘จดหมายลาครู’ ความในใจของหนูๆ เขียนขอโทษคุณครูที่ไปโรงเรียนไม่ได้

Dough Universe ของเล่นแนวใหม่ จับคู่แป้งดินน้ำมันกับการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์

ใครจะไปเชื่อว่ากิจกรรมปั้นแป้งโดว์ที่เด็กๆ ชอบเล่นกันทั่วบ้านทั่วเมืองจะมาเกี่ยวข้องกับโลกอิเล็กทรอนิกส์ได้ แถมยังเกี่ยวได้ดี--ทั้งน่าสนุกและน่าสนใจ! Dough Universe เป็นแอพพลิเคชั่นที่สร้างโดยทีมที่ชื่อ Tech Will Save Us  มีเป้าหมายกระตุ้นการเรียนรู้ด้าน STEAM เอ๊ะ! คำนี้ไม่ได้พิมพ์ผิดใช่ไหม? (ปกติเราจะคุ้นกับคำว่า STEM ที่ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering, Mathematics) คำว่า STEAM นี้ไม่ได้พิมพ์ผิดจ้า แต่เพิ่มตัว A เข้ามาอีกหนึ่ง ซึ่งย่อมาจาก Art คือการนำศิลปะมารวมกับโลกของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั่นเอง…

Continue ReadingDough Universe ของเล่นแนวใหม่ จับคู่แป้งดินน้ำมันกับการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์

‘พัชนา มหพันธ์’ ปลูกฝังวิชาชีวิตยั่งยืนกว่าวิชาการกับโรงเรียนปัญญาประทีป

จากประสบการณ์ในวัยเด็กที่ชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากกว่าเรียนหนังสือในห้อง พัชนา มหพันธ์ หรือ ครูแจ๊ด ของเด็กๆ หลายคนจึงเชื่อว่าการเรียนรู้ไม่ได้มีอยู่แค่ในตำรา แต่ยังมีวิชาความรู้นอกห้องเรียนอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของพวกเราทุกคน ครูแจ๊ดเริ่มต้นอาชีพด้านการศึกษาที่โรงเรียนทอสี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยได้รับความไว้วางใจและโอกาสจาก ครูอ้อน - บุปผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ (ผู้อำนวยการ โรงเรียนทอสี) ให้ช่วยดูแลหลักสูตรการเรียนการสอนของชั้นประถมศึกษา และเมื่อโรงเรียนทอสีเปิดโรงเรียนประจำสหศึกษา ระดับมัธยม ขึ้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั่นคือ โรงเรียนปัญญาประทีป ครูแจ๊ดก็เข้ามาเป็นครูอีกคนหนึ่งของโรงเรียนที่ตั้งใจส่งต่อพุทธปัญญาให้กับเด็กๆ ที่กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวัยรุ่น แม้ปัญญาประทีปจะเป็นโรงเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่ม 'โรงเรียนประจำ'…

Continue Reading‘พัชนา มหพันธ์’ ปลูกฝังวิชาชีวิตยั่งยืนกว่าวิชาการกับโรงเรียนปัญญาประทีป

ต้นแบบห้องเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21 ห้องเดียว ห้าโซน ฟรีสไตล์ เสริมสร้างสรรค์และจินตนาการ

ในยุคที่เทคโนโลยีรอบตัวเราต่างเจริญรุดหน้าแบบก้าวกระโดด กลายเป็นความท้าทายสำคัญของระบบเก่าๆ ว่าจะปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วเช่นนี้ได้อย่างไร หนึ่งในระบบที่ถูกท้าทายมากที่สุดได้แก่ระบบการศึกษา ซึ่งก็มีความพยายามที่จะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ และหนึ่งในการปรับตัวครั้งล่าสุดนี้เกิดขึ้นจากการมาถึงของแนวคิด Personalized Learning หรือการเรียนรู้ที่เหมาะกับศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่หลายคนมองว่า คือคำตอบสำหรับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และได้มีการนำไปทดลองปรับใช้ตามสถานศึกษาต่างๆ นำมาสู่การออกแบบห้องเรียนต้นแบบสุดทันสมัยห้องนี้ ห้องเรียนแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่โรงเรียน Denver Public School ได้รับการออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Kurani โดยปรับปรุงจากห้องเรียนรูปแบบเดิมๆ ให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับแนวคิด  Personalized Learning ให้มากขึ้น ผู้ออกแบบได้ทลายกรอบของภาพลักษณ์ห้องเรียนแบบเดิมๆ ที่ทุกคนต้องเรียนแบบเดียวกัน ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้…

Continue Readingต้นแบบห้องเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21 ห้องเดียว ห้าโซน ฟรีสไตล์ เสริมสร้างสรรค์และจินตนาการ

#ReleaseThePressure จม.เปิดใจจากวัยรุ่นถึงพ่อแม่ ช่วยลดเครียดจากการสอบ

ประเทศอินเดีย มีนักเรียนฆ่าตัวตายสาเหตุเพราะความเครียดจากการสอบ เฉลี่ยวันละ 16 คน โดยเฉพาะนักเรียนที่กำลังสอบเข้ามหาวิทยาลัย สาเหตุหลักๆ ของการจบชีวิตตัวเอง ก็มาจากความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีไว้กับลูกมากเกินไป เพราะอินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมากกว่า 1,100 ล้านคน แต่มหาวิทยาลัยในอินเดีย มีเพียงไม่กี่แห่งที่ได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ การจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยเหล่านี้จึงต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เมื่อถูกกดดันจากพ่อแม่ เด็กเกิดความเครียดได้ง่าย สิ่งที่เด็กๆ ต้องทำคือ การกดทับความรู้สึกต่างๆ เอาไว้ ภาวะเหล่านี้ก่อให้เกิดพฤติกรรมบางอย่างที่พวกเขาเองอาจควบคุมไม่ได้ เช่น อาการวิตกกังวล หรือแม้กระทั่งอาการหวาดกลัว มิรินด้า น้ำอัดลมยอดนิยมของวัยรุ่นอินเดีย เข้าใจถึงความต้องการของวัยรุ่น อยากให้ชาวอินเดียโดยเฉพาะพ่อแม่ช่วยกันลดความกดดันของวัยรุ่น ในแคมเปญเพื่อสังคม #ReleaseThePressure…

Continue Reading#ReleaseThePressure จม.เปิดใจจากวัยรุ่นถึงพ่อแม่ ช่วยลดเครียดจากการสอบ

โรงเรียนเพื่อเด็กยากจนในแอฟริกา เติมเต็มความรู้ สร้างเสริมแรงบันดาลใจ

หากมองว่า 'โรงเรียน' คือ สถานที่สำหรับให้ความรู้ พื้นที่โรงเรียนที่มีเพียงห้องเรียน หรือสิ่งก่อสร้างทั่วๆ ไป เหมือนโรงเรียนส่วนใหญ่ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่หากมองว่า โรงเรียน คือสถานที่เพาะบ่มและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาแล้ว โรงเรียนรูปแบบเดิมๆ ที่เห็นได้ทั่วไปนั้น น่าจะยังไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ และยิ่งโดยเฉพาะโรงเรียนที่สร้างสำหรับผู้ด้อยโอกาสแล้ว จะหาโรงเรียนที่เน้นการออกแบบมาเพื่อให้ความรู้พร้อมกับสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เรียนได้น้อยเต็มที ซึ่ง Lycee Schorge Secondary School ถือเป็นหนึ่งในจำนวนน้อยเหล่านั้น โรงเรียนมัธยม Lycee Schorge ตั้งอยู่ในเมือง Koudougou ทางแถบตอนกลางของประเทศบูร์กินาฟาโซ ออกแบบโดย Kéré…

Continue Readingโรงเรียนเพื่อเด็กยากจนในแอฟริกา เติมเต็มความรู้ สร้างเสริมแรงบันดาลใจ

อย่างสลด! เมื่อถึงวันเปิดเรียน เด็กไม่ไ่ด้ไปโรงเรียน แล้วเด็กจะทำอะไร?

ในเบลเยี่ยม วันเปิดเรียนประจำภาคฤดูร้อนจะตรงกับวันที่ 1 กันยายน เด็กๆ ที่อยู่ในวัยเรียนก็จะต้องไปโรงเรียนเพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้  แต่ยังมีเด็กอีก 50,000 กว่าคนในประเทศเซเนกัล ทวีปแอฟริกา อีกฟากฝั่งหนึ่งของโลก แทนที่พวกเขาจะต้องไปโรงเรียนกลับต้องอยู่ข้างถนนเพื่อขอทานขอเศษเงินอย่างไร้อนาคต องค์กรช่วยเหลือเด็ก SOS Children's Village เชื่อมั่นว่าเด็กๆ ควรจะได้รับการศึกษาสูงสุดตามความสามารถ จนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพและเลี้ยงดูตัวเองได้ จึงจัดแคมเปญรณรงค์การบริจาคเพื่อช่วยเหลือเด็กยากจนในประเทศเซเนกัล โดยแคมเปญนี้สร้างสรรค์ขึ้นมาแบบง่ายๆ แต่สะเทือนใจ โดยเบลเยี่ยมอาศัยงานอีเว้นท์ประจำฤดูร้อน Belgian's Champion Living Statue  ซึ่งมีบรรดาศิลปินหุ่นนิ่งที่เลียนแบบคนดังมาโชว์ตัวให้ผู้คนได้เห็นและถ่ายเซลฟี่กันสนุกสนาน แต่ท่ามกลางความสนุกสนาานตื่นตาตืนใจไปกับหุ่นมีชีวิตเหล่านั้น เด็กชายเซเนกัลคนหนึ่งใส่ชุดนักเรียนซอมซ่อ…

Continue Readingอย่างสลด! เมื่อถึงวันเปิดเรียน เด็กไม่ไ่ด้ไปโรงเรียน แล้วเด็กจะทำอะไร?

Maya Angelou and still I rise: มายา แองเจิลลู กวีเอกโลกไม่ลืมเธอ

ผู้หญิงที่ถูกข่มขืนในวัยเด็ก..กลับกลายเป็นนักกวีเอกและนักอนุรักษ์สังคมได้อย่างไร? ทำไมเธอถึงเป็นคนดังในประเทศสหรัฐอเมริกาที่แม้แต่ผู้นำของประเทศยังยกย่องและชื่นชมเธอ เราไม่อยากให้คุณพลาดเรื่องราวของนักวีเอกหญิงคนนี้ใน Maya Angelou and Still I rise. บางคนอาจคิดว่านักกวีพูดภาษาล่องลอยเข้าใจยาก แต่เธอคนนี้มีมุขตลกชาญฉลาดที่ซ่อนอยู่ในงานเขียนของเธอมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องชีวิตผู้หญิง ชีวิตในสังคม ชีวิตของใครก็ได้สามารถนำแนวคิดของเธอไปปรับใช้ เพราะเธอเป็นแรงบันดาลใจของคนที่ใช้ชีวิตเพื่อสังคม แม้จะเคยถูกข่มขืนและต้องมีชีวิตลำบากในวัยเด็ก อีกทั้งยังเป็นแม่เลี้ยงลูกคนเดียว มายาเป็นเสมือนชีวิตต้นแบบของคนอเมริกันมากมายที่อยากคิด อยากทำ อยากเปลี่ยนให้ได้แบบเธอ ในสมัยที่มีการรณรงค์ทางสังคมของ Martin Luther's King Jr. มายาเป็นแรงสำคัญที่ช่วยด้านแนวคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลง เราไม่อยากให้สังคมไทยมีการแบ่งชนชั้นแบบในอดีตและในอเมริกาสมัยก่อน แต่เรื่องราวการรณรงค์เพื่อสังคมของเธอไม่ได้เกี่ยวกับการแบ่งชนชั้นเท่านั้น เธอพูดจากใจของคนที่ใช้ชีวิตและมองชีวิตเป็น มายามีงานเขียนมากมาย…

Continue ReadingMaya Angelou and still I rise: มายา แองเจิลลู กวีเอกโลกไม่ลืมเธอ

ศูนย์การศึกษา Eco Moyo ในเคนย่า โรงเรียนมีดีไซน์ + ท้าทายการศึกษาระบบเก่าๆ

ในยุคที่ระบบเก่าๆ กำลังถูกท้าทายและทดสอบ ระบบการศึกษาเองก็หนีการถูกท้าทายนี้ไม่พ้น ซึ่งข้อเสียหนึ่งของการศึกษาในระบบโรงเรียนแบบเดิมนั้น คือไม่สามารถกระจายได้อย่างทั่วถึง ทำให้มีการสร้างโรงเรียนที่มีระบบการศึกษาทางเลือกตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะในแหล่งธุรกันดารที่ห่างไกลความเจริญ เพื่อกระจายการศึกษาไปยังกลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น ศูนย์การศึกษา Eco Moyo แห่งประเทศเคนย่าแห่งนี้ ที่นอกจากจะมีระบบการศึกษาที่ดีแล้ว การออกแบบอาคารและสิ่งก่อสร้างของที่นี่ ยังช่วยเอื้ออำนวยให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายในศูนย์การศึกษา Eco Moyo แห่งนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนพื้นที่ฟาร์มและส่วนโรงเรียนประถม โดยโรงเรียนประถมนี้จะการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ โดยจะมีการจัดบรรยากาศของสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน ให้เสรีภาพแก่เด็ก กระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ผ่านการซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม ทำให้อาคารเรียนที่นี่ไม่มีความเป็นทางการ…

Continue Readingศูนย์การศึกษา Eco Moyo ในเคนย่า โรงเรียนมีดีไซน์ + ท้าทายการศึกษาระบบเก่าๆ

โรงเรียนของหนูๆ สร้างจากต้นไม้ที่โดนสึนามิ ชุบชีวิตชุมชนให้กลับมาอีกครั้ง

เมื่อปี ค.ศ.2011 ประเทศญี่ปุ่นต้องประสบกับภัยพิบัติครั้งใหญ่ นั่นคือ สึนามิ ที่ได้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินมากมาย และหลังจากผ่านช่วงเวลาอันเลวร้ายนั้นไปแล้ว โครงการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยก็มีมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อชุบชีวิตของเมืองที่เคยโดนทำลายลงไปให้ฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง ในครั้งนั้น Tezuka Architects บริษัทสถาปนิกสัญชาติญี่ปุ่นได้เข้ามาออกแบบโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งในเมืองอะซะฮิ (Asahi) เมืองทางฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่น โรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับออกแบบและก่อสร้างโดยองค์การยูนิเซฟ ในปี 2012 ซึ่งจุดเด่นของโรงเรียนแห่งนี้คือ สถาปนิกได้เลือกที่จะนำไม้จากต้นสนซึ่งได้รับความเสียหายจากสึนามิมาเป็นวัสดุในการก่อสร้างอาคารเรียน เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายในพื้นที่ในขณะนั้น ท่ามกลางภาวะที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างมาก โรงเรียนเฟสแรกจึงสร้างขึ้นโดยใช้ไม้สนจากสึนามิเป็นวัสดุหลัก หลังจากโครงการแรกประมาณ 4 ปี Tezuka Architects ได้กลับมายังพื้นที่นี้อีกครั้ง…

Continue Readingโรงเรียนของหนูๆ สร้างจากต้นไม้ที่โดนสึนามิ ชุบชีวิตชุมชนให้กลับมาอีกครั้ง