Friendship Center ศูนย์ฝึกอบรมในบังคลาเทศ ประหยัดพลังงาน ป้องกันน้ำท่วม

สถาปัตยกรรมที่ดี ไม่จำเป็นต้องไปค้นหาสิ่งที่อยู่ไกลตัว ต้องมาจากของดี วัสดุดีจากพื้นที่อันแสนไกล แต่สามารถเริ่มจากของใกล้ตัว แล้วนำมาต่อยอดได้ เมื่อนั้นความยั่งยืนอย่างเรียบง่ายก็เกิดขึ้น อย่างของดี ไม่ไกลบ้านเราจากบังคลาเทศ กับโครงการ Friendship Center ที่ออกแบบโดยสำนักงานสถาปนิกบังคลาเทศเองคือ URBANA มันถูกออกแบบเพื่อเป็นสถานที่การฝึกอบรมสำหรับ NGO ที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำหรับผู้คนที่ยากจนในชุมชน Gaibandha ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรรม เมื่อมองจากภายนอกจะไม่เห็นตัวอาคาร เพราะถูกเนินดินบังโดยรอบ แต่ความโดดเด่นจากการใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก ทำให้อาคารดูขรึมขลัง และโดดเด่นเมื่อเข้ามายังภายใน แรงบันดาลใจในการออกแบบ สถาปนิกใช้ความงามจากอดีตที่มีที่มาจากสถาปัตยกรรมศาสนาโบราณ Mahasthan แหล่งโบราณดคีสำคัญของบังคลาเทศที่อายุเก่าแก่กว่า 1,700…

Continue ReadingFriendship Center ศูนย์ฝึกอบรมในบังคลาเทศ ประหยัดพลังงาน ป้องกันน้ำท่วม

บ้านการเคหะแนวใหม่ในญี่ปุ่นเปลี่ยนที่อยู่แนวดิ่งสู่แนวราบสร้างปฏิสัมพันธ์กันและกัน

ทุกสถาปัตยกรรมมีรุ่งเรือง โรยรา และรออุบัติใหม่ ดันจิ (Danchi) คือที่พักแบบอาคารพักอาศัยรวมราคาถูกที่มีกำเนิดในยุค 1960 ของญี่ปุ่น อันเป็นผลจากเศรษฐกิจที่เติบโตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ผู้คนอพยพเข้าเมืองหลวง คือ กรุงโตเกียวเป็นจำนวนมาก แต่เหล่าดันจินี้ไม่สามารถไปสร้างในตัวเมืองที่แออัด ราคาแพงได้ จึงได้ออกมาสร้างยังย่านชานเมืองที่ไกลออกไป แต่มีระบบการขนส่งอย่างรถไฟที่พาเหล่ามนุษย์เงินเดือนสามารถเข้าไปทำงานในเมืองได้ในเวลาไม่นานนัก ทำให้ดันจิได้รับความนิยมสำหรับคนญี่ปุ่นในยุคนั้นมาก แต่สุดท้ายแล้วดันจิก็ถึงคราวร่วงโรยในยุค 1990 จากสภาวะขาลงของเศรษฐกิจญี่ปุ่น พวกมันจึงค่อยๆ ตายไปในที่สุด ประกอบกับในปัจจุบันญี่ปุ่นมีปัญหาการหดตัวของประชากร เหล่าดันจิยิ่งค่อยหมดความสำคัญลงไป ไม่มีใครต้องการที่พักอาศัยแบบเดิมอีก ตึกเหล่านี้เริ่มเก่า เริ่มร้าง ผู้คนอพยพออกไปเรื่อย ๆ…

Continue Readingบ้านการเคหะแนวใหม่ในญี่ปุ่นเปลี่ยนที่อยู่แนวดิ่งสู่แนวราบสร้างปฏิสัมพันธ์กันและกัน

บ้านและสตูดิของศิลปินเวียดนามกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่งดงามด้วยวัสดุดิบๆ

ลักษณะร่วมของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือการปรับตัวเข้าสภาพอากาศ ที่มีทั้งร้อน ฝน แสงแดดมากมาย การระบายอากาศที่ดีให้อาคารหายใจได้ สภาวะน่าสบายของถิ่นนี้คือการปรับตัว ถ่านเทกันระหว่างภายนอกและภายในที่สมดุล ไม่ใช่กักเก็บแล้วสร้างสภาวะสบายภายใน อย่างเช่นการแก้ปัญหาจากบ้านพร้อมสตูดิโอของ Hoang Tuong Do ศิลปินชื่อดังของเวียดนาม มีความต้องการย้ายบ้านจากตัวเมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม ที่มีแต่ความวุ่นวาย สู่ย่านชานเมืองของโฮจิมินห์เพื่อจะมีสมาธิในการทำงานที่มากขึ้น ให้สามารถทำงานสร้างสรรค์ได้ดียิ่งขึ้น จึงได้เลือกที่ดินริมคลอง ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำไซง่อน และได้สำนักงานสถาปนิกเวียดนามมือดี Truong An Architecture มาสร้างสรรรค์ด้วยการแปลความสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเขตร้อนด้วยภาษาสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่มีความงามจากความดิบของวัสดุ การให้ความสำคัญกับแลนด์สเคปก็ไม่แพ้กับการออกแบบสถาปัตยกรรม สถาปนิกให้ความสำคัญสร้างสภาพอากาศเฉพาะพื้นที่ให้มีบรรยากาศน่าอยู่ มีอุณหภูมิที่สบายจากการใช้ต้นไม้ บ่อน้ำที่มีอยู่หน้าบ้าน…

Continue Readingบ้านและสตูดิของศิลปินเวียดนามกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่งดงามด้วยวัสดุดิบๆ

Cool Cool Seaside พาวิลเลี่ยนคูลๆ จากตู้คอนเทนเนอร์ไว้นั่งเล่นเพลินๆ ใจ

เราเคยเห็นโปรเจ็กต์ออกแบบที่นำเอาตู้คอนเทนเนอร์เก่ามาปรับปรุงเพื่อใช้เป็นอาคารต่างๆ มานักต่อนักแล้ว แต่บอกได้เลยว่า Cool Cool Seaside ผลงานของ Atelier Let’s ครั้งนี้ ทำออกมาได้เหนือขั้นกว่าการ reuse ตู้คอนเทนเนอร์ทั่วไปมาก เพราะเราแทบจะดูไม่ออกเลยว่าพาวิลเลียนกลางสนามบาสเก็ตบอลแห่งนี้ ดัดแปลงมาจากตู้คอนเทนเนอร์! Cool Cool Seaside เป็นพาวิลเลียนที่มีฟังก์ชันเป็นที่นั่ง พร้อมที่กำบังแดดและฝน โดย Cool Cool Seaside ตั้งอยู่ตรงกลางของสนามบาสเก็ตบอลสองสนามบนลานกว้างที่ด้านนึงติดกับท่าเรือเฟอรี่ Gushan ส่วนอีกด้านเป็นที่ตั้งของร้านค้า ในเมือง Kaohsiung ไต้หวัน…

Continue ReadingCool Cool Seaside พาวิลเลี่ยนคูลๆ จากตู้คอนเทนเนอร์ไว้นั่งเล่นเพลินๆ ใจ

โรงเรียนอนุบาลไม้ไผ่ในอินโด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยืดหยุ่นพร้อมรับแผ่นดินไหว

เมืองตาซิกมาลายา ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟกาลองกังอันยิ่งใหญ่ ที่ลาวาของมันทำให้ผืนแผ่นดินในภูมิภาคนี้อุดมไปด้วยแร่ธาตุอันส่งผลให้ที่นี่มีชื่อเสียงในเรื่องผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งขึ้นชื่อเรื่องไม้ไผ่และงานฝีมือจากไผ่แล้ว เมืองบนเกาะชวาตะวันตกแห่งนี้ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาล Nur Hikmah ท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจีที่ว่านี้ด้วย โรงเรียนอนุบาลดังกล่าวได้สตูดิโอสถาปัตยกรรมเจ้าถิ่น Architecture Sans Frontières Indonesia (ASF-ID) รับหน้าที่ออกแบบ โดยพัฒนางานนี้ร่วมกับกรรมการบริหารโรงเรียนและชุมชน อาคารหลังนี้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นจากการไม้ไผ่ โด้วยทีมออกแบบมองเห็นศักยภาพของไม้ไผ่ในแง่ของการเป็นไม้โครงสร้างที่จะช่วยประคองฟอร์มอาคารให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดหากมีเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในอินโดนีเซีย รวมไปถึงจุดแข็งอีกร้อยแปด ตั้งแต่เรื่องของความประหยัด อันเนื่องจากไม้ไผ่เป็นไม้ท้องถิ่นที่ขึ้นง่าย เติบโตเร็วและได้ดีในทุกสภาวะอากาศ รวมทั้งคุณสมบัติของมันที่สามารถดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกประเภท เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีความแข็งแรง เหนียว สามารถยืดหด…

Continue Readingโรงเรียนอนุบาลไม้ไผ่ในอินโด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยืดหยุ่นพร้อมรับแผ่นดินไหว

Children Village กำเนิดใหม่ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นดินแดนบราซิล

สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือสถาปัตยกรรมที่ถูกพัฒนา ปรับเปลี่ยนจากกาลเวลา เป็นไปตามปากท้องของผู้คนในแต่ละถิ่นฐานจนมีรูปแบบที่สอดคล้องกับถิ่นฐานนั้น พวกมันไม่ได้ผ่านการออกแบบจากสถาปนิกในระบบ แต่จากการขัดเกลาจนมีรูปแบบที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เป็นสิ่งที่สถาปนิกสามารถเรียนรู้จากมันได้เช่นกัน และควรสมควรเรียนรู้อย่างจริงจังด้วย ในเมืองป่าฝนที่อากาศร้อนชื้นทางเหนือของบราซิล มีโรงเรียนกานัวเนอที่รองรับเด็กกว่า 540 คน จากที่ห่างไกลของบราซิลมารวมกันแบบเรียนประจำ นอกจากพื้นที่ส่วนห้องเรียนแล้ว ส่วนที่น่าสนใจคือส่วนที่เรียกว่า ‘หมู่บ้านเด็ก' ที่เรียกอาคารนี้ว่าหมู่บ้านเด็กเพราะเป็นพื้นที่พักสำหรับเด็กชายหญิงที่มาเรียนโรงเรียนนี้ แต่อยู่ในที่ห่างไกลจนมาอยู่หอพักของโรงเรียน อาคารนี้รองรับกิจกรรม หอพักที่ชั้น 1 พื้นที่ส่วนรวมที่ชั้น 2 แต่ส่วนที่แตกต่างจากหอพักทั่วไปจนสะดุดตาคือความโปร่งเบา แลดูระบายอากาศได้ดี ดูมีความกลมกลืนของวัสดุไปทั้งอาคาร มันดูสวยงามแบบเรียบง่าย ในราคาจับต้องได้ งานนี้เป็นการออกแบบร่วมกันของ 2 สำนักงานสถาปนิกบราซิลเลียน…

Continue ReadingChildren Village กำเนิดใหม่ของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นดินแดนบราซิล

KODA บ้านเล็ก 16 ตรม. ราคาประหยัด ถอดประกอบได้ภายใน 7 ชม.

‘บ้านที่ดี คือบ้านที่รองรับเงื่อนไขของแต่ละเจ้าของบ้านได้ดี’ เงื่อนไขที่สำคัญของบ้านอีกประเด็นคือราคาที่สามารถจับต้องได้ เมื่อมีบ้าน ทุกคนจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัย อีกวิธีที่ทำให้บ้านมีราคาถูกคือการใช้ระบบการก่อสร้างแบบถอดประกอบ หรือ prefabrication มันช่วยลดเวลาการก่อสร้าง ทำให้ลดการใช้แรงงานคน หากผลิตในระบอุตสาหกรรมจากโรงงาน ยิ่งจะทำให้มีราคาถูกขึ้น แล้วยังสามารถสามารถควบคุมคุณภาพให้ได้ดั่งใจกว่าการก่อสร้างแบบเก่า จากแนวคิดนี้ Kodasema สำนักงานออกแบบจากเอสโตเนีย ได้เสนอสถาปัตยกรรมขนาดเล็ก ที่เป็นบ้านราคาถูก แล้วมีรูปแบบพื้นที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่าย สามารถเป็นได้ทั้งบ้าน ร้านกาแฟ สตูดิโอ ห้องเรียน ในเทศกาลสถาปัตยกรรมที่เมืองทาลลินน์ ประเทศเอสโตเนีย เมื่อปี 2015 ในชื่อ KODA ซึ่งเป็นบ้านต้นแบบที่สามารถถอดประกอบ…

Continue ReadingKODA บ้านเล็ก 16 ตรม. ราคาประหยัด ถอดประกอบได้ภายใน 7 ชม.

บ้าน 80 ตรม. ราคาประหยัดสำหรับครอบครัวขนาดเล็กแบบ 3 คน

‘เหนื่อยแค่ไหน ถึงบ้านก็อุ่นใจ’ การกลับมาถึงบ้านของแต่ละคนมีความสุขมากน้อยไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่เหมือนกันของนิยามคำว่า 'บ้าน’ คือที่พักพิงที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย อบอุ่นกับผู้อาศัย บ้านจึงเป็นพื้นที่รวมกิจกรรมของคนในครอบครัวหลายอย่าง เพื่อให้บ้านยังคงนิยามเดิมของมันต่อไป นิยามของบ้านไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาด ดังเช่นกับบ้านขนาดเล็กที่เมืองโคเพนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ค ถูกออกแบบให้อยู่ภายใต้งบประมาณ 95,000 ยูโร เพื่อเป็นบ้านต้นแบบราคาประหยัดในพื้นที่ 80 ตารางเมตร สำหรับครอบครัวแบบ 3 คน สถาปนิกที่ออกแบบ Sigurd Larsen ออกแบบมันด้วยแนวคิดที่ต้องการให้มันสามารถรองรับกิจกรรมในนิยามคำว่าบ้าน สำหรับในเมืองโคเพนเฮเกน แต่ราคาจับต้องได้ในยุโรป ตัวบ้านใช้วัสดุราคาถูก เน้นการก่อสร้างแบบติดตั้งด้วยระบบแห้ง ไม่ก่อสร้างในที่…

Continue Readingบ้าน 80 ตรม. ราคาประหยัดสำหรับครอบครัวขนาดเล็กแบบ 3 คน

Pit Terrace ระเบียงขาวกับต้นไม้เขียว ปันพื้นที่ส่วนตัวเป็นพื้นที่สาธารณะให้ชาวเมือง

“ยิ่งเราทุกคนมีความเป็นปัจเจกสูงมากขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งต้องการพื้นที่สาธารณะที่ปัจเจกแต่ละคนจะได้เข้ามาปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นเท่านั้น” คำกล่าวข้างต้นดูจะสอดคล้องกับปัญหาหนึ่งที่ Ichikawamisato เมืองเล็กๆ ในจังหวัด Yamanashi ของญี่ปุ่นกำลังเผชิญ เพราะในขณะที่ชาวเมืองต่างเดินทางไปไหนมาไหนด้วยยานพาหนะส่วนตัวเป็นหลัก และร้านค้าเล็กๆ ในชุมชนแบบที่เคยมีในสมัยก่อนก็ลดลงมาก ผลที่ตามมาก็คือ ชาวเมืองขาดการพบปะปฏิสัมพันธ์กัน และทำให้ 'ความเป็นชุมชน'​ เริ่มเปราะบาง มีปัญหา แต่ท่ามกลางปัญหาที่ว่า เรื่องที่น่าชื่นชมก็คือ เจ้าของธุรกิจร้านตัดผมเล็กๆ แห่งหนึ่งใน Ichikawamisato พยายามจะช่วยแก้ปัญหาด้วยการสร้าง​ 'พื้นที่สาธารณะ' ในอาณาบริเวณเขตของร้านขึ้นมา ร้านตัดผมแห่งนี้ว่าจ้างสถาปนิก Jorge Almazán ให้มาออกแบบพื้นที่สาธารณะหน้าร้านของพวกเขา ภายใต้โจทย์อีกข้อที่สำคัญคือ…

Continue ReadingPit Terrace ระเบียงขาวกับต้นไม้เขียว ปันพื้นที่ส่วนตัวเป็นพื้นที่สาธารณะให้ชาวเมือง

บ้านต้นแบบขนาด 110 ตรม. ราคาประหยัดพร้อมพื้นที่ใช้สอยครบครันในสวีเดน

‘บ้านคือแหล่งบ่มเพาะสังคม’ แม้ว่าสถานการณ์ที่อยู่อาศัยในท้องตลาดปัจจุบันยังมีราคาสูง ไม่สามารถเข้าได้ถึงทุกกลุ่ม แต่หากลองไล่เรียงดูในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมแล้ว มีความพยายามที่จะพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ราคาถูกด้วยระบบอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ในช่วงปี 1900 จนกระทั่งในปัจจุบันก็ยังปรากฏแนวคิดนี้อยู่ ประเด็นนี้ถูกนำเสนอโดยสถาปนิกสวีดิช Tommy Carlsson ด้วยโครงการบ้านพักอาศัยต้นแบบ น่าสนใจด้วยราคาย่อมเยา ตั้งอยู่ในย่านชานเมืองใกล้สตอคโฮล์ม Carlsson ตั้งคำถามถึงบ้านในอนาคตว่า เราต้องการพื้นที่อยู่อาศัยแบบไหนกัน ขนาดบ้านที่ใหญ่โตไม่ใช่สาระสำคัญในการอยู่อาศัยที่เหมาะสม ทางเลือกที่ดีขึ้นคือพื้นที่ขนาดเล็ก เหมาะสมกับวิถีชีวิต แล้วยังสามารถมีความสะดวกสบายด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่ความใหญ่โตเทอะทะแบบเดิม บ้านต้นแบบหลังนี้มีพื้นที่ 110 ตารางเมตร บรรจุพื้นที่ใช้สอยพื้นฐานที่ต้องการไว้ครบ ทั้งห้องนั่งเล่น ครัว ห้องรับประทานอาหาร ห้องนอน 2…

Continue Readingบ้านต้นแบบขนาด 110 ตรม. ราคาประหยัดพร้อมพื้นที่ใช้สอยครบครันในสวีเดน