Reuse ชามสลัดจากเปลือกข้าวสาลี…กินได้…แถมย่อยสลายได้ 100%

Forest & Whale เป็นสตูดิโอออกแบบจากสิงคโปร์ที่นอกจากจะมีผลงานหลากหลายแล้ว พวกเขายังมีปรัชญาการทำงานที่ชัดเจนว่า ต้องการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานคงทนยาวนานหรือไม่ก็ต้องเป็นข้าวของที่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อที่ผลงานทั้งหมดของพวกเขาจะได้ไม่เป็นภาระแก่สิ่งแวดล้อมมากไปกว่าที่เป็นอยู่ ผลิตภัณฑ์ประเภทหนึ่งที่ Forest & Whale ให้ความสนใจในการพัฒนางานออกแบบมากเป็นพิเศษ เห็นจะเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทาน เพราะพวกเขามองว่าไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในปัจจุบันที่หันมาใช้บริการ food delivery กันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโรคระบาดที่คนส่วนมากต้องอยู่บ้าน จะทำให้มีการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง (single-use) มากขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งนั่นก็จะนำไปสู่ปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง ผลงานออกแบบล่าสุดของพวกเขาคือ Reuse ชามใส่สลัดสำหรับ take away ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ 100% และยังสามารถรับประทานได้อีกด้วย…

Continue ReadingReuse ชามสลัดจากเปลือกข้าวสาลี…กินได้…แถมย่อยสลายได้ 100%

Mexican Solar Lamp โคมไฟเก๋ๆ ไอเดียนักศึกษา ผลิตจากวัสดุเหลือใช้และวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นเม็กซิโก

มีประชากรกว่า 1.8 ล้านคนในประเทศเม็กซิโกที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ รวมทั้งยังมีอีกราว 5 ล้านคนที่แม้จะมีไฟฟ้าใช้แต่ก็ใช้ได้อย่างจำกัด จนอาจก่อให้เกิดความยากลำบากในชีวิตประจำวัน และเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้เอง นักศึกษา 6 คน จาก Instituto Tecnológico de Monterrey โดยการนำของอาจารย์/ดีไซเนอร์ Moisés Hernández จึงร่วมกันคิดค้นโคมไฟที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และผลิตขึ้นจากวัสดุเหลือใช้หรือวัสดุที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ เพื่อส่งมอบให้ชาวบ้านในชนบทเหล่านั้นได้นำไปใช้ให้แสงสว่างในครัวเรือน แน่นอนว่าสาเหตุที่กลุ่มนักศึกษาเลือกนำเอาวัสดุเหลือใช้หรือวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการทำโคมไฟครั้งนี้ เพราะต้องการให้ผลงานออกแบบของพวกเขาสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญกว่าก็คือ พวกเขาเลือกใช้วัสดุที่หาได้ง่ายตามแต่ละท้องถิ่นของเม็กซิโก รวมทั้งใช้ระบบไฟที่ไม่ซับซ้อนและแผงโซลาร์เซลล์ขนาดเล็ก เพื่อที่เมื่อนำไปใช้งานจริงแล้ว หากเกิดการเสียหาย ชาวบ้านตามท้องถิ่นต่างๆ…

Continue ReadingMexican Solar Lamp โคมไฟเก๋ๆ ไอเดียนักศึกษา ผลิตจากวัสดุเหลือใช้และวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นเม็กซิโก

A Walking Forest ป่าเดินได้ในเยอรมนี เรียกร้องพื้นที่สีเขียวให้คนเมือง เสริมระบบนิเวศน์ให้พืชพันธุ์

โปรเจ็กต์น่ารักๆ นี้ ทำง่ายๆ เพียงแค่เอาต้นไม้ พุ่มไม้ ใส่บนล้อ แล้วเข็นไปจอดตรงโน้นทีตรงนี้ทีทั่วเมือง ให้ชาวเมืองได้มาชื่นชมสีเขียวๆ ของธรรมชาติ แต่ถึงจะง่าย โปรเจ็กต์ที่ว่าก็กลับสร้างให้เกิดบทสนทนาที่น่าคิดมากมายเลยทีเดียว Wanderbaumallee คือเจ้าของโปรเจ็กต์ดังกล่าว พวกเขานำเอาต้นไม้และพุ่มไม้ดอกที่ดึงดูดแมลง จำนวน 10 ต้น มาประกอบขึ้นบนรถเข็นไม้ที่ออกแบบให้มีส่วนของที่นั่งไว้ด้วย ดังนั้นเวลาเข็นไปจอดทิ้งไว้ที่ตรงไหนของเมืองสตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี ชาวเมืองก็เลยได้เข้ามานั่งเล่นคุยกันอยู่ใต้ต้นไม้พวกนั้น ประหนึ่งเป็นสวนสาธารณะย่อมๆ ไป ... และเพียงแค่นั้นเองประเด็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียวในเมืองใหญ่ก็บังเกิด ซึ่งมันก็ไม่ได้เกิดผลดีต่อมนุษย์ในทางตรงเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์อีกด้วย เพราะดอกไม้จะดึงดูดพวกแมลง โดยเฉพาะผึ้งที่จะช่วยในการแพร่พันธุ์พืชได้เป็นอย่างดี Wanderbaumallee…

Continue ReadingA Walking Forest ป่าเดินได้ในเยอรมนี เรียกร้องพื้นที่สีเขียวให้คนเมือง เสริมระบบนิเวศน์ให้พืชพันธุ์

โรงเรียนใหม่จากวัสดุเก่า ลดการสร้างขยะ ผสมผสานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

อะไรคือแนวทางการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คำถามนี้ถูกตอบด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันไปทั่วโลก ในโรงเรียนทางเลือกที่น่าสนใจ นิยมที่จะให้เด็กเล่นเพื่อเรียนรู้มากกว่าจะยัดเยียดให้จำสารพัดสูตร ซึ่งมันสามารถทำให้การเรียนในโรงเรียนสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของสมองได้ อย่างเช่นหลักสูตรของโรงรียนแบบวอลดอร์ฟ ที่มีความเชื่อว่า เด็กควรได้เล่นอย่างอิสระ ชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ ในย่านชานเมืองใกล้เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน มีโรงเรียนวอลดอร์ฟที่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมน่าสนใจ คือโรงเรียน El Til·ler โรงเรียนนี้สะดุดตาด้วยภายนอกกรุด้วยผนังไม้ที่ดูเรียบเก๋ แต่มีที่มีที่สัมพันธ์กับแนวคิดของวอลดอร์ฟมาสู่การตีความออกเป็นสถาปัตยกรรมได้น่าสนใจไม่แพ้กัน แนวความคิดการออกแบบเริ่มจากสถาปนิกทั้ง 3  Eduard Balcells, Ignasi Rius Architecture และ Tigges Architekt พวกเขาออกแบบโรงเรียนนี้จากการใช้วัสดุของโครงการอื่นที่รื้อกลับมาประกอบขึ้นใหม่ ทำให้น่าสนใจในการเลือกใช้วิธีลดการสร้างขยะให้เป็นตัวอย่างที่ดีได้ แนวทางในการวางผังมาจากการดัดแปลงแนวคิดการเรียนแบบวอลดอร์ฟสู่ภูมิอากาศแบบเมดิเตอเรเนียนอย่างสเปน…

Continue Readingโรงเรียนใหม่จากวัสดุเก่า ลดการสร้างขยะ ผสมผสานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

DO Black Card บัตรเครดิตเตือนสติ ลดคาร์บอนฟุตพรินท์ ลดการบริโภคฟุ่มเฟือย

สมัยนี้ ใครๆ ก็อยากช่วยรณรงค์ลดโลกร้อนกันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่บัตรเครดิตอย่าง DO Black Card ของ Mastercard ที่จะช่วยเตือนสติเราว่าวันๆ เราทำร้ายโลกไปเท่าไรแล้วบ้าง เจ้าของไอเดียบัตรเครดิตสุดเจ๋งนี้คือ Doconomy บริษัท FinTech (กลุ่มธุรกิจที่นำเทคโนโลยีมาพัฒนาให้บริการทางการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น) จากสวีเดน พวกเขาจับมือกับ Mastercard และ UN Climate Change Secretariat โดย DO Black Card ก็เหมือนกับบัตรเครดิตทั่วๆ ไปคือใช้ชำระสินค้าได้…

Continue ReadingDO Black Card บัตรเครดิตเตือนสติ ลดคาร์บอนฟุตพรินท์ ลดการบริโภคฟุ่มเฟือย

Bananatex วัสดุใหม่จากต้นกล้วย กันน้ำ ยืดหยุ่น แข็งแรง คงทน ย่อยสลายได้ 100%

ในงาน Milan Design Week 2019 ที่เพิ่งผ่านไป แบรนด์กระเป๋าจากสวิตเซอร์แลนด์ชื่อ QWSTION ได้เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ที่เป็นที่ถูกใจสายกรีนเป็นอย่างมาก นั่นคือ Bananatex วัสดุเส้นด้ายที่ทำมาจากต้นกล้วย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเส้นด้ายและหุ้นส่วนชาวไต้หวันของ QWSTION ใช้เวลารีเสิร์ชเกี่ยวกับต้นกล้วยนี้นานถึงสามปี โดยพวกเขาย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์และเห็นว่าชาวฟิลิปปินส์ใช้ต้นกล้วยทำเป็นเชือกจูงเรือมายาวนานมากกว่าศตวรรษ ดังนั้นวัสดุที่ทำจากต้นกล้วยจึงย่อมแข็งแรงคงทน ที่สำคัญ ต้นกล้วยเป็นพืชที่เติบโตขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องอาศัยสารเคมี ปุ๋ย หรือน้ำนอกจากน้ำฝน แม้แต่ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายเพื่อทำสวนปาล์มก็ยังมีต้นกล้วยเกิดขึ้นมาเอง และที่ลืมไปไม่ได้ก็คือ ต้นกล้วยเป็นวัสดุธรรมชาติร้อยเปอร์เซนต์ จึงย่อยสลายได้ตามธรรมชาติร้อยเปอร์เซนต์เช่นกัน ดังนั้นวัสดุที่ได้จากต้นกล้วยนี้จึงจัดเป็นวัสดุที่ 'กรีน' มากๆ ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง…

Continue ReadingBananatex วัสดุใหม่จากต้นกล้วย กันน้ำ ยืดหยุ่น แข็งแรง คงทน ย่อยสลายได้ 100%

โรงเรียนอนุบาลไม้ไผ่ในอินโด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยืดหยุ่นพร้อมรับแผ่นดินไหว

เมืองตาซิกมาลายา ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากจะเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟกาลองกังอันยิ่งใหญ่ ที่ลาวาของมันทำให้ผืนแผ่นดินในภูมิภาคนี้อุดมไปด้วยแร่ธาตุอันส่งผลให้ที่นี่มีชื่อเสียงในเรื่องผลิตผลทางการเกษตร รวมทั้งขึ้นชื่อเรื่องไม้ไผ่และงานฝีมือจากไผ่แล้ว เมืองบนเกาะชวาตะวันตกแห่งนี้ ยังเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาล Nur Hikmah ท่ามกลางทุ่งนาเขียวขจีที่ว่านี้ด้วย โรงเรียนอนุบาลดังกล่าวได้สตูดิโอสถาปัตยกรรมเจ้าถิ่น Architecture Sans Frontières Indonesia (ASF-ID) รับหน้าที่ออกแบบ โดยพัฒนางานนี้ร่วมกับกรรมการบริหารโรงเรียนและชุมชน อาคารหลังนี้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นจากการไม้ไผ่ โด้วยทีมออกแบบมองเห็นศักยภาพของไม้ไผ่ในแง่ของการเป็นไม้โครงสร้างที่จะช่วยประคองฟอร์มอาคารให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดหากมีเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในอินโดนีเซีย รวมไปถึงจุดแข็งอีกร้อยแปด ตั้งแต่เรื่องของความประหยัด อันเนื่องจากไม้ไผ่เป็นไม้ท้องถิ่นที่ขึ้นง่าย เติบโตเร็วและได้ดีในทุกสภาวะอากาศ รวมทั้งคุณสมบัติของมันที่สามารถดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกประเภท เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีความแข็งแรง เหนียว สามารถยืดหด…

Continue Readingโรงเรียนอนุบาลไม้ไผ่ในอินโด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยืดหยุ่นพร้อมรับแผ่นดินไหว

โรงแรมในบาหลีทำได้จริงกับ Zero Waste พร้อมปันความรู้สู่โรงแรมที่สนใจ

ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นแบรนด์ซึ่งสร้างผลกระทบต่อโลกน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ Potato Head Beach Club ในบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย จึงออกแบบร้านอาหารของพวกเขาในนาม ‘Ijen’ ด้วยไอเดีย ‘ขยะเหลือศูนย์’ กับการใช้ทรัพยากรทุกอย่างอย่างคุมค่าสุดๆ เริ่มจากการออกแบบร้านแบบ open air เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสกับธรรมชาติและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าแบบไม่จำเป็น การออกแบบองค์ประกอบการตกแต่งด้วยวัสดุรีไซเคิล เป็นต้นว่า เฟอร์นิเจอร์ที่ขึ้นรูปจากชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์เก่า การนำเศษจานชามแตกหักมาผสมซีเมนต์เพื่อทำเป็นพื้นร้าน การนำขวดไวน์ใช้แล้วมาทำเป็นภาชนะบรรจุเทียน ขณะที่ทุกเมนูของเขาก็เรียกว่าใส่ใจกันตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกวัตถุดิบที่จะใช้ของสดจากเกษตรกรท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน รวมถึงการเลือกวัตถุดิบทางทะเลโดยทำงานร่วมกับ Bali Sustainable Seafood ที่สมาชิกชาวประมงจะใช้วิธีตกปลาและคัดเลือกปลาที่โตเต็มวัยในการนำมาทำเป็นอาหาร สำหรับในฟากของเชฟ พวกเขาเลือกใช้เทคนิคการทำอาหารที่ลดการปล่อยคาร์บอนฟุตปริ้นสู่ชั้นบรรยากาศ มีการแยกขยะตามประเภทเพื่อนำไปกำจัดอย่างเหมาะสม…

Continue Readingโรงแรมในบาหลีทำได้จริงกับ Zero Waste พร้อมปันความรู้สู่โรงแรมที่สนใจ

‘Root Bench’ ม้านั่งมัลติฟังก์ชั่นขนาดใหญ่ ผสานธรรมชาติเข้ากับเมือง

พื้นที่สีเขียว + พื้นที่สาธารณะในเมืองใหญ่ เริ่มจะกลายเป็นของหายากเข้าไปทุกที เพราะเมืองก็ต้องโต ตึกก็ต้องสร้าง ถนนก็ต้องเพิ่ม...แต่คนในเมืองก็ต้องการมีสุขภาพกายและใจที่ดีด้วยเหมือนกัน! การเติบโตของเมืองกับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนจะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร? นี่คือโจทย์สำคัญที่นักออกแบบยุคใหม่ต้องทำการบ้านอย่างหนัก เช่นเดียวกับผลงานชื่อ 'Root Bench' ของศิลปินชาวเกาหลี Yong Ju Lee ที่เกิดจากความตั้งใจจะสร้างความกลมกลืนระหว่างสิ่งก่อสร้างของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ออกมาเป็นงานดีไซน์ที่มีทั้งความสวยงามสะดุดตา และสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้จริง ติดตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะที่มีสนามหญ้าร่มรื่น ขนาบข้างด้วยถนนและตึกสูงใหญ่ในเมืองอันวุ่นวาย ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ม้านั่งไม้มัลติฟังก์ชั่นชิ้นนี้จำลองรูปทรงมาจากรากไม้ ในลักษณะแผ่กระจายจากจุดศูนย์กลางออกไปกว่า 30 เมตร เล่นระดับความสูงลดหลั่นกันเพื่อให้เหมาะกับการใช้เป็นที่นั่งของเด็กและผู้ใหญ่ และยังกลายเป็นโต๊ะได้ด้วย ผู้คนสามารถมานั่งพักผ่อนหย่อนใจ…

Continue Reading‘Root Bench’ ม้านั่งมัลติฟังก์ชั่นขนาดใหญ่ ผสานธรรมชาติเข้ากับเมือง

โรงเรียนนานาชาติฝรั่งเศสในฮ่องกง ดีไซน์สีเขียว สร้างสรรค์ มากประโยชน์

แนวทางการสร้างพื้นที่การเรียนรู้ของเด็กมักจะเน้นที่กระตุ้นการรับรู้ของเด็กกับสภาพแวดล้อม ในเทรนด์ที่นิยมคือผสานห้องเรียนเข้ากับธรรมชาติให้ดูทันสมัย แต่สำหรับพื้นที่ความหนาแน่นสูง การออกแบบแนวทางนี้จะต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถลอกจากเงื่อนไขของอีกพื้นที่ได้ อย่างในโจทย์ที่เกาะฮ่องกง มีโรงเรียนอย่าง FIS หรือ French International School ได้เสนออีกแนวทางแก้ไขปัญหาการออกแบบบนพื้นที่หนาแน่นสูงของเกาะฮ่องกง ไปพร้อมกับการผสานพื้นที่ธรรมชาติการเรียนรู้ ด้วยการออกแบบสถาปัตยกรรมจากสำนักงานสถาปนิก Henning Larsen Architects จากโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก โรงเรียนนี้รองรับนักเรียนในในระดับประถม และมัธยม กว่า 1,100 ชีวิต แนวคิดในการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้คือ การให้เหล่านักเรียนสามารถเชื่อมโยงหลายกิจกรรมเข้ากับลานภายในโรงเรียนได้ ลานนี้จะมี 2 ระดับ ทั้งลานที่อยู่ใต้ถุนจากการยกเสาลอย…

Continue Readingโรงเรียนนานาชาติฝรั่งเศสในฮ่องกง ดีไซน์สีเขียว สร้างสรรค์ มากประโยชน์