BASE Office ตึกเก่าเล่าใหม่ในโตเกียวอายุเกือบ 60 ปีกับการใช้พื้นที่ร่วมกันของ 2 สำนักงาน

อีกวิธีในการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยั่งยืนคือการเลือกปรับปรุงอาคารเก่าให้มีชีวิตอีกครั้ง ด้วยการใส่กิจกรรมใหม่ให้สัมพันธ์กับบริบทปัจจุบัน มันสามารถลดการใช้อิฐ หิน ปูนซีเมนต์ ช่วยชะลอให้เราทำลายโลกใบนี้น้อยลงด้วยกระบวนการ reuse โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น การพัฒนาด้วยการสร้างตึกมากมายจากยุคที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างมากในยุค 1960-1980 ทำให้การสร้างสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ขึ้นมาใหม่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก การทำความเข้าใจเรื่องปรับปรุงอาคารเก่า หรือ renovation จึงเป็นแนวทางที่ควรเลือกไว้พิจารณา ในละแวกอาซากุสะบาชิ ย่านไทโตะ กรุงโตเกียว เป็นย่านที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของการทำเครื่องหนังและวัสดุตกแต่ง แต่ในปัจจุบันได้เปลียนแปลงการใช้ที่ดินไปแล้ว จึงมีตึกที่ต้องเปลี่ยนการใช้งาน เช่นตึกคอนกรีตเสริมเหล็กที่สร้างมาตั้งแต่ปี 1964 หลังนี้ ซึ่งกำลังจะถูกเปลี่ยนจากสำนักงานเก่าเป็นสำนักงานสถาปนิก 2 แห่ง จุดเริ่มต้นคือการสร้างโปรแกรมให้เป็นการแชร์กันของ 2 สำนักงาน…

Continue ReadingBASE Office ตึกเก่าเล่าใหม่ในโตเกียวอายุเกือบ 60 ปีกับการใช้พื้นที่ร่วมกันของ 2 สำนักงาน

LARQ ขวดน้ำสีสวยช่วยลดพลาสติกแบบเก๋ๆ พร้อมระบบทำความสะอาดขวดและน้ำในตัว

พ.ศ.นี้แล้ว การใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) ควรจะหมดไปได้แล้ว เพราะถือเป็นการใช้ถุง-ขวด-หลอด-ช้อนส้อมพลาสติกแค่ไม่กี่นาทีหรือไม่กี่วินาที แต่กลับทิ้งขยะพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อสัตว์นานาชนิด และต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย แน่นอนว่าขวดน้ำดื่มพลาสติกเป็นอีกหนึ่งขยะพลาสติกที่หลายฝ่ายพยายามรณรงค์ให้เลิกใช้กัน เพราะถึงจะรีไซเคิลได้ แต่การรีไซเคิลนั้นก็สิ้นเปลืองทรัพยากรมากพอดู หลายคนหันมาพกแก้วน้ำแสตนเลสเป็นของตัวเอง เพราะนอกจากจะช่วยลดขยะแล้ว เวลาไปซื้อเครื่องดื่มในหลายร้านก็ยังได้ส่วนลดจากการนำแก้วมาเองด้วย แต่ก็อีกนั่นแหละ หนึ่งปัญหาที่ผู้บริโภคหลายคนพบ (หรือไม่ก็คิดไปเอง) คือ พวกเขากลัวว่าการใช้แก้วซ้ำจะยากต่อการทำความสะอาด ทำให้มีเชื้อโรคตกค้าง โดยเฉพาะภาชนะใส่น้ำที่ค่อนข้างยาวและปากแคบ LARQ นำเอาปัญหา insight ของผู้บริโภคข้อนี้ไปขบคิด แล้วกลับมาพร้อมวิธีการแก้ปัญหาที่มาเหนือเมฆมากๆ นั่นคือ ขวดน้ำแสตนเลสสองชั้น ฝาผิดล็อคแน่น ที่นอกจากจะใช้เก็บความร้อนความเย็นได้อย่างดีแล้ว…

Continue ReadingLARQ ขวดน้ำสีสวยช่วยลดพลาสติกแบบเก๋ๆ พร้อมระบบทำความสะอาดขวดและน้ำในตัว

‘เปรม พฤกษ์ทยานนท์’ เพจ ‘คุณลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป’ สื่อสารเรื่องการรีไซเคิลที่แท้ทรู

“ผมไม่ได้ถามตัวเองนะว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร แต่ผมถามตัวเองว่าตอนนี้เราเกิดมาแล้วสามารถทำอะไรได้ดีที่สุด ถ้าผมเป็นครู ก็คงจะเป็นการสอนนักเรียนให้ดีที่สุด แต่เมื่อผมอยู่ตรงนี้ ผมอยากจะทำงานตัวเองอย่างเต็มที่และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้กับโลกนี้ได้ นั่นก็คือการให้ความรู้เรื่องขยะและการรีไซเคิล” จากความตั้งใจของ เปรม พฤกษ์ทยานนท์ ผู้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางธุรกิจรับซื้อของเก่าที่อยากส่งต่อข้อมูลและความรู้ที่เขามีต่อผู้อื่น จึงนำไปสู่การก่อตั้งเพจอย่าง ‘คุณลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป’ เมื่อราว 1 ปีก่อน และเพจน้องใหม่ที่ให้ความรู้เรื่องการแยกและรีไซเคิลขยะ ซึ่งลูกเพจต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘ช่างละเอียดและเข้าใจง่าย’ นั้น ได้ซ่อนเรื่องราว ความมุ่งมั่น และความเชื่อของเปรมที่ว่า ‘การรีไซเคิลไม่ใช่แค่การทิ้งให้ถูกถัง หรือแค่ช่องทางการแปลงขยะให้เป็นทอง แต่มันได้รวมขั้นตอนตั้งแต่ต้นทางที่วัตถุดิบชิ้นนั้นเกิดขึ้นจนกระทั่งมีชีวิตใหม่อีกครั้ง พร้อมๆ ไปกับการที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแลและรักษาทรัพยากรบนโลกนี้ร่วมกันต่างหาก’ สร้างพื้นที่กลาง สื่อสารเรื่องการรีไซเคิลที่แท้ทรู…

Continue Reading‘เปรม พฤกษ์ทยานนท์’ เพจ ‘คุณลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป’ สื่อสารเรื่องการรีไซเคิลที่แท้ทรู

Shangri-la โซนศิลปะในเทศกาล Glastonbury สานพลังชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน

ใครๆ ก็คงรู้จัก Glastonbury ว่าเป็นเทศกาลงานดนตรีชื่อดังของอังกฤษที่จัดต่อเนื่องกัน 5 วัน ในทุกๆ ปี แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า นอกจากเรื่องของดนตรีและการแสดงอื่นๆ แล้ว ภายในเทศกาลใหญ่นี้ยังมีโซนศิลปะที่น่าสนใจรวมอยู่ด้วย อย่างเช่น Shangri-la ที่ใช้ศิลปะมาพูดเรื่องประเด็นต่างๆ ที่กำลังเป็นที่สนใจอยู่ในสังคม (more…)

Continue ReadingShangri-la โซนศิลปะในเทศกาล Glastonbury สานพลังชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน

‘ดอมินิก ภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์’ Precious Plastic พลาสติกไม่ใช่ปัญหา แต่มีคุณค่าที่ต้องรู้จัก

หากดูตามสถิติที่ผ่านมา เราจะพบว่าประเทศไทยติดโผเรื่องปัญหาขยะพลาสติกมากเป็นอันดับ 5 ของโลก พวกเราสร้างขยะจำนวนถึง 27 ล้านตัน แบ่งเป็นขยะพลาสติก 2 ล้านตัน ซึ่งหากเทียบให้เห็นภาพง่ายขึ้น คน 1 คน จะสร้างขยะ 1 กิโลกรัม 1 ขีด ต่อวัน เป็นถุงพลาสติก 8-10 ใบต่อวัน ซึ่งขยะพลาสติกดังกล่าวจะสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ปีละเพียง 0.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลืออีก 1.5 ล้านตัน จะถูกนำไปกำจัดด้วยการฝังกลบและเผาทำลาย ขณะที่ยังตกค้างในสิ่งแวดล้อม และไหลลงทะเลแบบมหาศาล (more…)

Continue Reading‘ดอมินิก ภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์’ Precious Plastic พลาสติกไม่ใช่ปัญหา แต่มีคุณค่าที่ต้องรู้จัก

LastSwab ก้านสำลีซิลิโคนสุดเก๋ ใช้ซ้ำได้แบบเท่ๆ ช่วยลดขยะในทะเลและสิ่งแวดล้อม

หนึ่งในภาพถ่ายสุดสะเทือนใจที่ว่ากันด้วยเรื่องการคุกคามของขยะพลาสติกไปยังธรรมชาติ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม คงจะหนีไม่พ้นภาพม้าน้ำที่ว่ายน้ำอยู่ในทะเล โดยตรงส่วนหางมีก้านสำลีหรือคอตตอนบัดพันเกี่ยวไว้อยู่ ภาพภาพนี้พูดได้ดีถึงก้านสำลีพลาสติกชิ้นเล็กๆ ที่สามารถหลุดลงไปในทะเลได้ง่ายดาย และยังมีส่วนทำลายชีวิตของสัตว์ใต้ทะเลที่ทุกวันนี้มีอัตราการตายจากขยะพลาสติกอยู่ที่หนึ่งล้านตัวต่อปี ในแต่ละวันมีก้านสำลีถูกผลิตออกมาถึง 1,500 ล้านชิ้น แม้จำนวนถุงพลาสติกจะเยอะกว่า แต่ในปัจจุบัน เราก็มีถุงผ้าหรือถุงทางเลือกอื่นเข้ามาทดแทนการใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งกันแล้ว เช่นเดียวกับหลอดพลาสติก ที่ถูกทดแทนได้จำนวนหนึ่งด้วยหลอดแสตนเลส หลอดแก้ว และหลอดไม้ไผ่ แต่ในกรณีของก้านสำลีนั้น เรามีเพียงแค่ก้านสำลีจากไม้ไผ่ที่ยังคงเป็นสิ่งที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use) อยู่ดี ซึ่งในระยะยาวก็ยังนับว่าแก้ปัญหาไม่ได้ตรงจุดนัก สามดีไซเนอร์จากเดนมาร์ค คือ Nicolus Aagaard, Isabel Aagaard และ…

Continue ReadingLastSwab ก้านสำลีซิลิโคนสุดเก๋ ใช้ซ้ำได้แบบเท่ๆ ช่วยลดขยะในทะเลและสิ่งแวดล้อม

‘ห้องสมุดและศูนย์ศิลปะเด็กหูต่ง’ เชื่อมชุมชนเก่า 400 ปีเข้ากับโลกใหม่ด้วยการเรียนรู้

สถาปัตยกรรมสามารถทำหน้าที่ฟื้นฟูชุมชนเก่าได้อย่างไร ในขณะที่กระแสของใหม่เข้าถาโถมทับของเก่าอยู่เป็นประจำ แม้ว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิธีไหน ณ ลานล้อมด้วยบ้านขยาดย่อมใต้ต้นแอชในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ห่างจากจัตุรัสเทียนอันเหมินราว 1 กิโลเมตร จะพบกับชุมชนหมายเลข 8 ที่มีอายุราว 300-400 ปี เคยผ่านร้อนผ่านหนาวเปลี่ยนการใช้งานตามชุมชนที่เปลี่ยนไป จากเคยเป็นวัดในชุมชน จนยุค 1950 ได้เปลี่ยนเป็นบ้าน จวบจนช่วงปี 2010 ได้กลายสภาพเป็นกลุ่มบ้านแออัด ไม่น่าใช้งาน จนได้มีการเสนอโปรแกรมใหม่เข้าไปกระตุ้นบ้านล้อมลานนี้ให้มีชีวิตอีกครั้ง จาง เค จากสำนักงาน ZAO/standardarchitecture ได้รับบทบาทเป็นสถาปนิกที่เข้ามาปรับปรุงพื้นที่เก่านี้ให้เป็นห้องสมุดและศูนย์ศิลปะชุมชนหูต่ง…

Continue Reading‘ห้องสมุดและศูนย์ศิลปะเด็กหูต่ง’ เชื่อมชุมชนเก่า 400 ปีเข้ากับโลกใหม่ด้วยการเรียนรู้

ที่พักอาศัยในสเปนใช้วัสดุท้องถิ่น ต้นทุนต่ำ พิสูจน์ให้เห็น ‘ถูกและดี’ ยังมีอยู่จริง

สถาปัตยกรรมที่ดีมีหลายคำตอบบนโลกใบนี้ ขึ้นอยู่กับโจทย์ว่าสถาปัตยกรรมนั้นสร้างขึ้นจากวัตถุประสงค์แบบไหน ทำให้มีสถาปัตยกรรมที่ดีมากมายตามโจทย์ที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อีกโจทย์ที่ท้าทายเหล่าสถาปนิกทั้งหลายคือสถาปัตยกรรมจะยกคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นอย่างไร โจทย์คลาสสิคนี้ถูกตอบด้วยสถาปนิกจาก IBAVI (Institut Balear de l'Habitatge) หรือ สถาบันการเคหะสังคมแบลีแอริก กับงานบ้านการเคหะบนเกาะแบลีแอริก มาดริด ประเทศสเปน ซึ่งเป็นโครงการบ้านต้นแบบที่เกิดจากความร่วมมือด้านวิชาการจาก UIB หรือ มหาวิทยาลัยหมู่เกาะแบลีแอริก จุดประสงค์เพื่อสร้างบ้านราคาถูก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากแนวคิดเริ่มที่ท้องถิ่น ทั้งการใช้ช่างฝีมือในท้องถิ่นมาร่วมสร้าง และการใช้วัสดุในท้องถิ่นมากกว่าที่จะใช้วัสดุจากโรงงานที่ไกลห่างออกไปเป็นพันกิโลเมตรโดยไม่จำเป็น โดยพระเอกที่สำคัญของงานนี้คือ Posidonia…

Continue Readingที่พักอาศัยในสเปนใช้วัสดุท้องถิ่น ต้นทุนต่ำ พิสูจน์ให้เห็น ‘ถูกและดี’ ยังมีอยู่จริง

Rothy’s Girls รองเท้าจากขวดพลาสติกเก่าสู่รองเท้าสุดเก๋สำหรับหนูๆ

Rothy’s แบรนด์รองเท้าส้นแบนสุดคัลท์จากซานฟรานซิสโกที่โด่งดังในเรื่องความอีโค่เฟรนด์ลี่ เพิ่งเปิดตัวไลน์รองเท้าใหม่สำหรับเด็กเล็กที่มีดีไซน์กิ๊บเก๋กว่า 10 แบบตั้งแต่ลายเสือดาว ลายทหาร ไปจนถึงสีเจ็บๆ อย่างชมพูช็อกกิ้งพิงค์ ซึ่งเชื่อว่า Rothy’s for girls นี้จะเป็นเทรนด์ร้อนประจำซีซั่นในสนามเด็กเล่นได้อย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ แต่ที่เจ๋งไปกว่าลุคน่ารักๆ ของมันก็คือ ‘รองเท้าคู่นี้มีเรื่องให้เล่า’ บรรดาคุณแม่สามารถจะแต่งนิทานบอกลูกสาวได้ว่า “รองเท้าของหนูน่ะ มันเคยเป็นขวดพลาสติกมาก่อนนะคะ แต่มันได้ถูกจับไปใส่เครื่องจักรแปลงร่าง จนเกิดใหม่มาเป็นรองเท้าสวยๆ คู่นี้ไง” และแน่นอนว่านิทานเรื่องนี้ก็จะถูกเล่าต่อไปเรื่อยๆ ทั่วทั้งสนามเด็กเล่นในบ่ายวันนั้น สองผู้ก่อตั้งแบรนด์คือ Roth Martin (อดีตเจ้าของแกลเลอรี่) และ Stephen…

Continue ReadingRothy’s Girls รองเท้าจากขวดพลาสติกเก่าสู่รองเท้าสุดเก๋สำหรับหนูๆ

‘ถุงพลาสติกอย่าลืมฉัน’ นำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยประหยัดเงิน แถมช่วยชีวิตสัตว์ทะเล

มนุษย์ทิ้งถุงพลาสติกปีละ 3 พันล้านตัน และถุงพลาสติกจำนวนมหาศาลของจำนวนมากมายมหาศาลนั้นก็ไปตกอยู่ในท้องทะเล จนทุกวันนี้ถุงพลาสติกกลายเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรไปแล้ว ปลานึกว่าถุงพลาสติกเป็นอาหาร พอกินเข้าไปก็ไปติดในกระเพาะ  เต่าก็คิดว่าถุงพลาสติกเป็นแมงกะพรุน แม้แต่เต่าอายุร้อยๆ ปีก็ต้องมาเสียชีวิตเพราะพลาสติกเพียงใบเดียว ที่ถูกมนุษย์ใช้แค่ครั้งเดียว...ถุงพลาสติกหนึ่งใบ ต่อหนึ่งชีวิต มันเป็นสถิติที่น่าเศร้าที่สุดในโลก เทสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของโลก ในประเทศมาเลเซีย  มองเห็นว่าทะเลของมาเลเซียก็ติดอันดับทะเลที่มีขยะพลาสติกมากที่สุดในโลกเช่นกัน โดยเฉลี่ยแล้วคนมาเลเซีย 1 คน ใช้ถุงพลาสติก 300 ใบต่อปี เท่ากับ 9 พันล้านใบต่อปี และครึ่งหนึ่งในนั้นถูกใช้แค่ครั้งเดียวแล้วก็ทิ้ง แม้ว่าเทสโก้จะมีการรณรงค์ใช้ถุงพลาสติกรีไซเคิล โดยขอร้องให้ผู้ซื้อนำถุงพลาสติกของเทสโกจากครั้งที่แล้วมาใช้ใหม่แต่ก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก โดยตั้งแต่ปี…

Continue Reading‘ถุงพลาสติกอย่าลืมฉัน’ นำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยประหยัดเงิน แถมช่วยชีวิตสัตว์ทะเล